Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ลักษณะบางประการของ"เศรษฐกิจไทย"

    คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูล

    เศรษฐกิจของแต่ละประเทศบางทีก็ทำงานไม่เหมือนกัน มาตรการบางอย่างใช้ได้ผลกับประเทศหนึ่ง แต่เมื่อนำมาใช้กับอีกประเทศหนึ่งและในเวลาที่ต่างกัน ผลข้างเคียงจึงอาจจะมีมากน้อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเงิน ทั้งนี้เพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์

    ลักษณะที่สำคัญอันแรกก็คือ เศรษฐกิจของเราในด้านสินค้าและบริการเป็นเศรษฐกิจที่เล็กและเปิ ด สัดส่วนของการค้าระหว่างประเทศของเราเมื่อเทียบกับปริมาณการค้า ของโลกแล้วก็เห็นได้ว่า ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของเรามีสัดส่วนเล็กมากเมื่อเทียบกับ ปริมาณการค้าของโลก กล่าวคือ มีเพียงประมาณร้อยละหนึ่งของการค้าของโลกเท่านั้นเอง

    เมื่อเป็นอย่างนี้ ราคาสินค้าที่เราส่งออกไม่ว่าจะเป็นสินค้าทางด้านการเกษตร หรืออุตสาหกรรม จึงต้องเป็นไปตามราคาตลาดโลก กล่าวคือ เราเป็นฝ่ายรับราคาตลาดโลก ไม่ใช่เป็นฝ่ายตั้งราคา ซึ่งราคาตลาดโลกของสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ก็ตั้งราคาในรูปของเงิน ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำมาแตกเป็นเงินบาท โดยนำมาคูณกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินบา ท ก็จะได้ราคาเป็นเงินบาท

    ในกรณีของที่นำเข้าก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปเราก็ไม่อาจจะเป็นผู้ตั้งราคาได้ เราต้องเป็นผู้รับราคาของตลาดโลกเช่นเดียวกัน เมื่อนำมาคูณกับอัตราแลกเปลี่ยนแล้วก็จะเป็นราคาที่เป็นเงินบาท

    แม้แต่สินค้าบางอย่างที่เรามีส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกเป็นจำนวนมา ก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา กุ้ง ไก่ แม้ว่าเราจะมีส่วนแบ่งในตลาดมากก็ตาม แต่เราก็ยังเป็นผู้รับราคาอยู่ดี เพราะสินค้าต่างๆ เหล่านี้บางอย่างก็มีของอย่างอื่นทดแทนได้ ถ้าราคาสินค้าของเราสูงเกินไป ผู้ซื้อก็หันไปซื้ออย่างอื่น หรือไม่ก็ซื้อจากประเทศอื่น

    นอกจากเราจะเป็นเศรษฐกิจที่เล็กเมื่อเทียบกับตลาดโลกแล้ว เศรษฐกิจของเรายังเปิดเสรี แทบจะไม่มีสินค้าใดเลยที่เราห้ามนำเข้าหรือมีโควตาการนำเข้า นอกจากสินค้าที่เป็นโทษต่อสุขภาพร่างกาย การเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกก็เป็นเหตุผลอีกอันหนึ่งที่บั งคับเราให้เปิดตลาดเสรี จะใช้มาตรการอื่นนอกจากภาษีขาเข้าเป็นเครื่องมือในการกีดกันการ ค้าไม่ได้ ภาษีขาเข้าก็ต้องใช้กับสมาชิกองค์การการค้าโลกเป็นการทั่วไป จะใช้เฉพาะเจาะจงกับประเทศบางประเทศ หรือกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้ นอกจากนั้นภาษีขาเข้าก็นับวันที่จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ

