Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี ตอนที่ 48 ชีวิตของ “นายด้อง” ขุนพลนักขายแห่ง Univac

    จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี  ตอนที่ 48 ชีวิตของ “นายด้อง” ขุน

    พลนักขายแห่ง Univac





    บทนำ




    วันหนึ่ง ผมได้เจอกับ “คุณอมร” หลังจากที่ไม่ได้เจอกันมา

    นาน ตั้งแต่ผมลาออกจากซัมมิทคอมพิวเตอร์เมื่อปี 1985




    “คุณอมร”  เป็นเจ้านายเก่าของผม  ซึ่งเราได้ต่อสู้กันมาใน

    วงการขายคอมพิวเตอร์ในระดับเมนเฟรม  ท่านเป็นนัก

    ต่อสู้คนหนึ่ง  ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในวงการคอมพิวเตอร์  

    ใน “สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (The Association of

    Thai Computer Industry)”
     หรือ “สมาคมอุตสาหกรรม

    เทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ)"
    ในปัจจุบัน




    เราได้คุยกันอย่างสนุกสนานถึงเรื่องเก่าๆ ที่เราต่างก็เผชิญ

    ชะตากรรมเดียวกันมาในอดีต




    “คุณอมร”  ถึงแม้ในอายุ 63  ก็ยังดูสดใสเหมือนเดิม  

    ทราบว่าท่านได้เลิกเหล้าและบุหรี่มาเกือบ10 ปีมาแล้ว  ทำ

    ให้สุขภาพของท่านยังดูแข็งแรง  และยิ่งได้ข่าวว่า ในตอน

    นี้  “ท่านกำลังไปรื้อฟื้นความหนุ่มอยู่ที่ราชภัฏฯ”  ทำเอา  

    ผมถึงกับทึ่งในความพยายาม และมุมานะของ “คุณ

    อมร”
    .....ซึ่งเป็น “นิสัยของคุณอมร” ซึ่งพวกเราที่เคยเป็น

    ลูกน้องของท่านทุกคนยอมรับกันว่า  หาไม่ได้ง่ายๆ นัก

    สำหรับผู้บริหารที่เป็น “นักสู้...ที่ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต”

    ผู้หนึ่ง




    ในตอนหนึ่งที่เราคุยกัน  คุณอมรก็เอ่ยขึ้นว่า




    “เฮ้ย   ด้อง....ตอนนี้พี่กำลังเขียนเรื่องการขาย

    คอมพิวเตอร์อยู่ในห้องสีลม พันทิบดอทคอม  นายช่วยพี่

    สักสองสามตอนได้ไหม  เพราะในช่วงชีวิตหนึ่งของนาย  

    ถือได้ว่าเป็นชีวิตที่สำคัญสำหรับ “ซัมมิท คอมพิวเตอร์”..

    และยังจะได้ช่วยให้น้องๆ ในห้องสีลมเขาจะได้รู้ว่า “ใน

    อดีต..เราขายคอมพิวเตอร์กันอย่างไร”




    ผมบอกพี่อมรว่า  ผมไม่ได้เป็นนักเขียนนะ  และผมก็ไม่รู้

    จะเอาอะไรมาเขียน  เพราะ เรื่องราวความทรงจำในอดีต

    นั้น  บางทีมันก็เก็บเอาไว้แค่ใน “ความทรงจำ” ของเรา

    เท่านั้น  มันถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นฟังไม่ได้ หรือจะนำมา

    เล่าสู่กันแบบเฮฮาปาร์ตี้ไม่ได้....บางเรื่องมันก็เป็นความ

    สุข  ความชื่นบาน  นึกขึ้นมาทีไร  ก็ได้แต่นั่งยิ้มทุกที  แต่

    บางกรณี  มันก็เป็นบทแสบ บทโศก  บทเศร้า  บทอัปยศ

    อดสู ที่แม้แต่ตัวเราเองก็ไม่อยากที่จะนึกถึงมัน




    พี่อมรบอก  “ไม่เป็นไร....เดี๋ยวจะส่งเรื่องที่พี่เขียนมาให้

    อ่านก่อน....แล้วถ้านึกอะไรออก  ก็ทยอยเขียนส่งมาให้พี่

    ก็แล้วกัน”
    จากนั้น  พี่อมรก็ได้ส่งเรื่อง “จากเซลส์แมนสู่

    เอ็มดี”
     ที่ท่านเขียนเพื่อเป็นวิทยาทานให้ชาวสีลมได้อ่าน

    กันมาตามลำดับให้ผมอ่านเป็นตอนๆ  




    ขอรับสารภาพว่า  “ข้อมูล” ที่พี่อมรเขียนนั้น  “แม่น”  

    จริงๆ  ไม่น่าเชื่อว่า  ทุกอย่างจะอยู่ในความทรงจำของพี่

    อมร ที่เขียนออกมาได้ครบถ้วน ได้อารมณ์เหมือนกับ

    เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน  ในบางครั้ง ยังมีภาพ  

    เอกสาร และอะไรต่อมิอะไรที่ผมยังไม่เคยเห็น  ถึงแม้จะ

    ทำงานกันอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลากว่า 5 ปี....




    มันทำให้ “รอยหยัก” ในสมองเมื่อ 30 ปีที่แล้วตอนที่อยู่ใน

    บริษัท ซัมมิท คอมพิวเตอร์ จำกัด  ค่อยรวมตัวกันเด่นชัด

    ขึ้นทุกที  ทุกครั้งที่ได้อ่านเรื่องราวของซัมมิทฯ ที่พี่อมร

    เขียน  มันก็เหมือนทำให้เราได้ย้อนกลับสู่อดีตอีกครั้ง    




    ผมจึงรีบเขียนบทความนี้ขึ้น  เพราะกลัว “รอยหยักแห่ง

    ความทรงจำ”
    มันจะหายไปเสียก่อน  ดังนั้น  ท่านที่ได้อ่าน

    เรื่อง “จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี” ของ “ลุงแอ็ด” ที่นำเสนอมา

    เป็นตอนๆ ในห้องสีลมนี้  อาจจะรู้สึกแปลกๆ อยู่บ้างที่การ

    ดำเนินเรื่อง  หรือการเล่าเรื่อง  จะไม่เป็นเช่น “ลุงแอ็ด” ได้

    เล่าไว้  เพราะมันเป็นเรื่องของคนที่ไม่เคยเขียนอะไรให้

    เป็นเรื่องยาวๆ และจริงๆ จังๆ แต่บทความนี้กลับทำให้ผม

    ลำดับความ  ทบทวนเรื่องเก่าได้ถึง 10 บทด้วยกัน.....และ

    ขออนุญาต เอ่ยนามพี่อมร ในที่นี้ว่า “คุณอมร”  อันเป็น

    นามที่พวกเราเรียกกันติดปาก  เหมือนอย่างที่ “คุณอมร”

    เรียกนายเก่าของท่านว่า “คุณธวัช”




    ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ในระยะนี้มีเพื่อนที่ไม่ชอบขี้หน้า

    คือ “โรคความจำเสื่อม” มานั่งคุยอยู่ด้วยทุกวัน และท่านผู้

    อ่านต้องทำใจยอมรับว่าเหตุการณ์นี้ย้อนยุคไปเกือบ 30 ปี

    (1973 - 1985) ตอนนั้น “ทองคำบาทละสี่ร้อย” เท่านั้น

    เรื่องราวจึงอาจมีตกหล่นและปนเปื้อนเลอะเทอะบ้าง แต่

    เนื้อหาสำคัญยังพอมีอยู่มาก  ไม่เชื่อก็ลองอ่านดู...อาจจะ

    ได้ประโยชน์หรือเก็บเกี่ยวอะไรได้บ้าง




    เริ่มต้นต้องขอไหว้มวย กราบคุณครู ผู้บอกวิทยายุทธก่อน

    ว่า ผลงานที่ผมถือเป็น “ครู” มาจากสามแหล่งด้วยกันคือ




    “มหาภารตะ




    ซุนวู




    และฮันนิบาล”





    เป็นเรื่องของ “การเอาชนะคนอื่นและการควบคุม

    สถานการณ์ “
     ที่ผมชอบทั้งสามเรื่อง




    ทั้งสามเป็นศาสตร์แห่งสงคราม ซึ่ง “กลยุทธ์ของการทหาร

    กับกลวิธีของการขาย”
    มีความคล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง

    คือ “การเล่นเชิงกับคนด้วยกัน”




    “ผมชอบกลยุทธ์ในมหาภารตะ” มหากาพย์ยิ่งใหญ่ของ

    อินเดียที่รจนาเป็นโศลกท่องจำกันต่อมาก่อนจะบันทึกด้วย

    ตัวหนังสือ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงร่วมพันปีก่อน

    พุทธกาล ของพี่น้องสองตระกูลจากบรรพบุรุษคนเดียวกัน

    ที่ขัดแย้งหวังจะเอาชัยเหนือกัน จนต้องยกพวกรวมเป็น

    กองทัพถึง 18 กองทัพ ทำสงครามต่อสู้เพื่อเอาชัยกันที่ทุ่ง

    กุรุเกษตร (ห่างจากเดลีไปทางเหนือราว 160 กม.) เป็น

    เวลา 18 วัน ซึ่งจบลงด้วยชีวิตคนนับล้านและก่อให้เกิด

    ภาวะข้าวยากหมากแพงไปทั่วอนุทวีป ตามมาด้วยกลียุคใน

    อินเดียต่อเนื่องจนมาถึงยุคของพระพุทธเจ้า




    “ที่ใดมีธรรม ที่นั่นย่อมมีชัย”




    “ผมนิยมแนวคิดของ...ซุนวู” นักการทหารชาวจีนโบราณ

    แห่งอาณาจักร “วู” ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เขียน

    ตำราพิชัยสงครามที่สำคัญ  แต่งานเขียนบางตอนกล่าว

    ถึง “รถรบแบบที่จีน” เริ่มมีใช้หลังจากนั้นอีกสองร้อยปี จึง

    มีผู้รู้บางท่านกล่าวว่าอาจเป็นผลงานของนักเขียนนิรนาม

    หรือของนักการทหารสองท่านต่างยุคกัน แต่โลกยอมรับ

    ผลงานของท่านให้เป็นเจ้าแห่งยุทธศาสตร์ของค่ายตะวัน

    ออก




    “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”




    “ผมศรัทธาในความไม่เหมือนใครของ “ฮันนิบาล บาร์กา”

    (Hannibal Barca พ.ศ. 296 - 360) รัฐบุรุษของชาวคา

    ร์เธจ(ตูนิเซีย) เชื้อสายฟินิเซียน ผู้นำทัพช้างอาฟริกาเหนือ

    ที่ตัวเล็กและฝึกใช้งานได้ ข้ามเทือกเขาแอลป์เข้าไป

    รุกรานถึงกรุงโรม และทำศึกอยู่ในอิตาลีโดยปราศจาก

    ความพ่ายแพ้ยาวนานกว่าสิบห้าปี โดยใช้กลยุทธ์และ

    ยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการรบ  โลกจึงยกย่องว่าเป็นเจ้าแห่ง

    ยุทธศาสตร์ของค่ายตะวันตก




    “หากเจอทางตัน ก็จงสร้างทางขึ้นมาเอง”




    ส่วนผมเพื่อให้พรรคพวกยอมรับและไม่บ่นว่า...“โง่”... เลย

    ต้องศึกษาผลงานของทั้งสามแหล่งที่กล่าวมา พร้อมกับ

    อ่าน




    "วิธีชนะมิตรและจูงใจคน" ของ เดล คาร์เนกี (Dale

    Carnegie 1888 - 1955) หรือ




    "ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก" เขียนโดย ฮว่อหยี่เจีย รวม

    ทั้ง




    “ราชันศาสตร์ วิถีการปกครองและผูกใจคน” เขียนโดย

    คุณมิโมโต้ สึชิเฮอิ (แบบอ่านไป-หลับไป)




    รวมทั้งผลงานของนักขายที่โดดเด่น สมัยยุคฟื้นฟู

    อุตสาหกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น ผลงานของ

    นาย โจ จีราด Joseph Samuel Gerard(1963 – 1978)

    นักขายรถยนต์ชาวอเมริกัน ผู้เป็นแม่แบบของยอดนักขาย

    ที่นักขายทั่วไปในยุคต่อมาใฝ่ฝันที่จะเป็นให้ได้อย่างเขา

    ด้วยผลงานที่ยังไม่มีใครลบสถิติได้คือยอดขายรถใหม่

    ป้ายแดงเฉลี่ยวันละหกคัน




    และเรียนรู้กลเม็ดเด็ดดวงในการเข้าหาผู้คน  จากยอดชาย

    นายโดบี้ Many Loves of Dobie Gillis(1959 – 1963)  

    โดย Max Shulman




    ซึ่ง “นักคิดนักขายชั้นนำ” เหล่านั้น ไม่ได้อาศัยเทคโนโลยี

    ทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อใช้ช่วยใน

    การขายเหมือนในสมัยนี้




    ส่วนงานของนักคิดไทยก็หาอ่านกันตามห้องสมุด ตั้งแต่

    หนังสือเล่มเบาบางอย่างเรื่อง




    “คนสิบสองราศี” ราคา 20 สตางค์ ของ “ธงดำ”




