 |
รายจ่ายหลังเกษียณที่มักจะ "มากกว่าที่คิด" และอาจทำให้เงินออมลดลงได้มากมี 5 รายการได้แก่ . (1). health = สุขภาพ . ค่าใช้จ่ายสุขภาพเป็น 1 ในรายการที่คนเราควรออมเผื่อไว้ โดยการใส่ใจสุขภาพตั้งแต่อายุน้อย เช่น ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ นอนให้พอ ระวังน้ำหนักเกินหรืออ้วน (ถ้าอายุเกิน 70 ปีจะต้องระวังผอมจากความรู้สึกเบื่ออาหารด้วย) ฯลฯ . คนที่สนใจป้องกันโรคหลักๆ เช่น เบาหวาน ฯลฯ ได้, จะช่วยประหยัดด้วย ช่วยให้มีความสุขมากขึ้นด้วย . ถึงแม้ประเทศไทยจะมีระบบประกันสุขภาพทั่วหน้า ทว่า... มีความเป็นไปได้สูงที่บริการสุขภาพจะแออัด และใช้เวลารอบริการนานขึ้น เนื่องจากสัดส่วนคนสูงอายุ และป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นเร็วมาก . คนไทยมีส่วนช่วยให้บริการสุขภาพดีขึ้นได้ โดยการแสดงความคิดเห็นให้รัฐบาลเพิ่มการผลิตสาขาขาดแคลน เช่น หมอฟัน พยาบาล ฯลฯ ให้มากขึ้น, ลดการผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำให้น้อยลง . (2). home = บ้าน . บ้านหลังใหญ่ไกลเมืองมักจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่คิด วิธีที่น่าสนใจ คือ การมีบ้านหลังเล็กลง หรือถ้ามีบ้านใหญ่ก็กั้นห้องให้น้อยลง มักจะทำให้บ้านมีราคาถูกลง และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เช่น ค่าจ้างทำความสะอาด ค่าจ้างตัดหญ้า ฯลฯ . การเช่าบ้านเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ โดยเฉพาะจะช่วยให้การเปลี่ยนงาน หรือที่ทำงานสะดวกขึ้น . (3). help = ความช่วยเหลือ . ญาติสนิทมิตรสหาย โดยเฉพาะลูกหลาน อาจขอมาพักที่บ้าน ขอเงิน หรือถ้าเป็นคน "เหงาง่าย" อาจมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเยี่ยมญาติสนิทมิตรสหายมากขึ้น . วิธีป้องกันการเป็นคน "เหงาง่าย" ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งอาจแชร์กันได้ เช่น บ้านหลายๆ หลังอาจจะช่วยกันเลี้ยงน้อง (หมา แมว) โดยเป็นเจ้าของร่วมกัน ฯลฯ . ต่อไปอาจมีธุรกิจด๊อกสปา (Dog Spa) หรือด๊อกฟิตเนส (Dog Fitness) เช่น มีทางเดินให้เช่าน้องหมาพันธุ์โกลเดน รีทรีฟเวอร์พาไปเดิน (walk a dog) ฯลฯ ได้ . ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หางานอดิเรกที่ชอบไว้ตั้งแต่อายุน้อย โดยพยายามหางานอดิเรกให้ครบ 6 มิติทั้งประเภท "ทำคนเดียว-ทำเป็นทีม" (เพื่อให้ได้ทั้งความเป็นส่วนตัว และการเข้าสังคม), "ใช้สมอง-ออกแรง" (เพื่อให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ), "ออนไลน์-ออฟไลน์" (อินเตอร์เน็ต-นอกเน็ตหรือชีวิตจริง เนื่องจากจะทำให้มิตรภาพกว้างออกไปไกลกว่าเดิม) . งานอดิเรกที่น่าสนใจมากหลังเกษียณ คือ งานกลุ่มอาสาสมัคร เช่น ไปช่วยงานโรงพยาบาล ฯลฯ . คนที่มีความสุขหลังเกษียณมีแนวโน้มจะ "ปฏิเสธ (say no)" เป็น เช่น ไม่ทุ่มช่วยลูกหลานจนหมดตัว (คนสูงอายุที่ไม่มีเงินเสี่ยงถูกทอดทิ้งมากกว่าคนที่มีเงินเสมอ), ไม่ติดเหล้า (ดื่มหนักเพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม ป้ำๆ เป๋อๆ), ไม่สูบบุหรี่ (ถ้าถุงลมโป่งพองหรือเป็นมะเร็งปอดแล้ว ชีวิตที่เหลือจะแย่ลงไปมาก) ฯลฯ . (4). heart = หัวใจ . โรคหัวใจวัยเกษียณมีทั้งโรคทางกาย เช่น หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ฯลฯ และทางใจ เช่น ความรู้สึกเครียด-เศร้า-เหงา-เซง ฯลฯ . ความเหงามักทำให้เราต้อง "จ่ายแพงขึ้น" เสมอ เช่น จ่ายค่าเคเบิ้ลทีวีรายเดือน เดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ . พม่ามีจุดแข็งทางวัฒนธรรมประหยัดหลังเกษียณ เช่น สวดมนต์-พระปริตรทุกวัน นิยมไปทำสมาธิ-ปฏิบัติธรรมที่พระเจดีย์ มีการจัดเดินทางไปสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล แบบประหยัด (เช่น นำข้าวไปหุง คลุกกะปิง่ายๆ เพียงมีผักเสริมก็เดินทางไปได้ทั่ว ฯลฯ) . คนหลังเกษียณที่มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่า คือ คนหลังเกษียณที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งทางด้านการเงิน ทางกาย (แข็งแรง ทำอะไรๆ ได้เอง), และทางสังคม (เข้าสังคมพอประมาณ มีกิจกรรมทำประโยชน์เสมอ) . (5). hell = นรก . นรกหลังเกษียณในสายตาฝรั่ง คือ ภาษีรายได้กับค่าประกันสุขภาพ ซึ่งต้องจ่ายไปเรื่อยแม้จะเกษียณแล้ว . นรกหลังเกษียณสำหรับคนไทย คือ หนี้สิน, การไม่มีเงินออม (ยิ่งจนยิ่งเสี่ยงต่อการถูกลูกหลานทิ้ง), และการลงทุนหลังเกษียณไม่เป็น (ทำเป็นแต่ฝากธนาคาร) . คนไทยมีส่วนช่วยคนไทยด้วยกันได้ โดยส่งเสริมให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนออมหลังเกษียณในระยะยาว และส่งเสริมให้ประกันสังคม "ประหยัด" รูรั่วต่างๆ เช่น รูรั่วจากคนที่ไตวาย แล้วสมัครเข้าประกันสังคมไปฟอกไต ฯลฯ เพื่อให้ประกันสังคมมีเงินเหลือพอที่จะจ่ายเป็นบำเหน็จหลังเกษียณ . ภาพรวมของชีวิตหลังเกษียณที่ดี คือ การมีสุขภาพดีอย่างน้อย 3 ด้านได้แก่ "กาย-ใจ-(การ)เงิน", การลดรูรั่วของรายจ่ายให้ได้เป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยให้มีความสุขมากขึ้นหลังเกษียณ
จากคุณ |
:
โชติช่วงชัชวาล
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ต.ค. 54 01:52:26
|
|
|
|
 |