    การที่เศรษฐกิจของประเทศเราเป็นเศรษฐกิจของประเทศเล็กและเปิด (small open economy) มีผลประการหนึ่งคือ ราคาสินค้าโดยทั่วไปทั้งที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศใน ฐานะเป็นสินค้าส่งออก หรือเกี่ยวข้องในฐานะที่มีส่วนของการนำเข้า จึงขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการในตลาดระหว่างประเทศทั้งนั้น เมื่อราคาสินค้าในต่างประเทศสูงขึ้นก็ดึงราคาสินค้าอย่างเดียวก ันหรือทดแทนกันได้ในประเทศเราสูงขึ้น ถ้าราคาสินค้าในต่างประเทศลดลง ก็ดึงราคาสินค้าในประเทศเราลดลงเช่นเดียวกัน

    เมื่อเป็นอย่างนี้ เงินเฟ้อในประเทศของเราจะเป็นอย่างไร ราคาข้าวของจะขึ้นจะลง จะขึ้นมากขึ้นน้อยอย่างไร ในระยะยาวแล้วจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยสองอย่าง คืออัตราเงินเฟ้อของตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของเรากับเงินตราของประเทศที่เป็นคู่ ค้าของเรา

    ตามที่ตลาดของเราเป็นตลาดเปิด เงินเฟ้อ ถ้าจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของเราจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยสองปัจจ ัย คือราคาสินค้า เช่น ราคาน้ำมัน หรือราคาสินค้าอย่างอื่นที่เราใช้ด้วย ส่งออกด้วยในตลาดต่างประเทศขึ้นราคา หรือไม่ก็ราคาค่าเงินบาทของเราตกเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สห รัฐซึ่งเป็นเงินตราสกุลหลักที่ใช้เป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่ างประเทศ

    การใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือโดยตรง ในการป้องกันเงินเฟ้อจึงไม่น่าจะเป็นเครื่องมือที่ตรงนัก การใช้อัตราดอกเบี้ยเพื่อเป้าหมายในการควบคุมเงินเฟ้อจะเป็นผลก ็ต้องผ่านการใช้จ่ายในประเทศ ผ่านไปทางดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แล้วทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น จึงจะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งเป็นผลทางอ้อมต้องผ่านไปทางการบริโภคการลงทุน ซึ่งกว่าจะมีผลก็ไกลจนอาจจะไม่มีผลเลย

    ผลอีกทางก็คือมีผลต่อการเคลื่อนย้ายของเงินทุน ถ้าอัตราดอกเบี้ยในบ้านเราสูงขึ้น ก็อาจจะทำให้เงินทุนที่เป็นเงินตราต่างประเทศเคลื่อนย้ายเข้ามา ในบ้านเรามากขึ้น ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น ก็มีผลให้ความกดดันในเรื่องเงินเฟ้อลดลง

    แต่การที่เงินบาทแข็งขึ้นก็จะมีผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันข องผู้ส่งออกลดลง และอาจจะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง หรือถ้าขาดดุลอยู่แล้วก็จะขาดดุลมากขึ้น ค่าเงินก็อาจจะไม่แข็งขึ้น เป้าหมายที่จะลดอัตราเงินเฟ้อในประเทศก็อาจจะไม่ได้ผล

    นอกจากตลาดสินค้าและบริการของเราจะเป็นตลาดที่เล็กและเปิดแล้ว ตลาดการเงินซึ่งหมายความรวมถึงตลาดเงิน คือเงินฝากตามธนาคารต่างๆ กับตลาดทุน อันได้แก่ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินตราต่างประเทศ ของเราก็เป็นตลาดที่เล็กและเปิดเสรีด้วย

    ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของตลาดการเงินก็คือ ตลาดเงินบาทที่อยู่ทั้งในประเทศ (on shore market) และต่างประเทศ (off shore market) เพราะเราไม่ได้ห้ามบุคคลต่างประเทศถือเงินบาทด้วย

    ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่ทำให้ทางการดำเนินนโยบายการเงินให้เ ป็นไปตามเป้าหมายได้ยากมาก ทั้งในแง่การควบคุมปริมาณเงิน (money supply) การควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว (capital movement) และจะทำให้เป้าหมายเงินเฟ้อโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือไ ม่ได้ผล

