Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี ตอนที่ 50 แล้วมาฟัน...ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์กระทรวงเกษตร

    จากเซลส์แมนสู่เอ็มดี ตอนที่ 50 แล้วมาฟัน...ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์กระทรวงเกษตร






    หากินกับ 4th GL ได้ไม่นานเทคโนโลยีก็ตามทันกัน มี Tools ออกมาครบ

    ทุกเจ้าจึงต้องหาเงื่อนใหม่เอาชนะคู่แข่งให้ได้







    เราขลุกอยู่กับกองทุนฯสวนยาง  แต่สายตาจ้องเขม็งไปที่กระทรวงเกษตรที่

    มีงบประมาณมากกว่า และต้องการทรัพยากรด้านการประมวลผลที่ใหญ่กว่า

    มาก หรือต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบใหญ่กว่านั่นเอง







    ที่ผมใช้คำว่า “เรา” มาตลอดหลังจากอยู่ซัมมิทก็คือว่า การทำการขายของ

    เรามักจะทำเป็นทีมอย่างน้อยสองคน พนักงานขายและพนักงานสนับสนุน

    อาจมีช่างหรือนักวิเคราะห์ระบบไปด้วยในบางกรณี แต่ส่วนใหญ่ควงคู่สอง

    คน หรือไม่ผมก็ต้องลุยเดี่ยวซะละมากกว่า ด้วยไม่มีใครอยากนั่งรถที่ผมเป็น

    ผู้ขับ    







    เราค่อยๆ คืบคลานเข้าไปยังกระทรวงเกษตรอย่างช้าๆ แต่หนักแน่น พบ

    ตั้งแต่คนในศูนย์คอมพิวเตอร์จนถึงท่านปลัดกระทรวง ล้วงความต้องการ

    ของกระทรวงฯ ได้ของแท้บ้าง ลวงบ้างเพราะบางท่านยังสนิทอยู่กับผู้ขาย

    เดิม  เขาจึงปล่อยข่าวลวงเราให้ไขว้เขว







    เราสู้ครับ... ทนทำความดีเอาชนะความไม่ดีของตนเองที่ไม่ให้ใครเห็นบ่อย

    นัก แล้วก็มาถึงจุดแตกหัก







    เราพบว่ากระทรวงฯใช้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาเป็นที่ปรึกษา เราจึงหา

    ทางอ้อมแอบไปให้ข้อมูลที่ดีๆ แก่บรรดาที่ปรึกษาทั้งหลาย  และทำตัวให้น่า

    รักเหมือนเป็นนักวิชาการชั้นดี







    ครับลืมบอกไปตอนนั้นเรามีทีมสนับสนุนการขายที่ไม่น้อยหน้าใคร จบโท

    จากนอกหลายคนเอ่ยนามแล้วจะสะดุ้ง ไม่เอ่ยดีกว่าเดี๋ยวนอนไม่หลับเพราะ

    ตอนนี้เป็นใหญ่เป็นโตกันหมดแล้ว ดังนั้นทีมสนับสนุนจึงพอจะคุยภาษาเดียว

    กับพวกที่ปรึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยได้







    สมัยนั้นประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่ดีนัก เครื่องคอมฯขนาด

    ใหญ่วางเต็มร้อยตารางเมตรยังสู้ Note Book ที่วางเต็มหน้าตักสมัยนี้ไม่ได้

    เลย และจุดที่ทีมเรามองว่าเป็นโอกาสเอาชนะคนอื่นคือ   “การทดสอบความ

    สามารถของระบบเครื่องคอมฯที่เสนอ (Benchmark Test)”







    ครานี้กระทรวงเกษตรเลือกการทำงานที่กินแรงเครื่องคอมฯอย่างมาก เป็น

    งาน [u]“คำนวณไขว้ตาราง 5,000 คูณ 7,000”
    โดยใช้เทคนิคที่นักคณิตศาสตร์

    รู้จักกันดีคือ “Linear Programming” แต่นักคอมพิวเตอร์กลัวกันนักเพราะ

    หากเครื่องคอมฯไม่แน่จริงต้องดับกันไปข้างหนึ่ง ผลออกมาจะเห็นชัดเจนว่า

    เครื่องคอมฯ และทีมงานสนับสนุนการใช้งานของใครดีกว่ากัน







    คู่แข่งบางรายวิ่งเต้นให้เปลี่ยนแบบการทดสอบ บางรายขอให้ลดขนาด

    ตารางลง แต่ทางเราสนับสนุนเพราะกระทรวงฯ ควรได้ของดี







    “เพื่อชาติเรายินดีเสนอของดีให้ อย่ากลัว....ลุยได้เลย”  เรากระซิบบอกที่

    ปรึกษาบางท่านเช่นนั้น







    แล้วเราก็เป่าข่าวทุกวันจนทุกคนรู้สึกว่า “การทดสอบต้องใช้ตารางขนาด

    ใหญ่แน่ๆ ไม่อาจเปลี่ยนได้”








    ดังนั้นตอนประมูลคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ออกมาก็เป็นตามนั้น แต่เจ้าของ

    ตำแหน่งเดิมหาทางใส่เงื่อนไขเพื่อปิดกั้น “โดยระบุให้ผู้ขายที่จะเข้าประมูล

    ต้องมีประสบการณ์งานราชการ และผลงานติดตั้งระบบเครื่องคอมฯขนาด

    ใหญ่”
    .....ไว้ด้วย







    เราเกือบหลุดประเด็น ต้องอาศัยการตีความว่า “เป็นผลงานของผู้ผลิตเครื่อง

    คอมฯ ที่เรานำมาเสนอ (หมายถึงของ Univac International) ไม่ใช่ของ

    บริษัทซัมมิท คอมพิวเตอร์”








    หลบไปหลบมาอยู่หลายตลบ และต้องไปขอเอกสารรับรองจากเมืองนอกให้

    ทูตประทับตรามาเป็นหลักฐาน จนกระทรวงฯ ยอมรับและชี้แจงกลับมา

    ว่า “ยอมให้ใช้ได้”  







    ยกแรกเรื่องวิธีการทดสอบและยกสองเรื่องเงื่อนไขผ่านไปแล้ว เจ็บระบมกัน

    ไปทั่ว







    ยกที่สามทดสอบจริง ทุกคนได้ข้อมูลทดสอบจากกระทรวงฯ เท่ากัน เป็น

    แฟ้มข้อมูลแบบ EBCDIC มีใช้เฉพาะเครื่อง Mainframe ของ IBM บันทึกลง

    เทปมาให้ แต่คนอื่นอ่านเทปไม่ออกต้องออกแรงทะเลาะกันอีกหนึ่งยก  ให้

    บันทึกเป็น ASCII กว่าจะยอมความกันได้เล่นเอาเหงื่อตก







    ยกนี้กินเวลาคนอื่น แต่ IBM แอบทดสอบล่วงหน้าไปแล้วที่ศูนย์ฮ่องกง

    CDC โดยสนามม้าไปทดสอบที่ศูนย์ใหญ่ในอเมริกา ส่วนเจ้าอื่นป้อแป้อยู่

    ไม่รู้ว่าจะสู้หรือถอย







    ซัมมิทฯ เราเต็มที่เลยครับทดสอบมันที่บริษัทฯนั่นแหละไปไหนไม่รอด

    ความจริงแล้วเราค่อนข้างมั่นใจในข้อได้เปรียบจุดนี้ว่าเครื่อง UNIVAC และพี่

    น้องของมันออกแบบมาใช้งานด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งไม่เกินเลย







    หลังจากเราถอดเทปข้อมูลที่มีปมดักไว้มากมายออกจนหมด และสอบทาน

    กับรายงานที่กระทรวงฯ พิมพ์มาให้พร้อมกับเทปว่า ถูกต้องดีแล้ว ก็เริ่มลุย

    ผลออกมา..."โอ้แม่เจ้า  พระเจ้าช่วยอะไรอย่างนั้น ใช้เวลาเกือบ 24 ชั่วโมง

    เลยครับ"








    ทั้งทีมรู้เข้าแทบลมใส่ เครื่องคอมฯระดับที่ NASA ใช้ส่งจรวดไปดวงจันทร์นี่

    นะ ทำการคำนวณไขว้ตารางแค่นี้กินเวลาเป็นวัน ต้องมีอะไรผิดพลาดแน่ๆ







    ทีมงานต้องกินข้าวห่อ ตอนนั้นยังไม่มี Macdonald หรือ Pizza ข้าวกล่องยัง

    ไม่มีเลย กลับบ้านไม่ได้ต้องลุยหาสาเหตุกันเต็มวัน (แต่ไม่เต็มคืนเพราะ

    แอบไปกินเหล้าตีสนุ๊กฯ กันบ้าง) e-mail ก็ไม่มีต้องนอนรอเวลาโทรคุยกับ

    ทีมที่อเมริกา







    พวกพนักงานขายก็ไม่อยู่นิ่ง  วิ่งหาข้อมูลคู่แข่งกันให้ควักและกรองข่าวจน

    แน่ใจจึงใจชื้นขึ้นบ้างว่าเรายังไม่เลวนัก







    มีข้อมูลจากอเมริกาว่า CDC ใช้เวลาไป 40 ชั่วโมง ส่วนนักสอดรู้จากฮ่องกง

    บอกมาว่า IBM เวลาเยี่ยมแค่ 12 ชั่วโมง เราจึงเอาเวลาของ IBM มาพูดให้

    ทีมสนับสนุนฟังเป็นการข่มขู่กลายๆ แล้วเก็บเรื่องเวลาของ CDC ไว้

    ก่อนบอกว่ายังไม่รู้







    “ทีมของเราจึงบอก....ขอสู้ตาย”  คือวิธีการทำให้ “Team work”  โดยไม

    ต้องใช้ตำราจากที่ไหน







    ข้อมูลผลการทดสอบของเราทำในเมืองไทยที่ศูนย์ของเราเอง จึงปิดได้สนิท

    คู่แข่งไม่รู้ แต่ที่เมืองนอกเป็นศูนย์เปิดทั่วไปข้อมูลจึงหลุดออกมาได้ และจะ

    ลองผิดลองถูกอย่างของเราเองไม่ได้ครับ เพราะทางศูนย์เมืองนอกเขาคิด

    ค่าใช้จ่ายกันเป็นชั่วโมงแล้วตั้งยอดค้างจ่ายกันไว้แบบ Cost center จึงเป็น

    ค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ในการคำนวณราคาประมูล







    ส่วนของเราเป็นเครื่องซื้อครับ.....ใช้ได้ทั้งวัน และฟรี....(เพราะเป็นของ

    ซัมมิทฯ เอง)







    เราหาทางแก้ที่ต้นเหตุอยู่สองวัน  .....เวลาดีขึ้นมาที่ 14 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าดี

    มากแล้ว แต่ข่าวจาก CDC แว่วมาว่าทำเวลาดีขึ้นมาก จึงทำให้ทีมสนับสนุน

    ซึ่งยังคิดว่าอาจทำได้ดีกว่านี้อีก ต้องดิ้นรนพยายามทำงานต่อไป







    “ทีมที่สู้ด้วยใจกับทีมที่ทำตามสั่ง” นั้นให้ผลต่างกันอย่างเห็นชัด







    พวกเรากินนอนด้วยกัน ปวดหัวตัวร้อน โดนยุงกัด โดนนายด่าแล้วแอบมาชม

    ทีหลังพอๆ กัน  ทั้งพนักงานขาย ช่าง สนับสนุน ธุรการ บริหารและทีม Out

    source เรียกว่าทั้งบริษัทจดจ่ออยู่กับงานนี้ จากค่ำจนเช้าแล้วค่ำอีก  ทุกคน

    อยู่ด้วยใจไม่มีใครบังคับและไม่ใช่ทำตามหน้าที่ แต่เอาจริงหวังประกาศ

    ศักดิ์ศรีของผู้ชนะ







    วันประกาศผลมาถึง IBM ซึ่งน่าจะทำได้ดีกว่า 12 ชั่วโมง กลับเสนอเครื่อง

    คอมฯที่ใหญ่ขึ้นและเวลาเท่ากับที่เราทราบคือ 12 ชั่วโมง







    ส่วน CDC เสนอเครื่องคอมฯ ตามข้อกำหนด เวลาดีขึ้นที่ 20 ชั่วโมง ราคา

    ถูกกว่า IBM







    ส่วนเราอยู่ที่ 4 ชั่วโมงครับ..... ของจริง ด้วยเครื่องคอมฯเท่าที่กำหนดตาม

    คุณสมบัติของกระทรวงฯ







    ความจริงเราทำได้ครั้งสุดท้ายดีที่สุด 3 ชั่วโมงกว่า แต่เราเอาผลรองสุดท้าย

    มาเสนอประมูล ด้วยเหตุผลง่ายๆ แต่ยุ่งยากในการปฏิบัติคือ “การตรวจรับ”







    หากเวลาส่งมอบทำการทดสอบไม่ได้ตามที่เสนอก็ขาดทั้งพวงสูญพันธ์เลย

    ต้องขยักไว้บ้างให้ทีมงานได้เบาตัว







    ส่วน IBM ลูกเล่นตามเคย  เสนอสามราคาแยกเป็นสามแบบคือ ถูกตามต้อง

    การราคาพอควร ผลไม่ดี







    อีกอันเครื่องคอมฯใหญ่กว่าราคาสูง ผลดี และอีกซองเป็นเครื่องคอมฯใช้

    แล้วปรับปรุงสภาพเหมือนใหม่ ผลดี ราคาถูก วิธีเสนอแบบตำราฝรั่งนี้ IBM

    ชอบมาก  แต่ลูกค้าเป็นอัน “งง” มาก







    ต้องให้พนักงานขายคนที่เสนอมาชี้แจงว่าราคารวมอยู่ตรงไหนและแยกแยะ

    อย่างไร พนักงานขายเองก็ก๊งไปเหมือนกันเพราะลอกมาจากใบเบิลไม่ได้

    คิดเองอธิบายตกหล่นตลอด ปวดหัวอย่างมากทั้งลูกค้าและเราที่ต้องแอบหา

    ข้อผิดของ IBM แล้วชี้ให้ลูกค้าเห็นจะๆ  







    งานนี้มึนตึ๊บมาก จนบางครั้ง ยาเม็ดอย่างพาราก็เอาไม่อยู่ ต้องชวนกันไป

    คลายเครียดที่ “กาแลคซี่” ข้างวัดหัวลำโพง ตอนนั้น J2 (เจ้าพระยาสอง) ยัง

    ไม่มี







    "นายด้อง"

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 21 มิ.ย. 51 15:51:26 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom