Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    เห็นมีหลายกระทู้ถามเรื่องนำเข้า-ส่งออก เลยเอาข้อมูลมาฝากครับ

    เห็นมีหลายกระทู้มีการสอบถามเรื่องนำเข้า-ส่งออกบ้าง เอกสารที่ใช้บ้าง
    ขั้นตอนต่างๆบ้าง พอดีนึกขึ้นได้ว่ามีส่วนข้อมูลตรงนี้นิดหน่อย ที่อาจจะพอทำให้ท่านที่สนใจในข้อมูลด้านนี้ มองเห็นภาพรวมในสิ่งที่ท่านกำลังสนใจอยู่ เลยนำมาเสนอให้พิจารณาครับ

    ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่เคยทำงานด้านนำเข้า-ส่งออกน่ะครับ แต่พอมีความรู้อยู่บ้าง(เท่าหางอึ่ง) ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ

    ขั้นตอนการดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้า
    1. เมื่อเครื่องบินที่ทำการบรรทุกสินค้ามาถึงสนามบินสุวรรณภูมิเรียบร้อยแล้ว ทางสายการบินนั้นๆ จะทำการบันทึกข้อมูลสินค้าที่ถูกบรรทุกมากับเที่ยวบินลำนั้นๆ ส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

    2. ในส่วนของผู้นำเข้าสินค้านั้น ก่อนที่เครื่องบินจะมาถึงสนามบิน ผู้นำเข้าสินค้าจะได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้ส่งออกจากต่างประเทศ ว่า ได้ทำการส่งสินค้าขึ้นเครื่องแล้ว พร้อมกับทำการส่งแฟกซ์ Air Waybill ให้กับผู้นำเข้าสินค้า

    3. เมื่อผู้นำเข้าสินค้าได้รับสำเนา Air Waybill จากผู้ส่งออกจากต่างประเทศแล้ว จะทำการส่งแฟกซ์ Air Waybill ต่อไปยังตัวแทนออกของที่ใช้บริการอยู่ หรืออาจจะโทรแจ้งหมายเลข Air Waybill ให้กับตัวแทนออกของที่ใช้บริการอยู่ก็ได้ ซึ่ง ณ จุดนี้ก็จะทำให้ตัวแทนออกของสามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าดังกล่าวใช้บริการกับ Freight Forwarder อะไร และสามารถโทรตรวจสอบกับ Freight Forwarder นั้นๆได้ว่า เที่ยวบินดังกล่าวมาถึงสนามบินแล้วหรือยัง ถ้ายังจะมาถึงสนามบินเวลาเท่าใด หากเที่ยวบินดังกล่าวมาถึงสนามบินเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะโทรนัดเวลาเพื่อทำการขอรับใบ D/O (Delivery Order) จาก Freight Forwarder นั้นๆ

    4. ตัวแทนออกของทำการขอรับใบ D/O (Delivery Order) และใบ Air Waybill จาก Freight Forwarder รวมถึงทำการชำระค่า Freight ให้กับ Freight Forwarder (ในกรณีที่มีการเก็บเงินปลายทางหรือผู้นำเข้าสินค้าไม่มี Contact กับ Freight Forwarder) ณ สถานที่ทำการของ Freight Forwarder ซึ่งตั้งทำการอยู่บริเวณ อาคาร A1-A4 ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

    5. ตัวแทนออกของจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า โดยวิธีผ่านระบบ Manual , EDI หรือระบบ Paperless ซึ่งเมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนออกของจะทำการพิมพ์ใบขนสินค้าออกมาเพื่อดำเนินพิธีการต่อไปได้ทันที อีกทั้งเมื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้าออกมาเรียบร้อยแล้วก็จะทำให้ตัวแทนออกของสามารถทราบได้ทันทีว่า สินค้านำเข้าดังกล่าว จะต้องผ่านพิธีการแบบ Red Line หรือ แบบ Green Line (ในกรณีที่ต้องผ่านพิธีการแบบ Red Line ตัวแทนออกของจะต้องทำการพบเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเพื่อประเมินภาษีนำเข้า เพื่อให้ทราบยอดภาษีที่จะต้องชำระ หรือถ้าเป็นการผ่านพิธีการแบบ Green Line ตัวแทนออกของสามารถแจ้งยอดภาษีให้กับผู้นำเข้าสินค้าทราบได้ทันที เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป)

    6. ตัวแทนออกของแจ้งยอดภาษีให้กับผู้นำเข้าสินค้าทราบ เพื่อโอนเงินค่าภาษี หรือ ทำแคชเชียร์เช็ค ให้กับตัวแทนออกของนำไปชำระหรือโอนเงินเข้าบัญชีกรมศุลกากรโดยไม่ต้องผ่านตัวแทนออกของก็ได้

    7. ตัวแทนออกของทำการชำระค่าภาษีอากรที่อาคารที่ทำการของกรมศุลกากร ชั้น 2 เมื่อชำระค่าภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนออกของจะลงมายังชั้น 1 อาคารเดียวกันนี้ เพื่อทำการตัดบัญชีสินค้า (Manifest) เมื่อทำการตัดบัญชีสินค้าเรียบร้อยแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะทำการพิมพ์ใบ Customs Permit ออกมาให้จำนวน 3 ใบ ซึ่งในใบ Customs Permit จะระบุถึงรายละเอียดในการดำเนินพิธีการต่อไปทั้งหมด ได้แก่ การระบุชื่อนายตรวจว่าชื่ออะไร ใบ Customs Permit ถูกพิมพ์เมื่อเวลาใด โดยใคร อีกทั้งยังระบุถึงสถานการณ์สั่งตรวจด้วยว่า ให้ยกเว้นการตรวจ หรือว่า ทำการเปิดตรวจ

    ในกรณีที่ใบ Customs Permit ระบุว่าให้ยกเว้นการตรวจ ตัวแทนออกของจะนำใบขนสินค้า, ใบ Invoice, ใบ Packing List, ใบ Air Waybill และใบ Customs Permit เอาไปยื่นต่อให้นายตรวจที่อาคารกรมศุลกากร ชั้น 1 เพื่อดำเนินการตรวจปล่อยสินค้า จากนั้น นำใบ D/O และใบ Air Waybill พร้อมทั้งบัตรประชาชน ไปชำระค่าคลังสินค้า จากนั้นก็สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของกรมศุลกากรได้ทันที

    ในกรณีที่ใบ Customs Permit ระบุว่าให้ทำการเปิดตรวจ ตัวแทนออกของจะต้องนำใบ D/O และใบ Air Waybill พร้อมทั้งบัตรประชาชน ไปทำการชำระค่าคลังสินค้า และทำการรับสินค้ามาทำการตรวจปล่อยที่ ตึก CI (Customs Import Inspector) โดยใช้เอกสารเหมือนกับกรณียกเว้นการตรวจคือ ใบขนสินค้า, ใบ Invoice, ใบ Packing List, ใบ Air Waybill และใบ Customs Permit หลังจากทำการเปิดตรวจสินค้าเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรพบว่า มีการสำแดงพิกัดสินค้าเป็นเท็จ ตัวแทนออกของจะต้องนำสินค้าส่งเก็บเข้าคลังตามเดิม แล้วนำใบจับสินค้าไปทำการประเมินอากรที่ตึกกรมศุลกากร เมื่อทำการประเมินอากรเรียบร้อยแล้ว ตัวแทนออกของต้องนำใบประเมินอากรไปพบนิติกรของกรมศุลกากรเพื่อทำการเปรียบเทียบปรับและพิจารณาคดี จากนั้นจึงไปชำระค่าภาษีอากรอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทำการชำระค่าภาษีอากรเรียบร้อยแล้ว จึงนำเอกสารทั้งหมดข้างต้นไปทำการตรวจปล่อยที่อาคาร CI (Customs Import Inspector) จากนั้นเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงไปทำการเบิกสินค้า ณ คลังสินค้าแล้วนำสินค้าออกจากการอารักขาของกรมศุลกากรได้

    จากคุณ : แตงโมสีเหลือง - [ 13 ก.ค. 51 13:31:31 A:210.86.207.192 X: TicketID:144312 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom