Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 15 บอกกล่าวล่วงหน้า ถูกต้องจริงหรือ?

    บอกกล่าวล่วงหน้า....ถูกต้องจริงหรือ?



    เป็นความเข้าใจของคนไม่น้อยว่า  การบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อต้องการเลิก

    จ้างลูกจ้างนั้น  จะต้องทำล่วงหน้า 30 วัน  เช่นหากบอกเลิกจ้างนายมะม่วง

    ในวันที่ 20 เมษายน  การเลิกจ้างก็จะไปมีผลเอาวันที่ 20 พฤษภาคม เป็น

    ต้น  หรือจะพูดอีกแง่หนึ่งก็คือ  หากต้องการให้นายมะม่วงออกจากงานในวัน

    ที่ 20 พฤษภาคม  ก็ต้องบอกล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน เป็นต้น



    ซึ่งในกรณีแบบนี้  หากต้องการให้นายมะม่วงออกจากงานไปทันทีโดยไม่

    บอกกล่าวล่วงหน้า  ก็ต้องจ่ายค่าสินจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วง

    หน้า (ที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” ) ให้นายมะม่วงไป 30 วัน

    หรือ 1 เดือนก็เป็นการถูกต้อง



    ถามว่าการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังที่

    ว่ามาแบบนี้ถูกต้องหรือไม่  ตอบได้เลยครับว่า  “ไม่ถูกต้อง”



    ทำไมไม่ถูกต้อง......คำตอบอยู่ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

    มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่แล้วครับ  ตรงนี้อยากจะขอยกมาตรา 17 มา

    เต็มๆ เพื่อประกอบการอธิบายดังนี้



    (วรรคหนึ่ง)  มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดเวลาใน

    สัญญาจ้าง  โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า


    (วรรคสอง)  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา  นายจ้างหรือลูกจ้าง

    อาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ  ใน

    เมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด  เพื่อให้เป็นผลเลิก

    สัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปก็ได้  แต่ไม่จำเป็น

    ต้องบอกกล่าวเกินสามเดือน



    (วรรคสาม)  ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง  ถ้านายจ้างมิได้

    ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง  นายจ้างจะยกเหตุผลตาม

    มาตรา 119 ขึ้นมาอ้างภายหลังไม่ได้


    (วรรคสี่)  การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง  นายจ้างอาจจะจ่ายค่าจ้าง

    ให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและ

    ให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้  และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตาม

    วรรคนี้  เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 582 แห่งประมวล

    กฎหมายแพ่งและพาณิชย์



    (วรรคห้า)  การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้าง

    ตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวล

    กฎหมายแพ่งและพาณิชย์



    จากวรรคที่สองและวรรคที่สี่ของมาตรา 17 ที่ยกมา  พอจะสรุปเรื่องการเลิก

    จ้างกรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วง

    หน้าที่ถูกต้องตามมาตรานี้ได้ 4 กรณีใหญ่ๆ ดังนี้



    กรณีที่ 1 :  การบอกเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง

    สมมติว่า  บริษัทจ่ายค่าจ้างให้เดือนละ 1 ครั้งทุกวันที่ 30 ของเดือน  

    หากบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 เมษายน  ซึ่งเป็นวันกำหนดจ่ายค่าจ้างพอดี  

    แบบนี้การเลิกจ้างก็จะมีผลในเดือนถัดไป คือ วันที่ 30 พฤษภาคม  ซึ่งก็คือ

    กำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป  ทำแบบนี้ก็จะถูกต้องตามที่เขียนไว้ในมาตรา

    17 วรรคสอง  แถมยังนับระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วก็เท่ากับ 30

    วันพอดี  เมื่อถึงวันที่ 30 พฤษภาคม  ลูกจ้างก็ไม่ต้องมาทำงานแล้ว  เพราะ

    การเลิกจ้างสมบูรณ์แล้ว



    ในกรณีนี้หากไม่ต้องการให้ลูกจ้างนั่งทำงานไปจนถึง 30

    พฤษภาคม  ต้องการให้ออกจากงานไปทันทีตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน  ก็ทำ

    ได้  แต่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในมาตรา

    17 วรรคสี่  ก็คือ  จ่ายจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม  ซึ่งก็คือจ่ายอีก 30 วันนั้น

    เอง



    ที่ยกกรณีนี้ขึ้นมา  ก็เพราะเห็นว่า  โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเข้าใจกันว่า  เมื่อ

    จะเลิกจ้างก็ต้องบอกล่วงหน้า 30 วัน  หรือถ้าจะให้ออกไปเลย ณ วันที่บอกก็

    ต้องบอกค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วันนั้น  เรื่องนี้ ไม่ถูกต้องเสมอไป ครับ  

    จะใช้ได้เฉพาะกรณีที่บอกเลิกจ้างตรงวันที่กำหนดจ่ายค่าจ้างเท่านั้น   ถ้าไป

    บอกวันที่อื่นที่ไม่ตรงกับวันจ่ายค่าจ้าง  เช่น  ไปบอกเอาวันที่ 20 เมษายน  

    แล้วจะให้ออกวันที่ 30 พฤษภาคม  แต่จ่ายค่าจ้างให้ 30 วัน  อย่างนี้ไม่ถูก

    ครับ
     ถ้าแบบนี้ต้องไปดูกรณีที่ 2 กัน



    กรณีที่ 2 : การบอกเลิกจ้างก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง

    สมมติว่าเงื่อนไขการจ่ายค่าจ้างเป็นแบบกรณีที่ 1 คือเดือนละครั้ง  แต่วันที่

    บอกกล่าวเลิกจ้างเป็นวันที่ 20 เมษายน  แทนที่จะเป็นวันที่ 30 เมษายน  

    แบบนี้ผลการเลิกจ้างก็ยังมีผลในวันที่ 30 พฤษภาคม  เช่นเดียวกันกับกรณี

    ที่ 1 ไม่ได้มีผลวันที่ 20 พฤษภาคมนะครับ

    ทั้งนี้เพราะวันที่ 20 เมษายน  เป็นวัน  “ก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราว

    หนึ่งคราวใด (ตามมาตรา 17 วรรคสอง)”  ซึ่งตามตัวอย่างนี้  วันกำหนดจ่าย

    ค่าจ้างก็คือวันที่ 30 เมษายน และ “ผลการบอกเลิกสัญญาก็จะเกิดขึ้นในวัน

    จ่ายค่าจ้างคราวถัดไป”
     ซึ่งตามตัวอย่างนี้ ก็คือวันที่ 30 พฤษภาคม



    การบอกกล่าวเลิกจ้างแบบกรณีที่ 2 นี้  หากจะให้ออกจากงานไปทันทีคือ  

    ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน เป็นต้นไป  ก็ทำได้  แต่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วง

    หน้านับจากวันที่ 20 เมษายนไปจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม ซึ่งเท่ากับ 40 วัน

    ไม่ใช่ 30 วัน

    ใครไปจ่ายแค่ 30 วันก็เท่ากับจ่ายไม่ครบ  และถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 17 ครับ



    กรณีที่ 3 :  บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง  

    เช่น จ่ายค่าจ้างๆ ทุกวันที่ 15 และวันที่ 30 ของเดือน  กรณีอย่างนี้การ

    บอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าจะไม่เหมือนกับ 2 กรณี

    แรก  และส่วนใหญ่แล้วจะไม่ถึง 30 วัน


    ตัวอย่างเช่น  บริษัทบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างในวันที่ 26 เมษายน  ซึ่งเป็น

    วันก่อนกำหนดจ่ายค่าจ้างซึ่งคือวันที่ 30 เมษายน  ดังนั้น  การบอกเลิก

    สัญญาก็จะมีผลในงวดการจ้างคราวถัดไป ก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม และถ้า

    จะให้ลูกจ้างออกจากงานไปในทันที  ก็สามารถจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้

    ครบตามจำนวนจากวันที่ 26 เมษายน ไปจนถึง 15 พฤษภาคม เป็นเวลา 20

    วัน


    จะเห็นได้ว่า  หากเป็นกรณีแบบนี้  ก็ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากันถึง

    30 วันก็ได้




    กรณีที่ 4  :  วันจ่ายค่าจ้างไม่ใช่วันสิ้นเดือน

    บริษัทจ่ายค่าจ้างเดือนละ 1 ครั้ง  โดยจ่ายทุกๆ วันที่ 25 ของเดือน  โดยใน

    ทุกวันที่ 25  บริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้เต็มเดือนเหมือนกับจ่ายทุกวันที่ 30

    ของเดือน

    การจ่ายค่าจ้างรายเดือนแบบนี้  เคยมีกรณีเกิดขึ้น  คือบริษัทบอกเลิกจ้าง

    ลูกจ้างในวันที่ 26 และจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างอีก 1 เดือน  

    ซึ่งก็คิดว่าทำถูกต้องแล้ว  เพราะแม้การจ่ายเงินเดือนจะจ่ายทุกวันที่ 25 ของ

    เดือนก็จริง  แต่ก็ได้คิดคำนวณให้จนถึงสิ้นเดือนทุกเดือน  ดังนั้น  งวดเงิน

    เดือนก็น่าจะนับถึงวันที่ 30 ของทุกเดือนเช่นกัน

    แต่เมื่อลูกจ้างไปฟ้องศาล  กลับปรากฏว่า  ศาลถือว่ากำหนดการจ่ายค่าจ้าง

    ของบริษัทนั้นคือ ทุกวันที่ 25 ดังนั้น  เมื่อบอกเลิกจ้างวันที่ 26 ของเดือน

    นั้น  จึงถือว่าเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างมาแล้ว  ที่คิดว่าจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

    ให้ไป 1 เดือน  ผลปรากฏว่าถูกสั่งให้จ่ายเพิ่มอีก 1 เดือน



    เจอแบบนี้ผู้บริหารบริษัทถึงกับงงงวย  เปรยให้ฟังว่า  ผิดด้วยหรือที่บริษัท

    จ่ายเงินเดือนเต็มเดือนให้กับลูกจ้างก่อนถึงวันที่ 30 ของเดือนด้วยซ้ำ  ผม

    ฟังแล้วได้แต่เห็นใจ  แต่เรื่องของแง่มุมการตีความทางกฎหมายก็เป็นแบบนี้

    เอง  ใครไม่ชัดเจนในมุมมองของตัวบท  ใช้ความคิดตามเหตุตามผลโดย

    ทั่วๆ ไป  บาทีก็ชนแง่  ชนมุมของกฎหมายเกิดความเสียหายต่อองค์กร  ก็มี

    ให้เห็นบ่อยๆ ไปครับ



    ที่ยกมาทั้ง 4 แบบ  เป็นกรณีทั่วๆ ไปที่พบเห็นกันนะครับ  และเป็นกรณีที่ควร

    ทราบเอาไว้เพื่อระวังไม่ให้การบอกกล่าวล่วงหน้าหรือการจ่ายค่าบอกกล่าว

    ล่วงหน้าขัดกับมาตรา 17 ซึ่งอาจให้ก่อปัญหาตามแก้ตามจ่ายได้



    ยังมีข้อควรระวังเกี่ยวกับการเลิกจ้างอีกเรื่องหนึ่ง  ซึ่งถ้าพลาดอาจจะเสีย

    หายได้เหมือนกัน  ก็คือ  กรณีที่นายจ้างจะจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้น้อย

    ที่สุดเท่าที่จะทำได้  ก็เลยพยายามบอกเลิกจ้างให้ตรงกับวันจ่ายค่าจ้างพอ

    ดี  เช่น  จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 30 ก็บอกเลิกจ้างวันที่ 30 นั่นแหละ  แล้วก็ให้

    ออกจากงานไปเลย  โดยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 30 วัน  แต่เผอิญ

    ลูกจ้างลาป่วยพอดี  แล้วกลับมาทำงานเอาวันที่ 1 ของเดือนถัดไป  เลยต้อง

    ไปบอกเลิกจ้างเข้าวันที่ 1 คราวนี้แทนที่จะจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าแค่ 30

    วัน  ก็เลยต้องจ่ายถึง 60 วัน  เพราะกลายเป็นบอกหลังก่อนงวดการจ่ายค่า

    จ้าง  ไปเข้ากรณีที่ 2 ดังกล่าวไปแล้ว



    ดังนั้น  การบอกกล่าวล่วงหน้า จึงมักไม่นิยมเลือกไปบอกเอาวันที่จ่ายค่าจ้าง

    พอดี  เพราะมีความเสี่ยงแบบที่ว่ามา  บอกก่อนวันจ่ายค่าจ้างไว้หน่อย  เผื่อ

    ไว้ดีกว่าครับ



    “ไพศาล  เตมีย์”



    จากหนังสือ  :  “เลิกจ้างต้องระวัง”  เขียนโดยคุณไพศาล  เตมีย์

    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  :  บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 23 มี.ค. 52 08:45:52 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com