อันตราย : คำถามพิเศษ
(คำถามนี้อาจจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมตะวันตก
แต่ก็ควรจะนำไว้นี้ ผู้เรียบเรียง)
คำถามบางอย่าง คุณอาจจะละเว้นไม่ยอมตอบก็ได้ มี
กฎหมายเพื่อความเสมอภาค บัญญัติคำถามต้องห้ามไว้
อย่างชัดเจน เช่น การถามสตรีในเรื่องสถานะภาพการ
แต่งงาน การวางแผนครอบครัว และเรื่องทำนองนี้ (ลุง
แอ็ดก็ไม่ได้สัมภาษณ์คนมานานแล้ว เพราะไม่รู้จะรับ
พนักงานไปทำอะไร....แต่ก็อยากรู้ว่า เดี๋ยวนี้ บ้านเรามี
กฎหมายชนิดนี้ หรือผู้สัมภาษณ์นิยมกันหรือไม่)
หากคุณต้องการตอบคำถามต้องห้าม ขอให้เสนอความ
เห็นตรงไปตรงมา
ผู้สัมภาษณ์ไม่อาจถามคำถามต้องห้ามในเรื่องศาสนา
เชื้อชาติ หรืออายุ
ปัญหาเรื่องสภาวะการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากผู้
สัมภาษณ์ถามถึงเงินเดือนรายได้ในอดีต ขอให้ตอบคำ
ถามด้วยการเพิ่มจำนวนรายได้เกินความเป็นจริง ที่ปรึกษา
ฝ่ายบุคคลรับรองคำตอบที่ค่อนข้างจะเกินความเป็นจริงไป
บ้าง
ในทางปฏิบัติแล้ว เป็นการยากที่จะสอบถามถึงรายได้
เพราะไม่มีฝ่ายบุคคลขององค์การใด จะยินยอมเปิดเผยถึง
เงินเดือนค่าจ้าง
(ข้อนี้ในความส่วนตัวของลุงแอ็ด ว่าในเมืองไทยอาจจะไม่
เหมือนตะวันตก ที่เงินเดือนเป็นเรื่องสำคัญ ไม่มีฝ่าย
บุคคลขององค์กรใด ที่จะยินยอมเปิดเผยเรื่องเงินเดือน
ของบุคคลที่ลาออกไปแล้ว แต่ของเมืองไทย เท่าที่รู้
ฝ่ายบุคคลมักจะยินดีตอบตามความเป็นจริง ว่าได้เงินเดือน
ในปัจจุบันเท่าไหร่ หรือมีคอมมิชชั่นเท่าไหร่ แม้กระทั่ง
การออก หนังสือรับรองเงินเดือน เพื่อแสดงเป็นหลักฐาน
ต่างๆ ก็ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจประการใด
ดังนั้น การตอบเรื่องเงินเดือน ควรจะตอบไปตามความ
เป็นจริงจะดีกว่า แต่ถ้าเขาถามถึง รายได้ ซึ่ง
เราหมายถึงรายได้รวม อาจจะรวมค่ามือถือ ค่าน้ำมัน ค่า
คอมมิชชั่นเข้าไปด้วยก็ได้ แต่ต้องมีคำตอบที่ชัดเจนถ้าผู้
สัมภาษณ์ต้องการให้แยกแยะออกให้แน่ชัด เรื่องเงิน
เดือนนี้ ก็มีถามกันในกระทู้สีลมนี้บ่อยๆ )
อย่างไรก็ตาม คุณควรจะทราบขั้นเงินเดือนสูงสุดของ
ตำแหน่งงานที่คุณต้องการเข้าสมัครงานนั้น
(ข้อนี้ก็เช่นกัน อาจจะกลับกันกับตะวันตก ของเรา ถ้ามีผู้
สมัครงานถามเงินเดือนที่ตั้งใจจะให้ หรือเงินเดือนสูงสุด
ที่ผู้สมัครงานแต่ละตำแหน่งจะได้รับ ส่วนมากเขาอาจจะ
ไม่อยากตอบ.....แต่ก็มีบางแห่งที่ลงโฆษณาอย่าชัดเจนว่า
จะให้เงินเดือนระดับเท่าใด ซึ่งผู้สมัครงานสมควรจะได้เงิน
เดือนตามความเป็นจริงที่โฆษณาไว้)
ดังนั้น ข้อความในบทนี้ ก็เอามาให้อ่านกันให้กันให้เห็น
วัฒนธรรม และความแตกต่างของต่างประเทศกับประเทศ
ไทย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร......
ศึกษาคำถามก่อนถึงเวลาสำคัญ
คำถามต่อไปนี้ จะเป็นคำถามที่มักจะพบได้เสมอในการ
สัมภาษณ์งาน หากคุณมีโอกาสเตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้า
เมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์งาน คุณจะไม่ต้องเสียเวลากระหืด
กระหอบคิดค้นหาคำตอบ
1. คุณคิดว่า คุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้
ควรมีอะไรบ้าง?
2. จุดใดที่จะบ่งถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลว
ของตำแหน่งนี้?
3. คุณคิดว่าเรื่องใด ที่คุณประสบความสำเร็จใน
ชีวิต?
4. ในตำแหน่งสุดท้ายที่คุณทำ มีอะไรบ้างที่คุณ
อยากทำให้มากกว่านั้น?
5. หากคุณได้รับโอกาสเขียนคำเสนอแนะต่อ
ฝ่ายบริหาร คุณอยากจะปรับปรุงเรื่องใดบ้างในงานเก่า
ของคุณ?
6. เจ้านายที่ดีที่สุดในสายตาของคุณ เป็นเจ้า
นายชนิดใด?
7. เจ้านายที่แย่ที่สุดในสายตาของคุณ เป็นเจ้า
นายชนิดใด?
8. คุณคิดว่าจะมีอนาคตในบริษัทนี้หรือไม่? ไป
ได้ไกลเพียงใด?
9. หากจะเปรียบเทียบกับการสัมภาษณ์งานครั้ง
อื่นๆ การสัมภาษณ์งานในครั้งนี้เป็นอย่างไร? ดีกว่า แย่
กว่า หรือเท่าเทียมกัน?
10. คุณมีผลงานใดบ้างในปีที่ผ่านมา ที่จะพัฒนา
ขีดความสามารถของตนเอง?
11. จุดเด่นที่สุดของคุณมีอะไรบ้าง?
12. จุดด้อยของคุณมีอะไรบ้าง?
13. ผู้บังคับบัญชาในงานเก่าของคุณมีลักษณะ
อย่างใด?
14. คำตำหนิที่ผู้อื่นมีต่อการทำงานของคุณ จะเป็น
เรื่องใดบ้าง?
15. มีเรื่องใดบ้างในงานเก่า ที่คุณชอบน้อยที่สุด?
16. มีเรื่องใดบ้างในงานเก่า ที่คุณชอบมากที่สุด?
17. มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่เป็นตัวถ่วงความเจริญใน
ชีวิตของคุณ?
18. มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่มีส่วนเกื้อหนุนสร้างความ
สำคัญให้แก่คุณ?
19. หากคุณย้อนกลับไปในอดีตได้ คุณจะทำ
อะไรต่อมิอะไรผิดไปจากเดิมไหม? จะทำอย่างไร?
20. ถ้าคุณเปลี่ยนตัวได้ คุณอยากเป็นใครมากที่
สุด?
21. เรื่องเล็กน้อยระคายเคืองเรื่องใด ที่ทำให้คุณ
หัวเสียได้ง่ายที่สุด?
22. คู่สมรสของคุณ (ถ้ามี) รู้สึกอย่างไร ถ้าคุณ
มาทำงานในตำแหน่งนั้น?
23. มีเรื่องใดบ้าง ที่คุณคิดว่าฝ่ายบริหารอาจจะ
ช่วยคุณให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ?
24. สัปดาห์ที่แล้ว คุณทำอะไรบ้างในเวลาว่าง?
25. งานชิ้นใดที่คุณคิดว่าเป็นงานที่ยากที่สุดใน
ชีวิต เท่าที่เคยทำมา?
26. มีอะไรอื่นเกี่ยวกับตัวคุณเอง ที่คุณอยากเล่า
เพิ่มเติมอีกบ้างหรือไม่?
ลองเตรียมตัวตอบคำถามนี้ดู โดยการปรึกษากับคุณพ่อ
คุณแม่ เพื่อนสนิท แฟน หรือคนชอบพอ เพื่อจะได้ตอบ
ได้เต็มปากเต็มคำ และด้วยความมั่นใจ
อย่าลืม....จงตอบคำถามทุกคำถาม ด้วนความมั่นใจ
บทส่งท้าย : การจ้างงานตามภาพที่ปรากฏ
หัวข้อหนึ่งที่ลุงกล่าวถึงในตอนต้นบทคือ กฎเกณฑ์ 3
ประการในการสัมภาษณ์งาน
ส่วนที่สามถอดความหมายได้ว่า - ขายศักยภาพที่มีอยู่ใน
ตัวคุณ
ในฐานะผู้สมัครงาน คุณไม่อาจจะบ่งบอกผู้สัมภาษณ์ด้วย
คำพูดได้ว่า เขาจะได้รับศักยภาพชนิดใด ถ้าเขาตกลง
ว่าจ้างคุณเข้าทำงาน
สิ่งที่คุณทำได้ก็เพียงแต่ ข้อชี้แนะให้เขาเห็นความจริงใน
เรื่องนี้ที่ซ่อนอยู่ในทัศนคติ ซ่อนอยู่ในคำตอบต่อคำถาม
ของเขา
ภาพที่ผู้สัมภาษณ์มองเห็น จะเป็นภาพที่เขาประสงค์จะรับ
หรือไม่รับเข้ามาทำงานด้วย บางที ผู้สัมภาษณ์อาจหวังว่า
คุณน่าจะปรับปรุงตัวได้ดีกว่านี้
ระดับที่เขามองเห็นอยู่ในขณะนี้ คุณก็น่าจะมีส่วนช่วยชี้
แนะให้เขาสำนึกได้ว่า คุณไม่อาจดำรงอยู่ในสภาพ
ปัจจุบันไปตลอดกาล.....คุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพตน
เองให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
การเสนอแนะ มิใช่การบ่งบอกยืนยันว่า คุณพร้อมจะไต่
เต้าอย่างไม่หยุดยั้งจนกว่าจะได้รับตำแหน่งสูงสุด
คุณแสดงออกเพียงแต่ว่า คุณเชื่อมั่นในการดำเนินงาน
ขององค์กรนี้ และพร้อมจะเจริญเติบโตร่วมทางไปด้วย
กัน
(ฉลาดมาก.....ฉลาดพูดมาก...: ลุงแอ็ด)
แม้ข้อเสนอนี้จะเป็นการเน้นซ้ำซาก แต่ถ้ากล่าวออกมา
ด้วยความจริงใจและเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ ก็จะให้ผล
ทรงประสิทธิภาพ
แน่นอนที่สุด ถ้าผู้สัมภาษณ์เกิดความกลัวว่า คุณอาจจะดี
เกินกว่าตัวเขา หรือคุณมีศักยภาพเกินกว่าตำแหน่งงาน
ข้อเสนอแนะของคุณอาจจะส่งผลร้ายต่อตัวคุณก็ได้
แต่นั่นเป็นทางเลือกที่คุณน่าจะลองเสี่ยง
ขอขอบคุณ คุณ Norman King และผู้เรียบเรียง คุณนพ
ดล เวชสวัสดิ์ ที่เสนอแนะความเห็นต่างๆ มาในหนังสือ
The First Five Minutes ที่ลุงแอ็ดได้นำมาเสนอให้พวก
เราอ่านกันในครั้งนี้
*********************************************************
จาก ประทับใจใน 5 นาที (แรก) The First Five
Minutes" เขียนโดย Norman King แปลโดย นพดล
เวชสวัสดิ์
*********************************************************
เรียบเรียงใหม่ : อมร ถาวรมาศ
ลุงแอ็ด
ประธานคลับนักขาย
http://lungadd.pantown.com/
amorntvm@anet.net.th
จากคุณ :
ลุงแอ็ด
- [
24 ต.ค. 49 09:37:01
]