ความคิดเห็นที่ 6
สาวน้อยฯครับ...
การเขียนโปรแกมป์ บริหารสินค้าคงคลังนั้น สิ่งสำคัญนอกจากการรายงานว่า สินค้าเหลือเท่าไรแล้ว ก็ต้องรายงานว่า...
สินค้าตัวไหนขายเมื่อไรและเท่าไร? สัดส่วนยอดขายต่อสต๊อค(สต๊อค เรโช)?
ฯลฯ ซึ่งจะมีผลต่อการสั่งสินค้าและการจ่ายเงินอีกด้วย...
มาดูว่าเราเข้าใจเรื่อง สต๊อค กันมากน้อยแต่ไหน???
ระดับของสต๊อคในความคิดโกมีอยู่ 3 ระดับ คือ...
มินิมั่ม(ยอดที่ต่ำสุด) แม๊คซิมั่ม(ยอดที่มากไป)และ ออฟติมั่ม(ยอดที่พอดี)...
การดูแลสต๊อค ส่วนใหญ่เค้าจะเปรียบกับยอดขาย อาจจะเป็นวัน หรือ เป็นเดือน...เรียก สต๊อคเรโช...
ในอดีตที่เราสั่งสินค้าเดือนละครั้ง เราพยายามควบคุมสต๊อคไม่ให้เกิน 3 เดือน (หมายถึง 3 เท่า) เพราะถ้าเกินไปกว่านี้ สต๊อคจะมากเกินไป (จมทุน)..แต่ปัจจุบัน หลายแห่งเปรียบเทียบเป็นวัน เช่น ของ 7-11 ประมาณไม่เกิน 12-15 วัน ถ้าขายไม่ดีมากๆก็ประมาณ 20-25 วัน.....
สต๊อคเริ่มต้นเรียกว่าพอดีควรจะเท่าไหร่?ก็คือสต๊อคที่มีสินค้าครบ SKU และอยู่ที่การประมาณการยอดขายในช่วงแรก...
ยกตัวอย่างนะ ปัจจุบัน สินค้าแบรนด์ A หากจะให้ครบทุก SKU อาจจะต้องมีสต๊อคประมาณ 600,000 บาท และปรากฏว่าเดือนแรก ขายได้เพียง 40,000 บาท นี่แสดงว่า สต๊อคโอเวอร์อย่างมาก ดังนั้นในเดือนต่อๆไปเราก็ต้องบริหารสต๊อคเพื่อให้เข้าระบบให้ได้ เช่น พอผ่านไป 3เดือนก็ต้องขอเปลี่ยน หรือจัดรายการเพื่อลดสต๊อคสินค้า ...ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก...
หรือจะดูที่ร้านโชว์ห่วยก็ได้ เราจะเป็นว่า บางทีร้านโชวห่วยที่มียอดขายเดือนละ 600,000 บาท(วันละ 20,000 บาท) อาจจะมียอดสต๊อคถึง 1-1.5 ล้านบาท เพราะไม่มีระบบกระจายสินค้ามาช่วย
เรื่องการบริหารสินค้าคงคลังจึงเป็นเรื่องสำคัญปัจจุบันนอกจากการนำคอมพิวเตอร์มาใช้แล้ว ใน องค์กรใหญ่ๆยังต้องมีระบบลอจิสติคมาช่วยด้วย จึงจะทำให้การค้าทันต่อยอดขาย...
จากคุณ :
มือเก่า (คนอุบล)
- [
14 พ.ค. 49 15:32:26
]
|
|
|