ความคิดเห็นนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นของ บุคคลๆนึงที่ใช้ชื่อสมาชิกว่า.. โอ-ต่อ
ซึ่งตัวผมเอง ไม่ได้เป็นนักกฏหมาย นิติกร หรือเป็นผู้ประกอบการด้านกฏหมายผมเองเป็นเพียงคนไทยธรรมดา ที่อยู่ภายใต้กฏหมายของประเทศไทย เหมือนๆบุคคลอื่นๆทั่วๆไป
ความคิดเห็นนี้ จึงเป็นเพียงความคิดเห็น ของคนธรรมดา ไม่ได้มีผลบังคับทางกฏหมายใดๆ
และเนื่องจากมีเพื่อนสมาชิก ได้สอบถามความคิดเห็นกับเหตุการณ์แบบนี้ จึงได้แสดงความคิดเห็นดังนี้
อันดับแรก ขอยกข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก่อน
--------------------------------------------------------------------------------
การหมั้น
1. การหมั้น การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว
ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
สินสอด เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
มาตรา 1439
เมื่อ มีการหมั้นแล้ว ถ้า ฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิด ใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ให้คืนของหมั้น แก่ฝ่ายชายด้วย
มาตรา 1440
ค่าทดแทนนั้น อาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(๑) ทดแทนความเสียหาย ต่อ กาย หรือ ชื่อเสียง แห่งชายหรือหญิงนั้น
(๒) ทดแทนความเสียหาย เนื่องจาก การที่ คู่หมั้น บิดามารดา หรือ บุคคล ผู้กระทำการ ในฐานะ เช่นบิดามารดา ได้ใช้จ่าย หรือ ต้องตกเป็น ลูกหนี้ เนื่องในการ เตรียมการสมรส โดยสุจริต และ ตามสมควร
(๓) ทดแทนความเสียหาย เนื่องจาก การที่ คู่หมั้น ได้จัดการ ทรัพย์สิน หรือ การอื่น อันเกี่ยวแก่ อาชีพ หรือ ทางทำมาหาได้ของตน ไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่า จะได้มี การสมรส
ในกรณีที่ หญิง เป็นผู้มีสิทธิได้ ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่า ของหมั้น ที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้น เป็นค่าทดแทน ทั้งหมด หรือ เป็นส่วนหนึ่ง ของค่าทดแทน ที่ฝ่ายหญิง พึงได้รับ หรือ ศาลอาจให้ ค่าทดแทน โดยไม่คำนึงถึง ของหมั้น ที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้น ก็ได้
มาตรา 1445
ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้น ของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้วตาม มาตรา 1442 หรือ มาตรา 1443 แล้วแต่กรณี
มาตรา 1447/1
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1444 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่ วันรู้ หรือควรรู้ถึงการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญา หมั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันกระทำการดังกล่าว
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1445 และ มาตรา 1446 ให้มีอายุความหกเดือน นับแต่วันที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว
มาตรา 1447/2
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1442 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น
------------------------------------------------------------------------------
ในกรณีนี้ ผมยกมาเท่าที่ผมคิดเห็นจากคำบอกเล่าของผู้ตั้งกระทู้นี้ ผิดถูกประการใดเพื่อนสมาชิกที่เป็นนิติกร หรือนักกฏหมาย กรุณา ชี้แนะแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อความได้ประโยชน์ของผู้ตั้งกระทู้และผู้อ่านทั่วไป