    งานของ เสถียรโกเศส-นาคะประทีป กรุณา-เรืองอุไร พล

    ตรี หลวงวิจิตรวาทการ




    จนถึงงานแปลชั้นเลิศอย่าง บทพระราชนิพนธ์ในพระบาท

    สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง หลับๆ ตื่นๆ (นิทรา

    ชาคริต) และหนังสืออื่นๆ ในตู้สมุดขนาดใหญ่ของแม่ผม

    ที่ส่วนใหญ่ครอบครัวในเมืองกรุงสมัยก่อนหากพ่อบ้านไม่

    กินเหล้าหรือเล่นหวยจนเงินหมดบ้านแล้ว ก็จะมีเงินเหลือ

    พอซื้อหาหนังสือมาเก็บไว้อ่านกันเพราะทีวีหรือวิดิโอยังไม่

    รุ่ง




    เมื่อเราอ่านหนังสือเราจะรู้ว่า “คนอื่นคิดอย่างไร” และหาก

    เราต่อยอดเพิ่มเติมจากแนวคิดที่เราอ่านมา มันจะจูงไปถึง

    คำถามที่ใหญ่กว่าคือ “การนำความคิดนั้นมาทำประโยชน์

    ได้อย่างไร “





    ตอนที่ Thomas J. Watson, Sr. ลาออกจาก NCR มาอยู่

    ที่ CTR(Computing Tabulating Recording

    Corporation ต่อมาเปลี่ยนเป็น IBM) ในปี 1914 เขาได้นำ

    คำขวัญคำหนึ่งติดตัวมาจาก NCR ด้วย คือ




    “ความคิด (THINK)”




    เป็นคำขวัญคำเดียวที่เขาใช้สร้าง IBM ให้ยิ่งใหญ่คับแก้ว

    เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยใช้การตลาด

    นำสินค้า




    ในช่วงเวลาสุดยอดของการตลาดแบบ IBM มีคนออก

    ปากล้อเลียนอย่างอิจฉาตาร้อนแต่แฝงด้วยความจริงว่า




    “แค่เอาป้าย IBM ผูกคอไปก็ขายได้แล้ว”




    น่าสนใจไหมครับว่า “ถ้าคุณจะชนกับยักษ์ใหญ่ที่เพียบ

    พร้อมอย่าง IBM คุณจะเอาชนะอย่างไร”





    บทความนี้ต้องการสื่อถึง “การขายที่ไม่มีรูปแบบตายตัว

    ยืดหยุ่นและคล่องแคล่ว (การขายแบบลูกทุ่ง)”
     กับการ

    ขายแบบมืออาชีพที่สนับสนุนโดยอาณาจักรการขายที่มั่น

    คงและมีการตลาดที่ดี และเพียงพร้อมไปด้วยคุณภาพเต็ม

    แก้วอย่าง “IBM”




    เรื่องราวทั้งหมดจะกล่าวถึง “การเข้ารุกรานทางการตลาด”

    ที่คืบหน้าเป็นขั้นตอนและกำชัยได้ในตอนต้นของการขาย

    แบบลูกทุ่ง และ “โดนโต้กลับอย่างรุนแรง” จากมืออาชีพที่

    สายป่านยาวและโยงใยดีกว่า จนการขายแบบลูกทุ่งต้อง

    ล่มสลายในเวลาต่อมาด้วยความผุพังที่เริ่มจากศึกภายใน

    และยุทธวิธีใหม่เอี่ยมจากศึกภายนอก




    มีการระบุชื่อของผู้เกี่ยวข้องหลายท่านเพื่อให้สมจริงสมจัง

    แต่จะไม่ระบุชื่อสกุลครบทุกท่าน ด้วยงานเขียนนี้นำมาจาก

    เรื่องที่เกิดขึ้นจริงทำให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องไม่สามารถ

    นำมาเขียนได้ทั้งหมด เอาแต่บางส่วนมาเติมสีใส่ไข่และ

    ตัดต่อเอาใหม่ ให้เนื้อหาสาระพอที่จะตีพิมพ์ในที่สาธารณะ

    ได้




    จึงต้องขออภัยท่านที่เกี่ยวข้องและพาดพิงโดยตั้งใจหรือ

    ไม่ตั้งใจไว้ด้วย หากมีการร้องเรียนใดๆ ทางเว็บมาสเตอร์

    ช่วยรีบลบออกให้ด้วย...ผมไม่อยากขึ้นศาลครับ




    ผมได้ฟาดฟันกับ IBM อย่างไร  และอะไรจึงทำให้ผมต้อง

    ระเห็ดออกมาจาก “ซัมมิท คอมพิวเตอร์” อย่างเจ็บปวดที่

    สุด  มันเป็นภาพของจริงที่ประวัติศาสตร์แห่งการขายระบบ

    คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ระบุไว้  แต่มันเป็นความจริงแน่นอน

    ครับ

    แก้ไขเมื่อ 09 มิ.ย. 51 13:55:57

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 9 มิ.ย. 51 13:54:21 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom