ความคิดเห็นที่ 14
แล้วแต่ครับ ไม่ใช่อย่างที่พวกคุณเข้าใจทั้งหมดหรอก มันขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้าทำงานที่ไหนตรงส่วนหน้าที่ไหน แล้วก็ทำที่บริษัทไหน โดยมากถ้าทำที่สำนักงานใหญ่ งานประจำที่ได้รายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่ได้ผูกรายได้กับยอดขายและค่ากำเหน็จนั้นมีครับ มีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย แถวๆ สีลม สาธร สุรวงศ์ ปทุมวัน นี่ มีพนักงานทำงานบริษัทประกันรวมๆ กัน เป็นพันคนได้ครับ ทั้ง ธนชาติ เจเนอรารี่ กรุงเทพประกันภัย, อาคเนย์, ไทยสมุทร, นวกิจ, ศรีเมือง, Allianz, AXA, Sumitomo Mitsui, MSIG, AIG, AIA, ING ฯลฯ ถ้าเป็นงานประจำของบริษัทประกัน ฐานเงินเดือนและสวัสดิการโดยรวมๆ ก็คงไม่ต่างกับพวกสถาบันการเงินแบบอื่นๆ เช่น ธนาคาร หลักทรัพย์ จัดการกองทุน ฯลฯ ซักเท่าไร ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ ตามธรรมดาแล้วบริษัทประกันชิวิตหรือประกันภัยนั้นจะมีแต่ตัวแทนขายประกันอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีพนักงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนอื่นๆ เหมือนที่ทุกๆ บริษัทจำเป็นต้องมีเช่น บุคคล บัญชี การตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายดูแลลูกค้า ฝ่ายลงทุน ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่าสินไหมทดแทน ฝ่ายพิจารณารับประกัน ฯลฯ ซึ่งคนที่ทำหน้าที่เหล่านี้ จำเป็นต้องเป็นพนักงานของบริษัท มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน พร้อมกับสวัสดิการซึ่งอย่างน้อยต้องได้ตามกฎหมายกำหนดหรือมากกว่า มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ฯลฯ ที่บอกได้เช่นนี้เพราะมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง ตอนนี้เป็นพนักงานของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ทำหน้าที่กำกับดูแลการลงทุนของทุนบริษัท รับเงินเดือนประจำ และไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าของบริษัทเลย (เพราะหน้าที่หลักก็ทำแทบจะไม่ทันแล้ว) รายได้และสวัสดิการที่ได้อยู่ตอนนี้ก็ไม่แพ้พวกธนาคารหรือหลักทรัพย์ไหนๆ อย่างกรณีของคุณ เจ้าของกระทู้ แท้จริงแล้วมันเป็นงานที่พวกตัวแทนที่ทำรายได้สูงๆ เปิดสำนักงานของตัวเองขึ้นมาแล้วใช้วิธีการแบบลูกโซ่ในการหาคนมาขายประกัน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับงานในสำนักงานใหญ่ในส่วน Back Office ประเทศไทยเรามีบริษัทประกันภัย 70 กว่าบริษัท และ บริษัทประกันชีวิตอีก 20 กว่าบริษัทซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการพนักงานประจำเข้ามาทำงานครับจะให้เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขายและหาคนมาขายอย่างเดียวคงไม่ได้หรอกครับ มันต้องมีคนบริหารจัดการเงินที่ได้มา การเงินการบัญชี ภาษี อะไรต่างๆ ไหนจะต้องบริหารจัดการเรื่องลูกค้า เรื่องสินไหม ฯลฯ ถ้าจะให้แนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงกรณีข้างต้นก็คือ งานใดก็ตามที่คุณไม่ได้ส่งใบสมัครไป หรือ งานได้ก็ตามที่ดูมันจะได้มาง่ายๆ ก็ขอให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจจะเป็นการหลอกลวงหาคนมาขายเป็นลูกโซ่ ยกตัวอย่างที่บริษัทของผม กว่าจะรับพนักงานเข้ามาซักคน ต้องคัดเลือกจาก หลายๆ ปัจจัย ทั้ง วุฒิการศึกษา คุณสมบัติส่วนตัว ความสามารถทางภาษา คอมพิวเตอร์ และ ทัศนคติต่อการทำงาน ท่ามกลางอคติของคนในสังคม ไหนจะต้องสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ ฯลฯ อีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการหลอกลวงคนเข้าไปทำงานคือ ให้ทำสัญญาจ้างระบุค่าตอบแทน สวัสดิการ ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดครับ รวมทั้งการทำ ลงทะเบียนทางด้านภาษี ด้านประกันสังคม และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ เป็นเครื่องรับรองได้ว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างงาน ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นปกติสามัญของการทำงานบริษัทที่ต้องมีทำสัญญาจ้างก่อนเข้าไปทำงาน ดังนั้นถ้าบริษัทไหนจะจ้างงานคุณเป็นตำแหน่งใดก็ตาม ถ้าไม่มีสัญญาจ้างงานที่ระบุเรื่องค่าตอบแทนอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยครับว่าอาจจะเป็นการหลอกลวง โดยตัวเนื้อแท้แล้วการประกันชีวิตและประกันภัยนั้นถือเป็นสินค้าที่ดี ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย เป็นการสร้างแหล่งเงินออมระยะยาวให้กับระบบเศรษฐกิจ พร้อมกับสร้างความมั่นคงให้กับคนในสังคม แต่ตอนนี้ที่มีปัญหาอยู่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นและคิดว่าในอนาคตทุกอย่างน่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะตอนนี้ภาครัฐเริ่มเอาจริงเอาจังกับธุรกิจประกันมากขึ้นแล้ว
จากคุณ :
คนประกัน
- [
29 ก.ย. 50 13:34:42
A:202.91.18.192 X: TicketID:014804
]
|
|
|