Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 11 ถ้ายังไม่ถูกฟ้อง...ต้องทำยังไง??

    ถ้ายังไม่ถูกฟ้อง...ต้องทำยังไง??



    สำหรับท่านที่เป็นหนี้ธุรกิจ  มีหนี้ประเภทเดียวหรือมีหนี้หลายประเภทก็ตาม  

    หากยังไม่ถูกเจ้านี้ชักใบแดงยื่นฟ้องก็คงแนะนำให้ไปเจรจาประนอมหนี้หรือ

    ปรับโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องเป็นราวกันล่ะครับ  แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะยุ่ง

    ยากและต้องใช้เวลามากกว่าหนี้ส่วนบุคคล  แต่เมื่อทำสำเร็จเรียบร้อยแล้ว  

    ธุรกิจของท่านก็จะได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้งหนึ่ง  รายละเอียดวิธีการได้พูดไป

    แล้วในช่วงต้นว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร  ส่วนเงื่อนไขการประนอมหนี้ที่จะ

    นำมาใช้  คงต้องพลิกไปอ่านบทท้ายๆ ของหนังสือครับ  รับรองว่าท่าน

    สามารถทำได้แน่นอน



    สำหรับท่านที่เป็นหนี้ส่วนบุคคล  กรณีเป็น  หนี้บัตรเครดิต  ละกัน

    .....ถ้าท่านไม่อยากถูกฟ้อง....



    มีทางเดียวครับ  คือจะต้องรีบไปติดต่อเจรจากับเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุด

    ขอเรียนว่า....ท่านไม่จำเป็นจะต้องหลบหน้าไปไหน

    ผมแนะนำให้ท่านกล้าๆ เป็นฝ่ายเดินเข้าไปติดต่อกับเจ้าหนี้ก่อนเลย  ตรงนี้

    สำคัญ....เพราะการที่เราเป็นฝ่ายติดต่อไปเองนั้น  สิ่งแรกที่จะได้รับคือความ

    รู้สึกหรือทัศนคติที่ดีจากเจ้าหนี้ทันที
     ลูกหนี้ไม่ได้หลบหน้าไปไหน  มีการ

    เจรจาติดต่อพูดคุยด้วย  ผมเชื่อว่าบรรยากาศการเจรจาจะเป็นประโยชน์จาก

    ท่านมากทีเดียว



    ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ  เมื่อท่านชิงลงมือเป็นฝ่ายติดต่อไปหาเจ้าหนี้เอง  

    แน่นอนที่สุด....เรื่องหนี้สินของท่านก็จะมีคนรู้เรื่องเพียง 2 คนเท่านั้น  ไม่

    ต้องเสี่ยงต่อการถูกทวงถามแบบสุดโหดกึ่งประจานอย่างที่ผมเขียนไว้แล้ว

    ในบทก่อนๆ
    เพราะว่าเจ้าหนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปตามจิกตามจี้อีกต่อไป



    สรุปว่า.....หลักง่ายๆ ของเจ้าหนี้ก็คือ  ลูกหนี้รายไหนเงียบหายไป  เจ้าหนี้จะ

    ใช้แผนหนึ่ง  คือกระบวนการทวงถามเร่งรัดแบบสุดๆ เพื่อให้มีการติดต่อ

    ชำระหนี้  และถ้าไม่เป็นผล  เจ้าหนี้ก็จะใช้แผนสอง  คือ  ส่งฟ้องให้มันรู้แล้ว

    รู้รอดไปเลย




    ทีนี้เมื่อท่านได้เปิดฉากเป็นฝ่ายติดต่อขอเจรจากับเจ้าหนี้ไปแล้ว  สิ่งสำคัญที่

    จะต้องรีบคิดรีบเตรียมการต่อไป  ก็คือ....ควรมีการเตรียมแนวทางการ

    ประนอมหนี้ให้ชัดเจนด้วย  จะผ่อนอย่างไร  จะจ่ายอย่างไร  คงต้องคิดเผื่อ

    ไว้เลย



    กรณีผ่อนหนี้ไม่ได้เลย.....ทำยังไง???

    ถ้าเป็นแบบนี้  ต้องไม่ไปตกปากรับคำเรื่องเงื่อนไขการชำระหนี้นะครับ  อย่า

    ไปผูกมัดตนเองทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ายังไงๆ ก็ทำไม่ได้  อะไรที่ทำไม่ได้ก็คือ

    ไม่ได้  ขืนไปรับปากมั่วๆ วันหลังจะหมดโอกาสเจรจาอีก



    ผมแนะนำให้เข้าไปพูดคุยกับเจ้าหนี้อย่างตรงไปตรงมา  ไปเล่าความจริงและ

    ขอร้องขอความเห็นใจให้โอกาสเราอีกหน่อย  จะออดอ้อนวิงวอนยังไงก็ทำ

    เต็มที่ไปเลยครับ  ทำยังไงก็ได้ให้เจ้าหนี้ใจอ่อนมากที่สุดและขอเวลาให้ได้

    มากที่สุด



    อย่างไรก็ตาม  ถ้าจะทำแค่นี้มันก็คงประวิงเรื่องไม่ได้นานเท่าไหร่นัก  ทางที่

    ดีถ้าเป็นไปได้  ท่านอาจจะต้องมีการเจียดเงินแบ่งไปจ่ายหนี้บ้างเล็กๆ

    น้อยๆ  ทำทีว่าจะตายอยู่แล้วแต่ก็ยังกัดฟันจ่ายหนี้อีก  มุขนี้ได้ใจเจ้าหนี้พอ

    สมควร  มีลูกหนี้บางรายพยายามหยอดจ่ายหนี้ 500 บาทบ้าง 1,000 บาท

    บ้าง  เดือนไหนมีก็จ่าย  เดือนไหนไม่มีก็ไม่จ่าย  เรียกว่า....แบ่งจ่ายให้บัญชี

    มีการเคลื่อนไหว  ไม่ใช่ปล่อยให้บัญชีตายสนิท  ยังสามารถอยู่ได้เป็นปีโดย

    ไม่ถูกฟ้องก็มีหลายราย

    ลองพิจารณาดูนะครับ  ว่าท่านพอจะมีกำลังทำได้แค่ไหน



    แนวทางนี้ผมไม่ได้รับประกันว่าจะประสบความสำเร็จทุกรายนะครับ  มันขึ้น

    อยู่กับข้อเท็จจริงหลายอย่าง  เช่น  หนี้รายนั้นๆ ค้างชำระมานานแค่ไหน

    แล้ว  หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะไปเจอเจ้าหนี้แบบไหน  ค่ายไทยหรือค่าย

    เทศ  ที่สำคัญแนวทางทำนองนี้มันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว  มันเป็น

    การประวิงเวลาเพื่อขอโอกาสหรือรอให้การหายใจหายคอตั้งหลักเท่านั้น

    เอง  หากจะแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จคงต้องมีการประนอมหนี้  ให้มันชัดเจนเท่า

    นั้น



    พอผ่อนหนี้ได้.....ควรทำยังไง???

    กรณีนี้  ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ดีกว่ามากครับ  มีทางเลือกมากกว่า  อยู่ที่เรา

    จะเลือกวิธีไหนในการแก้ปัญหา  บางคนแม้จะยอมผ่อนจ่ายหนี้ได้  ก็ยัง

    เลือกที่จะเล่นชั้นเล่นเชิงเตะถ่วงกับเจ้าหนี้ เรียกว่าใช้ความเขี้ยวอย่างเต็มที่  

    นี่ก็อีกแบบหนึ่ง



    แต่โดยหลักการ  เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้  หากพอมีความสามารถจ่ายหนี้

    ได้  ผมขอแนะนำให้ไปประนอมหนี้กับเจ้าหนี้เป็นทางการให้เสร็จเรื่องเสร็จ

    ราว  เป็นดีที่สุดครับ



    ส่วนท่านที่เป็น หนี้บ้านหรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ ผมมีคำแนะนำมากหน่อยดังนี้



    ย้ายแบงก์

    เป็นการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จสิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย  พูดง่ายๆว่า  ไปแจ้ง

    เกิดกับที่ใหม่ดีกว่า  ไหนๆ ที่เดิมก็มีปัญหาซะแล้ว  ซึ่งตอนนี้แทบทุกแบงก์

    ทุกสถาบันการเงินก็กำลังโปรโมทหาลูกค้ากู้บ้านกันอย่างเมามัน  ทั้งลด  ทั้ง

    แจก  ทั้งจับรางวัล  ดอกเบี้ยดอกหอยก็แสนจะถูกยั่วใจเหลือเกิน  มีโอกาส

    ย้ายได้ก็ควรรีบย้ายไปตายเอาดาบหน้าดีกว่าครับ



    แต่การย้ายแบงก์ในขณะที่ตนเองมีปัญหากับแบงก์เดิมนี้ก็คงไม่ง่ายนัก  ที่

    ใหม่เค้าก็กลัวว่าวันดีคืนดีอาจจะกลับกลายเป็นหนี้มีปัญหาอีกหรือเปล่า  ดัง

    นั้นการพิจารณาสินเชื่อในลักษณะนี้  จึงเข้มงวดมากกว่าลูกค้าปกติทั่วไปแน่

    นอน  โดยเฉพาะหลักแหล่งที่มาของรายได้ถือเป็นเรื่องใหญ่



    สำหรับวงเงินที่จะให้กู้  มากที่สุดไม่เกินกว่ายอดหนี้เงินต้นของที่เดิมเท่านั้น  

    ขอย้ำว่า  ไม่เกินกว่าหนี้เงินต้น  เพราะฉะนั้นต้องเตรียมเงินส่วนต่างไว้ด้วย  

    ใครคิดว่าย้ายแบงก์แล้วจะได้ไม่ต้องหาเงินเติม  หรือคิดว่าจะเหลือเงินนั้น  

    ขอให้เลิกคิดได้เลย  (ใครมีเส้นมีสาย  ไม่ควรเกรงใจนะครับ  วิธีไหนที่จะ

    ช่วยให้ย้ายได้เร็ว  ขอให้รีบๆ ทำเถอะ)



    ส่วนการเจรจากับเจ้าหนี้เดิม  อันนี้คงจะต้องใช้ฝีมือเจรจาต่อรองซักหน่อย  

    โดยเฉพาะส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระสะสมที่ถูกชาร์จแบบเต็มๆ ในอัตราผิด

    นัด  ลองต่อรองขอลดกันหน่อย  ทำได้ครับ....ไม่ต้องเกรงใจเจ้าหนี้  เพราะ

    ว่ากรณีชำระหนี้แบบนี้  เจ้าหนี้ชอบอยู่แล้ว



    เพิ่มเติมอีกนิดว่า  การย้ายแบงก์นั้น  จะต้องมีค่าใช้จ่ายอีกหลายรายการ  

    อาทิ

    - ค่าสำรวจหลักทรัพย์  ซึ่งคงไม่แพงนัก

    - ค่าธรรมเนียมเงินกู้ (เจ้าหนี้บางรายชาร์จส่วนนี้เป็นเงินกินเปล่า

    ด้วย)

    - ค่าจดจำนองหลักประกัน 1% ของวงเงินสินเชื่อ

    - ค่าเบี้ยประกันภัยหลักประกัน  และอื่นๆ




    ตัวสำคัญที่สุดซึ่งมักจะไม่ค่อยนึกถึงก็คือ  ค่าปรับในกรณีมีการชำระหนี้ปิด

    บัญชีก่อนกำหนด
     ซึ่งจะเขียนระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ว่า....ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้

    ปิดบัญชีก่อนกำหนด (ส่วนใหญ่ประมาณ 3 ปี)  จะต้องเสียค่าปรับต่างหาก

    (ประมาณ 2% ของวงเงินสินเชื่อที่กู้ยืมนั้น) ด้วย  ลองกลับไปเปิดอ่านดูนะ

    ครับ  เดี๋ยวถึงเวลาต้องชำระหนี้ปิดบัญชีจริงๆ จะมีปัญหาเตรียมเงินเตรียม

    ทองไม่พอก็จะยุ่งกันใหญ่  คิดเป็นเงินหลายหมื่นบาทเหมือนกัน



    เจรจาขอลดค่างวด

    สำหรับท่านที่ไม่พร้อมที่จะย้ายแบงก์  แต่จะผ่อนต่อไปก็ไม่สามารถผ่อนได้

    เท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา  ซึ่งอาจเกิดจากรายได้ลดลงกะทันหัน  

    หรืออะไรก็ตามแต่

    คนที่อยู่ในสภาพนี้มีเยอะครับ  เรียกว่าเป็นลูกหนี้ผ่อนชำระตรงมาตลอด  

    แล้ววันหนึ่งก็ต้องถูกสถานการณ์บีบให้กลายเป็นลูกหนี้มีปัญหาแบบไม่อยาก

    จะเป็น



    ใครตกอยู่ในสภาพอย่างนี้ ผมแนะนำให้รีบเข้าไปเจรจาเล่าความจริงและขอ

    ความเห็นใจจากเจ้าหนี้โดยด่วน  อย่าปล่อยให้ติดค้างเรื้อรังจนยากจะ

    แก้ไข  เข้าไปแสดงให้เขาเห็นว่า  เรายังอยากเป็นลูกหนี้ที่ดีแต่หมดปัญญา

    ผ่อนเท่าเดิมจริงๆ แล้วขอให้เขาลดหย่อนค่างวดลงมาให้อยู่ในระดับที่เราพอ

    จะผ่อนได้ก่อน



    ตัวอย่างเช่น  เคยผ่อนเดือนละ 15,000 บาทมาตลอด  แต่ตอนนี้ไม่ไหว

    แล้ว  มีปัญญาผ่อนได้เดือนละ 8,000 บาทเท่านั้น  ก็รีบไปคุยกับเจ้าหนี้  ขอ

    ผ่อนแค่เดือนละ 8,000 บาทไปก่อนระยะหนึ่ง  อาจจะปี  หรือสองปีก็ตาม  

    และวันหนึ่งเมื่อกลับมาอยู่ในสภาพดีขึ้นเหมือนเดิมแล้ว  ค่อยผ่อนเท่าเดิม

    อีกทีหรือผ่อนดับเบิ้ลมากกว่าเดิมเป็นสองเท่าเลยก็ได้



    การขอปรับลดค่างวดค่าผ่อนเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีวิธีหนึ่ง  ซึ่งเจ้าหนี้เองก็

    ยอมเข้าใจและยอมรับสภาพความเป็นจริงของลูกหนี้พอสมควร  เอาเป็น

    ว่า....หลักคิดของเจ้าหนี้ในเรื่องนี้  เป็นแบบนี้ครับ

    - ขอให้ลูกหนี้มีการผ่อนทุกเดือน  อย่าให้บัญชีตาย

    - ขอให้ผ่อนได้อย่างน้อยเท่ากับหรือมากกว่าดอกเบี้ยรายเดือน

    - ขอให้ชำระหนี้ทั้งหมดภายในสัญญาเดิม




    หากอยู่ในเกณฑ์ประมาณนี้  ผมเชื่อว่าเจ้าหนี้ยังจะพิจารณาช่วยเหลือได้  

    เพราะฉะนั้น  ถ้ายังจะผ่อนชำระได้และไม่อยากมีปัญหาถูกฟ้อง  ควรติดต่อ

    เจรจาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขโดยเร็ว



    “สุรชัย  กำพลานนท์วัฒน์”



    จากหนังสือ  :  “ปลดหนี้” เขียนโดย คุณสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์

    พิมพ์โดย  :  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามสเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์  

    จัดจำหน่ายโดย  :   บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 9 มี.ค. 52 09:41:43 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com