ความคิดเห็นที่ 9
สวัสดีครับ พี่ขามเรียง พี่จุง ...และเพื่อนๆ
ขออนุญาตแชร์โดยอ้างอิงจาก ทฤษฏี การจัดการความรู้ (Knowledge Management) นะครับ
ถ้าพิจารณาจาก Diagram ที่พี่เอก (ขามเรียง) นำเสนอ ...
ในส่วนของ ผลลัพธ์+ความรู้(ในตัวผู้ปฏิบัติ) นั้น จากทฤษฏี KM จะเรียกว่าเป็น Tacit Knowledge
Tacit Knowledge ที่ปกติจะอยู่ในสมองของแต่ละคนหรือ ถูกฝังในการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มภายในฝ่ายหรือในสาขา เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญหรือการมีทักษะในระดับสูงที่น่าเป็นแบบอย่างเป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ แผนทางความคิด ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ Know-how ความลับทางการค้า ทักษะ ความเข้าใจและการเรียนรู้ที่องค์กรมี รวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กรที่ถูกฝังอยู่ในขบวนการและคุณค่าและในประสบการณ์ของคนในองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน
Tacit Knowledge ถูกกระจายโดยไร้โครงสร้างที่จับต้องได้ ดังนั้น มันจึงยากที่รวบรวม Polanyi กล่าวไว้ว่า เป็นการยากที่จะเก็บ Tacit knowledge ไว้ในรูปตัวอักษร ตัวอย่างเช่น การอธิบายวิธีการขี่จักรยานโดยการเขียนเป็นตำรา การเปลี่ยนรูปหรือการแบ่งปันความรู้แบบ Tacit ที่ให้ผลสำเร็จปกติจะเกิดขึ้นโดยผ่านการคบหาสมาคม การฝึกงาน การสนทนา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือแม้แต่การเลียนแบบ
ศาสตราจารย์ Nonaka ชาวญี่ปุ่น กล่าวว่าสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ เช่น ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ การรู้โดยการสัมผัส ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว คุณค่า ภาพลักษณ์ เป็นทรัพย์สินขององค์กรที่ถูกมองข้ามเสมอ การเก็บเกี่ยวผลจากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้นี้สามารถนำมาเอื้อประโยชน์กับผลกำไรหรือขาดทุนในงบการเงินและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
และจาก Diagram ที่พี่เอกนำเสนอในส่วนของ ทฤษฏี(ความรู้ที่ปรากฏ) เราจะเรียกว่าเป็น....
Explicit Knowledge ซึ่งหมายถึง ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น data, software, policy, procedural guide, document, reports, white paper, designs, products, strategy, goal, mission , core competency เป็นต้น
โดย Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่ถูกรวบรวมในรูปแบบที่สามารถแจกจ่ายให้ผู้อื่นโดยไม่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือเปลี่ยนรูปแบบในรูปของกรรมวิธีหรือกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น การบรรยายวิธีการของการสมัครงานจะต้องมีการทำเป็นเอกสารคู่มือนโยบายของแผนกทรัพยากรบุคคลในองค์กร
Explicit Knowledge ถูกเรียกอีกอย่างว่า Leaky knowledge (ความรู้รั่ว) เนื่องจากสะดวกที่จะทิ้งไว้กับบุคคล หรือองค์กร เพราะมันสามารถพิสูจน์โดยเอกสารได้อย่างถูกต้องและง่ายดาย
เมื่อพิจารณาสัดส่วนความรู้ทั้ง 2 ประเภท จะพบว่าความรู้ในองค์กรส่วนใหญ่เป็นความรู้ประเภท Tacit มากกว่าความรู้ประเภท Explicit โดยหากจะเปรียบเทียบกับภูเขาน้ำแข็ง Explicit เปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นส่วนน้อย (ประมาณ 20% ของทั้งหมด) เมื่อเทียบกับส่วนของภูเขาที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งมากถึง 80% (เป็นส่วนของ Tacit) ... ครับ
จากคุณ :
ว่าที่ ดีอาร์
- [
23 ม.ค. 49 15:00:32
]
|
|
|