Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    เทคนิคการหางานทำ – สมัครผ่านเว็บไซต์ของบริษัท

    เทคนิคการหางานทำ – สมัครผ่านเว็บไซต์ของบริษัท




    ทุกวันนี้  มีหลายบริษัทใช้ช่องทางนี้กันมากขึ้น  เช่น  เทเล

    คอมเอเชีย  แลนด์แอนด์เฮาส์  ซีเมนต์  7-Eleven  จาก

    เมื่อก่อน  มีแค่ประกาศตำแหน่งงานว่าง  แจ้งให้ผู้สมัคร

    ทราบในเว็บไซต์เท่านั้น  หากสนใจต้องส่งไปสมัครไปทาง

    ไปรษณีย์หรือทางอีเมล์  




    ในปัจจุบันแต่ละบริษัทเริ่มมีฐานข้อมูลของผู้สมัครงานเก็บ

    ไว้ในเว็บไซต์ของของตัวเองมากขึ้น  โดยมีช่องให้ผู้สมัคร

    คีย์ข้อมูลส่วนตัวเข้าไปเหมือนกับการสร้าง Resume ใน

    เว็บไซต์หางานทั่วไป ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ จนเสร็จ

    สิ้น  ข้อมูลของคุณจะถูกส่งไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ

    บริษัทโดยตรง  เพื่อรอการพิจารณาต่อไป




    ส่วนใหญ่ผู้สมัครด้วยวิธีนี้ทราบข่าวประกาศรับสมัครงาน

    ของบริษัทนั้นๆ มาก่อน  จากช่องทางใดก็แล้วแต่  เมื่อ

    สนใจจึงต้องการเข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวบริษัท  ทั้ง

    ประวัติ  ผู้บริหาร  โครงสร้างขององค์กร  รูปแบบธุรกิจ  

    สินค้าและบริการ  รวมทั้งผลประกอบการเพื่อเป็นข้อมูล  

    แล้งบังเอิญได้พบว่ามีการสมัครผ่านเว็บไซต์จึงตัดสินใจ

    สมัคร




    การสมัครด้วยวิธีนี้  มีข้อดีที่คุณสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยว

    กับบริษัททุกแง่ทุกมุมได้ก่อนการตัดสินใจสมัคร
     เป็นสิ่งดี

    ที่คุณจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในการสัมภาษณ์

    งาน  กรณีที่คุณได้รับเลือกให้เข้ารับการสัมภาษณ์  แต่ฉัน

    มักได้ยินคนบางคนบ่นไม่ชอบการสมัครงานแบบนี้เท่า

    ไหร่  เพราะต้องคีย์ข้อมูลใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องการสมัครกับ

    แต่ละบริษัท  อยากสมัคร 10 บริษัท  ก็ต้องคีย์ข้อมูลใหม่

    ซ้ำๆ น่าเบื่อถึง 10 ครั้ง  แถมบางทีคีย์ข้อมูลเข้าไปเกือบ

    เรียบร้อยแล้ว  ระบบเกิดมีปัญหาดื้อๆ  ซะอย่างนั้น  จะคีย์

    ใหม่ก็ขี้เกียจ  เลยกลับไปคลิกไปส่ง  Resume  ใน

    เว็บไซต์สมัครงานแบบเดิมดีกว่า  ง่ายดี  ไม่เสียเวลา  ได้

    ครั้งละหลายๆ บริษัท  ข้อเสียอีกอย่างที่รู้มา.....บางบริษัท

    มักไม่อัพเดทส่วนนี้เลย  ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว  ปีนี้ก็ยัง

    ไม่เปลี่ยน  ทำให้ผู้สมัครไม่รู้ว่า  ตำแหน่งที่บอกว่าว่างนั้น

    ปัจจุบันยังว่างอยู่หรือเปล่า?




    แล้วแต่ค่ะ  ว่าคุณชอบ  สะดวก  และถนัดแบบไหนเมื่อ

    เทคโนโลยีถูกพัฒนามาให้เราได้ใช้เพื่อความสะดวกและ

    รวดเร็วในการส่งข้อมูลในชีวิตประจำวันก็น่าลองใช้ดูนะ  

    ถ้ามันจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง  ที่ช่วยให้การสมัครงานของ

    คุณง่ายขึ้นกว่าเดิม  แถมมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย




    ที่ผ่านมาคือช่องทางทั้งหมดที่คุณสามารถสมัครงานได้  

    ข้อดี-ข้อด้อย  และรายละเอียดปลีกย่อยก็แตกต่างกัน

    ไป  ขึ้นอยู่กับคุณแล้วละว่า....จะถนัดและคิดว่าช่องทาง

    ไหนเหมาะกับตัวคุณ  ไม่แนะนำให้เลือกเพียงช่องทาง

    เดียว  เพราะว่าจะเสียโอกาสนำเสนอความสามารถของตัว

    เองให้กับนายจ้างในอนาคตของคุณไป




    เมื่อการโฆษณาสินค้าในปัจจุบันได้พัฒนาไปถึงการใช้สื่อ

    แบบบูรณาการ  หรือการใช้สื่อแบบครบวงจร  ทำให้การ

    โฆษณานั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นแล้ว คุณเองก็

    เหมือนกัน  ถ้าต้องการให้ใบสมัครของคุณเข้าถึงกลุ่ม

    (นายจ้าง)  เป้าหมายมากที่สุด  ช่องทางสมัครงานแบบ

    บูรณาการ....ก็น่าจะช่วยคุณได้ไม่น้อย




    “สมุดบันทึกการสมัครงาน”  คัมภีร์ประจำตัว.....




    เมื่อคุณได้ลงสนามหางานจริง และเลือกใช้ช่องทางต่างๆ

    เพื่อสมัครงานตามที่ต้องการแล้ว  สิ่งที่ขอแนะนำอีก

    อย่างให้คุณมีไว้คือ  สมุดบันทึกการสมัครงาน  ถ้าคุณไม่มี

    สมุดเปล่า  อาจต้องหาซื้อมาสักเล่ม  ไม่ต้องใหญ่หรือหนา

    มาก  เพราะคุณคงไม่ใช้เวลาในการหางานมากนักหรอก  

    (ถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบ)




    “สมุดบันทึกการสมัครงาน”  เป็นเหมือนคัมภีร์ที่ติดตัวคุณ

    ไปทุกที่ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครงาน  ข้อมูลหลักๆ ในนั้น

    คือ
     




    •ตารางการสมัครงาน  : ตำแหน่งงาน  

    บริษัท  ช่องทาง  และวันที่คุณสมัคร




    •ตารางการนัดสัมภาษณ์งาน  :  ตำแหน่ง

    งาน  บริษัท  เวลานัดหมาย  สถานที่  ชื่อผู้ติดต่อ  หมาย

    เลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ  และวันที่คุณได้รับการนัดหมาย




    •ตารางการสัมภาษณ์งาน  :  ตำแหน่ง

    งาน  บริษัท  เวลานัดหมาย  สถานที่  ชื่อผู้ติดต่อกลับ  

    เงินเดือนที่ต่อรองไว้  และวันเวลาที่คุณไปสัมภาษณ์งาน




    •รายชื่อ  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์  E-mail  

    Address  ของบริษัทที่คุณสนใจสมัครงาน
     แต่ยัง

    ไม่ได้สมัคร




    •ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เกี่ยวกับการสมัคร

    งานที่คุณได้รับทราบมา
     ไม่ว่าจาก Campus  

    Visit  คู่มือการหางาน  อินเทอร์เน็ต  หรือบุคคลอื่นๆ  

    เขียนไว้เป็นหมวดหมู่  เปิดหาง่ายเมื่อต้องการใช้




    คัมภีร์เล่มนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครงานของ

    คุณไว้หมด  คุณสมบัติคงไม่ยิ่งหย่อนกว่า  Smart  Card  

    มากนัก......
    อยากใช้ข้อมูลอะไร  มันจะเรียงหน้า

    สลอนออกมาให้คุณเห็น  คุณจะรู้ว่าได้สมัครงานที่ไหนไว้

    บ้าง  เมื่อถูกเรียกสัมภาษณ์  จะได้ไม่งงและสับสนว่า

    บริษัทไหน  ตำแหน่งอะไร  เมื่อไหร่  เชื่อเถอะ  ถึงเวลา

    นั้นคุณสมัครไปแล้วไม่น้อยกว่า 20 บริษัท แน่นอน  ซึ่งถ้า

    ไม่ได้จดไว้  รับรองไก่ตาแตกเป็นอย่างไร  วันนั้นคุณจะ

    ได้รู้จักเสียที.....




    “สมุดบันทึกการสมัครงาน”  ควรเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกับ

    หลักฐานประกอบอื่นๆ  ที่คุณต้องนำติดตัวเสมอเมื่อไป

    สมัครงาน  




    สรุปแล้วในแฟ้มมหัศจรรย์นี้ต้องมี  หลักฐาน

    ประกอบการสมัครงานที่ถ่ายเอกสารไว้คลิปรวมเป็นชุด  

    ใบสมัครงานต้นแบบ  รูปถ่าย  เครื่องเขียน  และพระเอก

    ของเรา  “สมุดบันทึกการสมัครงาน”
     เช็คดูให้แน่ใจว่า  

    ทุกอย่างในแฟ้มอยู่ครบก่อนออกปฏิบัติการ  แฟ้มนี้ไม่ใช่

    กระเป๋าโดเรมอนที่โนบิตะอย่างคุณจะนั่งไทม์แมชีนกลับ

    ไปหยิบของที่ลืมได้ง่ายๆ




    เมื่อพร้อมอย่างนี้แล้ว  คุณจะรู้สึกอุ่นใจ  มั่นใจมากขึ้นทุก

    ครั้งที่ต้องออกลุยภาคสนาม  ในขณะที่โอกาส “พลาด”

    ของคุณกลับน้อยลง




    ***********************************************




    ตอนต่อไป  :  สมัครตำแหน่งอะไรดี....?





    ***********************************************




    จาก....กลยุทธ์เด็ด  คว้างานดี  ชีวิตนี้ไม่มีเตะฝุ่น  โดย  

    ปนัฎดา  สังข์แก้ว





    amorntvm@anet.net.th




    http://lungadd.pantown.com/

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 9 ม.ค. 50 18:49:53 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom