สำหรับข้อที่ 2 "โสรัจจะ"
คำว่าโสรัจจะนั้น มีความหมายว่า "ความสงบเสงี่ยม"
แต่ความสงบเสงี่ยมนี้ ไม่ได้แปลว่า "นิ่ม" ในสายตาของใครๆ แต่ตามความหมายจากพระไตรปิฎกวิภังค์ หมายถึง "การไม่ล้ำขอบเขต" , "การไม่ล่วงเลยเขตแดน" ทางการการแสดงออกและคำพูด (ทางกายและวาจา) เพราะถ้าได้เลยขอบเขตออกไปแล้ว จะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจหรือมีโทษทันที
การไม่ล่วงเลยเขตแดนโดยหลักใหญ่ มีทางการแสดงออก 3 และทางคำพูด 4 ค่ะ นั่นคือ
ทางกาย ได้แก่
1. การฆ่าสัตว์ หรือแม้แต่การทำร้ายสัตว์หรือสิ่งมีชีวต บางทีอาจจะไม่ฆ่า แต่ก็แกล้งให้เขาเดือดร้อนแบบต่างๆ ฆ่าสัตว์ใหญ่ืถือว่าใจร้าย ฆ่าสัตว์เล็กถือว่าใจดำ จิตใจที่สูงส่ง และมีความสง่า ลักษณะแรกที่ต้องมีประจำคือ "ความรัก" ความเอ็นดู ยิ่งถ้าไม่ทำร้ายสัตว์ตัวเล็ก ๆ สักตัว ก็แปลได้ว่าจิตใจเราออกจากการทำลายชีวิตของใครแล้ว พอเราไม่ทำลายชีวิตใคร ชีวิตของเราก็จะได้รับแต่สิ่งดี ๆ จิตที่ขาวพาขึ้นที่สูง จิตที่ดำพาลงที่ต่ำ การทำร้าย การฆ่า หรือแม้แต่การเอา่มือตบ เอามือบี้ แสดงว่าจิตแสดงความเห็นแก่ตัวออกมา และเป็นสีดำ สีดำไม่เคยให้ความสว่างกับใครเลย
2. การขโมยของ
และ 3. การเกินเลยกับคนรักคนอื่น
สามข้่อนี้ให้ท่องไว้ในใจว่า ฆ่าสัตว์ใจดำ ขโมยของสกปรก เป็นชู้น่ารังเกียจ
ทางคำพูดได้แก่
1. พูดโกหกทุกอย่างแม้แต่คำล้อเล่นก็ไม่ได้ (อ้าง:ม.ม.๑๒๗) เราคงไม่ชอบใครที่มาโกหกกับเรา ไม่ว่าเป็นเพื่อน หรือเป็นแฟน เพราะคำโกหก มันทำให้คนคนนั้นไม่มีตัวตนอีกเลย
2. นินทา การนินทานี้ก็มีสองเหตุผล คือ นินทาเพราะอยากให้เค้าแตกแยกกันเพราะไม่ชอบจริงๆ กับนินทาเพราะจ้องจะเอาใจว่าเราเป็นพวกเค้าก็เลยนินทาอีกฝ่ายให้ฟัง ทั้งสองข้อนี้ ทำให้เราสกปรกมากๆ
3. การพูดคำหยาบ แบ่งออกเป็น พูดคำหยาบเพราะโกรธจริงๆ อยากจะด่าออกไป กับพูดจาใช้คำคะนอง ฟังแล้วไม่น่าฟัง
4. พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ รวมไปถึง พูดไม่ถูกเวลา พูดพร่ำเพรื่อ พูดไม่มีที่สุดหรือไม่รู้จบ พูดลอยๆ แบบไม่คิด ขาดเหตุผล ก็รวมอยู่ในข้อนี้
หากจะเอ่ยคำใด ให้ระลึกเสมอว่า
สหสฺสํ อปิ เจ วาจา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ
หากพูดคำตั้งพันคำ ที่ไม่มีประโยชน์เลย
คำคำเดียวที่มีประโยชน์ ที่คนฟังแล้วจิตใจสงบได้
ประเสริฐกว่า
Better than a thounsand useless words
Is one beneficial single word,
Hearing which one is pacified.(1)
หากเพื่อนๆ ค่อยๆ สังเกตุทีละข้อ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ข้อ หากใครทำลงไปก็จะทำให้คนคนนั้นดูไม่น่าชอบเอาเสียเลย คงไม่มีใครอยากอยู่กับคนที่พูดมากทั้งวัน หรืออยู่กับคนที่นินทาคนอื่น เป็นต้น
แต่ขยายออกไปกว่านั้น คำว่า "สงบเสงี่ยมนี้ รวมไปถึงการไม่คะนองมือคะนองเท้า เช่น นั่งกระดิกเท้า การไม่ทำตัวตลก การไม่เล่น การไม่โยกหัวเอียงคอไปมา หรืออาการคะนองอื่นๆ ที่เรามองได้ว่า เป็นอาการคะนอง
ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "โสรัจจะ" ผลของการมีโสรัจจะนี้ ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อเราอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านจะมองเด็กที่มีสัมมาคารวะ และมีความไม่คึกคะนองว่าเป็นคนดี และท่านจะเอ็นดู หากเป็นคนรุ่นเดียวกัน เค้าก็จะให้เกียรติกับเรา และหากเป็นรุ่นน้องๆ ลงไป เค้าก็จะเคารพนับถือเรา และปลื้มเรา
และนอกจากขันติและโสรัจจะ ยังมีธรรมอีกสองข้อที่ทำให้เราพบเจอความสิ่งดี ๆ และงามสง่าได้อีก คือ การใช้คำพูดอ่อนหวาน และการต้อนรับแขก ทั้งการต้อนรับแขกจริง ๆ เช่นการรินน้ำให้ดื่ม หรือการกล่าวคำทักทาย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้จิตใจเราสะอาด ส่งผลให้เกิดความรู้สึกดีต่อกันได้ และลดอัตตา ทิฎฐิ ลดความกระด้างของจิตจากความหยิ่งที่จะมีต่อกันได้ เพราะเกิดความเกรงใจซึ่งกันและกัน
โดยในพระไตรปิฎกท่านแสดงว่าดังนี้
"[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
[๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒อย่างนี้แล ฯ"(2)
ขันติ และโสรัจจะนี้ เป็นธรรมที่ทำให้งาม หรือ เรียกว่า เป็นสิ่งที่ให้บุคคลเป็นผู้งามสง่า ไม่ใช่ทำให้ดูแย่ รวมไปถึงธรรมอีกสองข้อคือการกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ทำให้ผู้ทำได้อย่างนี้เป็นคนที่น่าศรัทธา น่ารักใคร่ อยู่ใกล้แล้วเย็นใจ น่าปลื้มใจ สิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ไม่เคยมีใครรังเกียจ ไม่มีใครรังเกียจอยู่ และจะไม่มีใครรังเกียจ ไม่ว่าจะทำกับใคร เวลาใด หรือสถานที่ใดก็เป็นสิ่งที่ดี ไม่ึขึ้นอยู่กับกาลเวลา ทำเมื่อไหร่ดีเมื่อนั้น ทั้งเป็นการฝึกตนในทางกาย และวาจา เพื่อให้บริสุทธิ์ไร้มลทิน เป็นบาทของการขัดเกลากิเลสขั้นสูงในการวิปัสสนาเพื่อให้พ้นจา่กสิ่งที่ทำให้จิตใจหม่นหมอง ขัดเกลาจิตใจให้จิตบริสุทธิ์ มีแต่ใจที่บริสุทธิ์ต่อไปกับทุกคนและตนเอง และสิ่งที่ได้รับที่สุดคือจิตใจของเรา มีความสงบและมีความสุข และเป็นความสุขที่ไม่บกพร่องเหมือนความสุขอื่น ๆ เลย
สิ่งสำคัญที่สุดของธรรมทั้งสองข้อนี้ ไม่ใช่เพื่อให้เราดูดีในสายตาของคนอื่น แต่ธรรมทั้งสองข้อนี้ ทำให้เรามีความเป็น "ปรกติ" กับสภาวะธรรม กับโลก กับชีวิต แสดงออกด้วยภาวะจิตที่ตรงกับความเป็นจริง มากที่สุด
***********************
(1) http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=544&Z=586
(2)http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2461&Z=2507
แก้ไขเมื่อ 25 ม.ค. 55 20:14:36
แก้ไขเมื่อ 25 ม.ค. 55 20:11:50
แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 54 13:14:23
แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 54 13:13:15
แก้ไขเมื่อ 27 ธ.ค. 54 18:29:24
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 54 13:34:37
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 54 12:47:10
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 54 12:43:25
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 54 12:40:44
แก้ไขเมื่อ 26 ธ.ค. 54 01:42:00