    ที่เป็นเช่นนี้ก็คือในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยของเงินบาทน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุ มปริมาณเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าออก ถ้าต้องการให้เงินทุนไหลเข้ามาก็กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยในประเทศให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาทก็จะแข็งขึ้น ถ้าไม่ต้องการให้เงินดอลลาร์ไหลเข้าในประเทศ หรือแม้แต่ไหลออกก็ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง เงินก็จะไม่ไหลเข้าหรืออาจจะไหลออก เงินบาทก็จะอ่อนลงแต่เงินบาทอ่อนลงก็จะมีผลกระทบทำให้ความกดดัน ด้านเงินเฟ้อก็จะสูงขึ้น

    ถ้าในยามปกติการวางเป้าหมายที่จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ทางการอาจจะทำได้โดยการออกมาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เช่น ถ้าเงินไหลเข้ามามากไม่ว่าจะเป็นเพราะการเกินดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด หรือการเคลื่อนย้ายของเงินทุน ทางการก็อาจจะแทรกแซงตลาดโดยการนำเงินบาทออกมาซื้อเงินตราต่างป ระเทศไปเก็บไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ แล้วก็ออกพันธบัตรดูดซับเงินบาทกลับไป เพื่อไม่ให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น หรือถ้าเงินบาททำท่าจะอ่อนลงมากไปก็อาจจะนำเงินดอลลาร์ออกมาขาย ทั้งในตลาดปัจจุบันและหรือตลาดล่วงหน้า ค่าเงินบาทก็จะไม่อ่อนตัวลงเร็วเกินไป เป็นการรักษาเสถียรภาพไปในตัว

    แต่ถ้าการไหลเข้าออกของเงินทุนมีลักษณะมากเกินไป จนกระทบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ลำพังจะใช้วิธีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศคงไม่เพียงพอ ก็คงต้องพิจารณาใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือช่วยอีกแรงหนึ่งโดยกา รลดดอกเบี้ย เพื่อเป็นการลดความร้อนแรงของการเคลื่อนย้ายของเงินทุน เพราะดอกเบี้ยจะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนของเงินทุนที่เคลื่อนย้ายเ ข้ามาในตลาด แต่ถ้ากำหนดไปเสียแล้วว่าอัตราดอกเบี้ยจะใช้เป็นเครื่องมือสำหร ับเป้าหมายทางเงินเฟ้ออย่างเดียว จะไม่ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย แล้วเหลือแต่การนำเงินดอลลาร์มาซื้อขายในตลาดอย่างเดียวก็คงไม่ เพียงพอ ถ้าค่าเงินอ่อนเกินไปหรือแพงเกินไป จนจะกระทบภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงคือ การนำเข้าหรือการส่งออก ที่เหลือก็คือการเข้าควบคุมโดยตรงหรือวิธีภาษีอากร หรือวิธีอื่น ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงินของประเทศ

    ลักษณะตลาดการเงินที่ค่อนข้างเล็กและเปิด และจะให้เสรีอย่างที่ไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศต้องการจึงเป็นสิ่งที่อันตรายแล ะบริหารได้ยาก เพราะความผันผวนจากต่างประเทศจะเข้ามาสร้างความผันผวนในประเทศข องเราได้ง่าย ต้องคอยเฝ้าปรับตัวตลอดเวลาให้เพียงพอ หากปล่อยให้ปัญหาสะสมไว้จนปัญหาใหญ่เกินไป การแก้ไขก็จะรุนแรงและมีผลข้างเคียงสูงมาก

    ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาเงินทุนได้ไหลออกจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกามีสูงขึ้นตามล ำดับ ภูมิภาคที่เงินดอลลาร์ไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไรก็คือภูมิภาคเอเชี ย เพราะเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่าภูมิภาคอื่นๆ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย ก็เป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีกว่า จึงเป็นแหล่งที่เงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามา แสวงหากำไรจากการขึ้นลงของอัตราแลกเปลี่ยน

    ในระยะหลังทางการก็ออกมายอมรับว่า มีเงินทุนระยะสั้นเข้ามา "ทำราคา" กับค่าเงินบาทเป็นจำนวนมาก ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าค่าเงินของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ซึ่งน่าจะเข้ามาแบบ "โจมตี" ค่าเงินบาท แต่ทำตรงกันข้ามกับการกระทำในปี 2540 ซึ่งในปีนั้นเป็นการโจมตีให้ค่าเงินบาทอ่อนลง แต่คราวนี้เป็นการนำเงินดอลลาร์และเงินเยนเข้ามาโจมตีให้ค่าเงิ นบาทแข็งขึ้น พร้อมกับปล่อยข่าวว่า ค่าเงินบาทจะแข็งไปถึง 35 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ และโดยธรรมชาติเมื่อถึง 35 บาทแล้วยังมีแรงซื้ออยู่ เงินบาทก็จะทะลุ 35 บาท แล้วก็ปล่อยข่าวลือว่าจะไปที่เป้าหมาย 32 บาท แล้วก็ 30 บาทตามลำดับ ซึ่งจะมีผลเสียหายต่อการส่งออก เมื่อผลของการส่งออกเสียหายถึงจุดหนึ่งแล้ว ซึ่งในระยะหลังทั้งตลาดเงินบาทภายในประเทศและต่างประเทศก็มองไป ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นจุดที่น่าจะเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเท ศได้

    การที่ทางการต้องออกมาตรการที่จะสกัดกั้นการไหลเข้ามาเก็งกำไรค ่าเงินบาท จึงน่าจะมีความจำเป็น ส่วนจะใช้มาตรการอะไร หนักเบาเพียงใด ก็เป็นเรื่องที่ยากในการประมาณการ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ปล่อยทิ้งไว้ หรือเพียงแต่เข้าแทรกแซงตลาดตามปกติก็คงไม่เพียงพอ เพราะเงินทุนเก็งกำไรนั้นมีจำนวนมากมายมหาศาลนัก

    เมื่อใช้มาตรการโดยตรงก็ย่อมต้องมีผลข้างเคียงในตลาดการเงินอย่ างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเพราะผลทางจิตวิทยา เมื่อเวลาผ่านไปจึงค่อยดูอีกทีว่าผลในการสกัดกั้นการไหลเข้าออก ของเงินทุนระยะสั้นจะเป็นอย่างไร ในระยะสั้นๆ คงจะสรุปได้ลำบาก

    อย่างหนึ่ง "ด้วยความเคารพ" อยากให้ทางการลองพิจารณาทบทวนการใช้ "เงินเฟ้อ" เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินนั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมเพียง ใด การใช้ "เงินเฟ้อ" เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินเป็นเหตุให้เครื่องมือที่สำคัญคือ "อัตราดอกเบี้ย" ไม่สามารถนำมาใช้ดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนได้โดยตรง เมื่อเกิดปัญหาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน

    เรื่องนโยบายการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โลกทุกวันนี้ มาตรการทางการเงินจึงเป็นเรื่อง ใหม่ที่มีผลข้างเคียงมาก ต้องคิดให้รอบคอบและรอบด้าน เพราะผู้ร้ายตัวสำคัญของโลกทุกวันนี้ก็คือ พวกกองทุนเก็งกำไร หรือ hedge fund ทั้งหลาย ไอเอ็มเอฟควรจะเป็นหัวหน้าเรียกร้อง ให้มีการควบคุมพฤติกรรมของกองทุนเก็งกำไรเหล่านี้ได้แล้ว

    คงต้องรอดูผลของมาตรการทางการเงินเที่ยวนี้สักพัก

    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s _tag=02edi06251249&day=2006/12/25

     
     

    จากคุณ : OnceInTheBlueMoon - [ วันสิ้นปี 03:54:17 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom