Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    Logistics เพลินๆกับนายหรั่ง : หากเราเป็น Logistics Service Provider (I).

    หากเราอยู่ในฐานะที่เป็น Logistics Service Provider
         ท่านจะมีการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการตลาดอย่างไร  (การทำตลาดบริการทำอย่างไรให้ลูกค้ามาซื้อบริการ)

    ใช้กลยุทธ์ 3 R ในการทำ Marketing Logistics เพื่อการพัฒนา กระบวนการของธุรกิจ 2 ด้าน คือ การสร้างอุปสงค์ (การตลาด (Demand Creation)) และการเติมเต็มความต้องการ (Logistics (Demand Fulfillment)) โดยมีกระบวนการดังนี้

              Responsiveness
                                แนวคิด Responsiveness นี้ เกิดขึ้นจากปัญหาที่ว่า อุตสาหกรรมต่างกันควรจะมีการบริหาร "ความเร็ว" และ "ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า" ต่างกันอย่างไร การนำหลักการสร้างความสามารถในการสนองตอบความต้องการของลูกค้านี้มาใช้ต้องคำนึงถึง
              - สิ่งกระตุ้นที่ทำให้อุตสาหกรรมต้องสร้างความสามารถในการสนองตอบ (stimuli)
              - ความรู้ถึงสิ่งที่มากระตุ้นและหนทางตอบสนองเชิงอุตสาหกรรม (awareness)
              - การสร้างความสามารถในการสนองตอบเชิงอุตสาหกรรม (capabilities)
              - เป้าหมายในการสนองตอบ (goals)
    เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุปโภคบริโภคต่าง ๆที่มีความต้องการของลูกค้าในสินค้าเชิงองค์ประกอบ (Specifications) อย่างชัดเจน หากแต่ปริมาณความต้องการของลูกค้านี้จะไม่แน่นอน และเป็นตัวที่มากระตุ้นให้อุตสหกรรมต้องสร้างความสามารถในการสนองตอบส่วนเป้าหมายของการสนองตอบคือ การที่มีสินค้าวางขายอย่างต่อเนื่อง (on-shelf) การบริหาร "เวลา" และ "ความเร็ว" ให้เหมาะสมเพื่อสร้าง responsiveness ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ต้องประกอบด้วย
              - การพยากรณ์ความต้องการลูกค้าอย่างแม่นยำ (Forecast accuracy)
              - การปรับแผนการผลิตผลิตภัณฑ์สุดท้ายอย่างรวดเร็ว (Production plan
    adjustment) ตามความต้องการลูกค้า
              - การจัดแรงงานการผลิตให้พอเพียงตลอดเวลา (Workforce capacity)

    อุตสาหกรรมสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซอุตสาหกรรม เป้าหมายที่สำคัญของอุตสาหกรรมกลุ่มนี้คือ การจัดส่งให้ตรงต่อเวลาที่ลูกค้าต้องการ การบริหาร "ความเร็ว" และ "ความสามารถในการตอบสนอง" ที่สำคัญของกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นไปที่การจัดส่งสินค้า ให้ตรงต่อเวลาที่ต้องการ ดังนั้นอุตสาหกรรมกลุ่มนี้จำเป็นที่จะต้องมีวัสดุคงคลังไว้ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้โดยทันที เนื่องจากระบบการผลิตของอุตสาหกรรมประเภทนี้โดย ส่วนมากเป็นการผลิตอย่างต่อเนื่อง (continuous flow line) ปัญหาขัดข้องในระบบการผลิตที่จะทำให้วัสดุคงคลังขาดไป นั้นเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เช่น การเสียของเครื่องจักร โดยสรุปแล้ว การบริหาร "เวลา" และ "ความเร็ว" ของอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ควรคำนึงถึง
    - การเตรียมวัสดุคงคลังให้เต็มตลอดเวลา
    - ปัญหาการเสียของเครื่องจักร
    - การจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว

    อุตสาหกรรมยานยนต์, การผลิตเสื้อผ้า, ผลิตเหล็กกล้า, ผลิตจักรยาน อุตสาหกรรมกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ แต่จะมีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือ สามารถผลิตชิ้นส่วนประกอบเก็บไว้ในคลังได้ จนเมื่อความต้องการของลูกค้าเข้ามาในระบบ จึงสามารถนำมาประกอบได้ตามความต้องการที่ระบุมา เพราะอุตสาหกรรมไม่สามารถทราบองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์สุดท้ายจนกว่าคำสั่งของลูกค้าจะเข้ามาในระบบการบริหาร "เวลา" และ "ความเร็ว" เพื่อจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรคำนึงถึง
              - การพยากรณ์ความต้องการชิ้นส่วนประกอบอย่างแม่นยำ
              - การปรับแผนการผลิตรวมทั้งลำดับการผลิตอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่
    คำสั่งของลูกค้าเข้ามาในระบบ
              - การจัดเตรียมกำลังการผลิตอย่างพอเพียงหรือการเผื่อกำลังการผลิต
              - การจัดลำดับการผลิตรวมทั้งการเข้า/ออกของงานในระบบผลิต (Sequencing/Input output/control)

    อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรต่าง ๆ หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ มีความหลากหลายมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ลูกค้าสามารถกำหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ได้โดยละเอียด อุตสาหกรรมกลุ่มนี้เพียงแค่สามารถเก็บวัตถุดิบไว้ในคงคลังได้เท่านั้น การผลิตต้องรอจนกว่าลูกค้าจะกำหนดองค์ประกอบผลิตภัณฑ์การบริหาร "เวลา" และ "ความเร็ว" เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ ควรคำนึงถึง
              - การใช้เวลาอันรวดเร็วในการออกแบบ/เขียนแบบผลิตภัณฑ์
              - การจัดลำดับงานจากแผนกออกแบบไปสู่ระบบผลิต
              - การวางแผนกำลังการผลิตและการเผื่อกำลังการผลิต
              - การพยากรณ์ชิ้นส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้กับผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน (modularity)

    หลักการและเทคนิคการบริหารอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่การพิชิตคู่แข่งขันในตลาดโลก โดยมุ่งเน้นถึง "เวลา" "ความเร็ว" และ "ความสามารถในการสนองตอบความต้องการของลูกค้า" ในปัจจุบันการแข่งขันในอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปจากการแข่งขันเพียงคำนึงถึง "ราคา" และ "คุณภาพ" หากแต่ "ความเร็ว" ในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลาย เป็นสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญ และกลายเป็นปัจจัยในการแข่งขัน บทความนี้ยังได้กล่าวถึงแนวคิดต่าง ๆ ที่ทำให้บรรลุถึง "ความเร็ว" ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในเวลาที่ลูกค้าคาดหวังอีกด้วย บทความนี้มุ่งหวังให้อุตสาหกรรมไทยได้หันมาสนใจถึงแนวคิดใหม่ ๆ มิใช่เพียงยึดติดกับ "ราคา" และ "คุณภาพ" เท่านั้น และรู้จักวิเคราะห์โครงสร้างระบบการผลิตในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อที่จะสามารถพัฒนากลยุทธ์การบริหารให้เหมาะสมกับองค์กร และสามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมในตลาดโลกได้ (มีต่อตอนต่อไป)

        ท่านสามารถติดตามบทความด้าน Logistics ย้อนหลังได้จากที่ www.logistics-lam1.pantown.com ครับ

     
     

    จากคุณ : นายหรั่ง - [ 3 พ.ย. 49 14:04:58 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom