Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    "ลุงแอ็ด" เอามาฝาก.....เรื่องของเงิน

    "เรื่องของเงิน"  โดย นพ.วิธาน  ฐานะวุฒน์





    ขอขอบพระคุณเจ้าของงานเขียนที่มีคุณประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่าน





    เมื่อคืนวันพฤหัสที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมานี้เอง ผมได้มีโอกาสชม

    รายการของโอปราห์ วินฟรีย์ ทางเคเบิ้ลทีวี ในครั้งนี้เธอได้เชิญนักการเงิน

    ชื่อดังท่านหนึ่งซึ่งผมต้องขออภัยอย่างสูงที่จำชื่อของเธอไม่ได้ โอปราห์เชิญ

    เธอให้มาพูดถึงเรื่อง “วิธีจัดการกับเงิน” ที่คนอเมริกันควรจะต้อง “ปรับ

    เปลี่ยน”
    เพื่อเผชิญหน้าและรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังตกต่ำ

    ย่ำแย่อยู่ในขณะนี้




    เป็นสภาวะที่คนอเมริกันไม่เคยต้องเจอมาก่อนเป็นเวลานานมากแล้ว





    นักการเงินท่านนี้ได้แนะนำหลายเรื่องหลายวิธีเกี่ยวกับการใช้เงิน โดยเฉพาะ

    เรื่องการเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ค่อนข้างน่าตกใจมากที่คนอเมริกันส่วนใหญ่จะ

    มีบัตรเครดิตกันคนละหลายๆ ใบ ในรายการนี้มีผู้ร่วมรายการท่านหนึ่งที่มี

    บัตรเครดิตมากถึงยี่สิบสามใบ และที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ เจ้าของบัตรไม่

    เคยรู้ว่าตัวเองเป็นหนี้บัตรเครดิตเท่าไรแน่





    ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะ “ความไม่รู้ตัว” ในการใช้เงิน ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายไม่

    น้อยเลย เพราะความสามารถในการเป็นอิสระในทางการเงินนั้นไม่ได้อยู่ที่

    การหาเงินได้มาก แต่อยู่ที่ความสามารถในการเก็บออมเงินซึ่งจะต้อง

    อาศัย “ความรู้ตัว” ในการใช้เงิน





    รายการของโอปราห์ในวันนั้น ยังได้แนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติที่พอจะทำได้จริง

    สามอย่าง ครับ หนึ่ง คือให้ทดลองไม่ใช้เงินเลยเป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง คำ

    ว่า “ไม่ใช้เงิน” ในที่นี้หมายถึง “ไม่ใช้จ่าย” อะไรเลยเป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง

    ติดต่อกัน ไม่ใช่ว่าไม่ใช้เงินแล้วไปใช้บัตรเครดิตแทนนะครับ





    สอง ให้ลองไม่ใช้บัตรเครดิตเลยเป็นเวลาเจ็ดวันติดต่อกัน เพราะอย่างที่

    เรียนข้างต้นมาแล้ว เธอพบว่า คนอเมริกันใช้บัตรเครดิตกับแบบเป็นอัตโนมัติ

    ที่ไม่รู้ตัวเยอะมาก การทดลองไม่ใช้บัตรเครดิตเป็นเวลาเจ็ดวันจึงเป็นอีกทาง

    หนึ่งที่จะช่วยทำให้เรากลับมา “รู้ตัว” ได้มากขึ้นในเวลาที่จำเป็นจะต้องใช้

    จริงๆ





    และสาม ให้ลองไม่กินอาหารในร้านหรูเป็นเวลาหนึ่งเดือน เพราะเธอมองเห็น

    ว่าคนอเมริกัน โดยเฉพาะคนชั้นกลางนั้นเสียค่าใช้จ่ายไปกับการกินอาหาร

    นอกบ้านที่หรูหราฟุ่มเฟือยบ่อยครั้งมากเกินไป และอาจจะไม่เหมาะสมกับ

    สภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ การไม่กินอาหารนอกบ้านจะ

    ช่วยทำให้ประหยัดรายจ่ายให้กับครอบครัวได้เยอะมาก





    จากนั้นเธอได้ตั้งคำถามกับผู้เข้าร่วมรายการว่า มีใครที่คิดว่าตัวเองจะทำไม่

    ได้ในข้อไหนบ้าง มีคนยกมือหลายคน และส่วนใหญ่จะบอกว่า ข้อแรก

    ที่ “ให้ลองไม่ใช้เงิน” เลยเป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ข้อนี้หลายคนรู้สึกว่าตัวเอง

    จะทำไม่ได้





    ในขณะที่กำลังดูรายการนี้อยู่ ผมก็ลองนึกถึงตัวผมเองบ้าง อืมมม จริง ข้อ

    แรกที่ไม่ให้ใช้เงินเลยนี้ออกจะไม่ง่ายเลยจริงๆ ด้วยนะ สำหรับข้อสอง เรื่อง

    การไม่ใช้บัตรเครดิตเจ็ดวันก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากอะไรสำหรับผม เพราะผมมี

    บัตรเครดิตใบเดียวและจะใช้เฉพาะตอนที่สั่งหนังสือจากต่างประเทศมาอ่าน

    เท่านั้น นอกจากนั้นก็แทบจะไม่ได้ใช้เลย ผมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เรียกว่า

    ผมไม่ต้องใช้บัตรเครดิตเป็นเดือนๆ เลยก็ยังทำได้สบายๆ





    ส่วนข้อสาม เรื่องไม่กินข้าวในร้านหรูๆ เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มนี้ก็ไม่ยาก

    ครับ เพราะในช่วงหลังๆ นี้ ผมและครอบครัวก็ไม่ชอบที่จะออกไปรับประทาน

    อาหารหรูหรานอกบ้านกันอยู่แล้ว





    ที่ดูจะยากก็คือข้อแรกให้ลองไม่ใช้เงินไม่ใช้จ่ายเลยยี่สิบสี่ชั่วโมงนี้ อืมมม

    ผมรู้สึกเหมือนผู้เข้าร่วมหลายๆ ท่านในรายการของโอปราห์ที่ว่าอาจจะไม่

    ง่ายนัก แต่ผมก็พบว่า น่าทดลองทำดู





    วันรุ่งขึ้นเป็นวันศุกร์ ซึ่งตามปกติหลังจากที่ส่งลูกสาวไปโรงเรียนแล้วผมจะ

    ไปหาอาหารเช้าง่ายๆ รับประทานแล้วก็ไปนั่งร้านกาแฟ สั่งกาแฟมาดื่ม

    พร้อมๆ กับนั่งแช่เพื่ออ่านหนังสือเขียนหนังสือไปเรื่อยๆ จนเที่ยงวัน รับ

    ประทานอาหารเที่ยงแล้ว บางวันก็ใช้เวลาในช่วงบ่ายไปนวดแผนโบราณ

    สบายๆ แล้วค่อยกลับเข้ามาทำงานที่คลินิกในตอนบ่ายแก่ๆ จนถึงค่ำ แล้วก็

    ไม่ได้ออกไปไหน เมื่อเย็นก็มักจะเป็นอาหารง่ายๆ เช่นข้าวแกงหรือกับข้าวที่

    ซื้อมาจากร้านในตลาด





    เช้าวันนั้นผมนึกอยากจะทดลอง “ข้อแรก” ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินใน

    รายการของโอปราห์แนะนำดูว่า พอจะทำอะไรได้บ้างหรือไม่ แทนที่จะไปหา

    อาหารเช้ารับประทาน ผมก็ขับรถกลับเข้าบ้าน หาอาหารที่มีอยู่ในตู้เย็นมารับ

    ประทาน และเมื่อออกกำลังกายเรียบร้อยแล้วแทนที่จะออกไปนั่งร้านกาแฟ

    ร้านโปรดเหมือนเช่นเคย ผมก็นั่งทำงานที่บ้าน อ่านหนังสือเขียนหนังสือ เสริ

    ฟกาแฟตัวเองในบ้าน มื้อกลางวันก็ยังคงรับประทานที่บ้าน บ่ายและเย็นก็ยัง

    คงทำงานในบ้านสลับกับการออกไปเดินรอบๆ บ้านเป็นครั้งคราว มื้อเย็นซึ่ง

    เป็นมื้อเบาๆ ผมก็ยังพบว่า มีอาหารที่เก็บไว้ในบ้านยังเหลือพอรับประทาน

    ซึ่งผมก็พบว่า อืมมม ที่ผ่านมา ผมเก็บอาหารไว้เยอะมากและนึกขึ้นมาได้ว่า

    หลายครั้งหลายหนที่ผมเก็บอาหารไว้นานจนต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย





    อย่างไม่น่าเชื่อในวันนั้นก็เลยกลายเป็น “ครั้งแรกวันแรก” ที่ผมพบว่าผมไม่

    ได้ควักเงินออกจากกระเป๋าสตางค์เลยสักบาทเดียว





    เป็นความรู้สึกที่แปลกดีหลายอย่างครับ คือแน่นอนว่าปัจจัยหลายอย่างอาจ

    จะเอื้อพอดีว่า อาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นมีมากพอ ไม่ได้มีธุระที่จะต้องเดินทาง

    หรือจะต้องเป็นวันที่จะต้องจ่ายค่าโน่นค่านี่ เป็นวันที่ยังไม่ต้องการซื้อของใช้

    จำเป็นอะไร หรืออื่นๆ





    แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากเรื่องนี้ก็คือ หากว่าเราไม่ได้ทดลองตั้งใจดูว่าจะไม่

    ใช้เงินเลย ในวันนั้นผมก็อาจจะยังคงใช้เงินอยู่ อย่างน้อยก็ต้องจ่ายเป็นค่า

    อาหารเช้าค่าอาหารกลางวันและค่ากาแฟลาเต้แน่ๆ





    เงินที่ผมเหลือเก็บไว้ไม่ได้ใช้ในวันนั้นอาจจะไม่ใช่เงินจำนวนมากมายอะไร

    แต่จำนวนเงินไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ การทดลองทำแบบนี้ทำให้ผม “ตื่น

    รู้”
    กับเวลาที่จะต้องใช้เงินมากขึ้นไปจากเดิมมาก เพราะผมเคยเชื่อว่าตัวเอง

    ตื่นรู้ดีในระดับพอสมควรแล้วในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย เมื่อลองทำแบบ

    นี้ก็ยังพบว่า ที่จริงผมยังมี “จุดบอด” ในการใช้เงินอีกไม่น้อยเลย





    จากวันนั้นจนถึงวันที่เขียนบทความนี้ เป็นเวลาสองสัปดาห์พอดี แม้ว่าผมจะ

    ยังไม่สามารถทำได้แบบวันที่ไม่ใช้เงินได้อีก แต่ผมพบว่า “การหาโอกาส” ที่

    จะ “ไม่ใช้เงิน” ของผม ทำให้ผมกลับมา “มองเห็น” วิธีการใช้จ่ายของตัวเอง

    ได้มากขึ้นและสนุกสนานไม่น้อย เพราะตอนเย็นผมก็ได้ลองจดรายจ่ายทั้ง

    หมดในแต่ละวัน พบว่ามีอยู่อย่างน้อยสองสามครั้งที่ “เกือบจะ” ทำได้

    เหมือนกับเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มกราคม อีก





    ยืนยันว่าการทดลองเรื่องนี้ไม่ใช่ “การตระหนี่” นะครับแต่เป็นเรื่องที่ทำให้เรา

    ได้มองเห็นอะไรบางอย่าง ยกตัวอย่างง่ายๆ ในกรณีนี้ก็คือ ผมพบว่าผมซื้อ

    อาหารเก็บไว้ในตู้เย็นมากเกินไปและหลายครั้งต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

    เป็นต้น การทดลองจากรายการโอปราห์ในครั้งนี้จึงได้ทำให้ผมกลับมา “รู้

    ตัว”
    ที่กระเป๋าสตางค์ของผมได้ดีขึ้นไม่น้อย





    และผมคิดว่าการฝึกฝนเช่นนี้ก็น่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่คน

    ไทยกำลังต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้เช่นเดียวกันกระมังครับ





    นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์

    www.newheartnewlife.net

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 2 ก.พ. 52 10:29:28 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com