 |
ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 16 เลิกจ้างอย่างไร...ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า?
เลิกจ้างอย่างไร
ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า?
จากมาตรา 7 ที่ยกมาในบทก่อน จะเห็นได้ว่า การเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่จำ
เป็นที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเสมอไป หลายกรณีก็สามารถเลิกจ้างแล้ว
ให้ลูกจ้างออกจากงานไปทันทีได้เหมือนกัน
กรณีที่สามารถเลิกจ้างสัญญาจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่
ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้านั้น พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กรณีที่ทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา
โดยระบุชัดเจนว่าจะเริ่มต้นจ้างกันเมื่อไหร่และสิ้นสุดสัญญาจ้างกันวันไหน
หากมีสัญญาจ้างกันแบบนี้ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง ก็ถือเป็นอันจบสัญญาจ้าง
กันไป โดยไม่จำเป็นจะต้องบอกเลิกสัญญาจ้างกันล่วงหน้าอีก เรื่องนี้ไม่
ต้องดูที่ไหน ก็อยู่ในมาตรา 17 วรรคแรกนี่เอง ซึ่งว่าไว้ดังนี้ สัญญาจ้าง
ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วง
หน้า
2. กรณีที่ลูกจ้างได้ทำความผิดเข้าตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ.
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือเข้าตามมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์
แบบนี้หากจะเลิกจ้างก็ไม่จำเป็นจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกเหมือนกัน
เรื่องนี้ดูได้ในมาตรา 17 อีกเช่นกัน แต่อยู่ในวรรคที่ห้า ซึ่งกำหนดไว้
ว่า การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตาม
มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์
ส่วนมาตรา 119 และมาตรา 583 กำหนดลักษณะความผิดไว้อย่างไรนั้น
ขอยกมาลงรายละเอียดไว้ในบทนี้เพื่อให้ง่ายในการอ้างอิง ดังนี้
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณี
หนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นาย
จ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่าง
ร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของ
นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็น
หนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือ
ตักเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานเป็นเวลาติดต่อกันไม่ว่าจะมี
วันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็น
โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ส่วนมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็กำหนดไว้ดังนี้
ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดีหรือละเลยไม่
นำพาต่อคำสั่งเช่นนั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความ
ผิดร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน
ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพัก
ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หรือให้สินไหมทดแทนก็ได้
อ่านมาตรา 583 นี้ทีไร ก็ให้นึกถึงคำพูดของนักกฎหมายหลายท่านที่เล่าให้
ฟังว่า ภาษาของกฎหมายแบบนี้แหละ คำว่า ก็ดี ก็ดี ทั้งหลายที่เขียน
ไว้ (เหมือนตัวอย่างในมาตรา 583 นี้) ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่ ไม่ดี
ไม่ดี ทั้งนั้นเลย คิดเรื่องนี้ขึ้นมาทีไรก็ทำให้อ่านกฎหมายสนุกขึ้นอีกหน่อย
จากรายละเอียดในมาตรา 17 มาตรา 119 และมาตรา 583 ที่ยกมานั้น
อ่านแล้วอาจดูเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า มีประเด็นอาจมีประเด็นใดบ้างที่เป็นเหตุ
ความผิดให้สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ก็อยากตั้ง
ข้อสังเกตไว้สัก 3 เรื่อง เพื่อให้ระวังในกรณีที่จะต้องเลิกจ้างกันจริงๆ 3 เรื่อง
นั้นก็คือ
1. ถ้าเหตุแห่งการเลิกจ้างเข้าตามมาตรา 119 และมาตรา 583
แยกแยะได้ถูกต้องง่ายๆ จริง ทำไมการฟ้องร้องคดีแรงงานเรื่องการเลิกจ้าง
โดยไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมีมากมายหลายคดี และในจำนวนนั้นก็มี
หลายคดีเหมือนกันที่นายจ้างแพ้ แล้วต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
แสดงว่าหากการเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้ากันจริงๆ ต้องระวัง
ว่าอ้างเหตุได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริงนะครับ
2. ความผิดที่เข้าตามมาตรา 119 นั้น จะสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่
ต้องจ่ายทั้งค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ความผิดที่เข้าตาม
มาตรา 583 ทุกกรณีไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ในบางกรณีอาจจะ
ต้องจ่าย ค่าชดเชย
ประเด็นนี้ต้องไม่สับสนปนเปกันนะครับ ต้องแยกแยะให้ดีๆ มิฉะนั้นอาจถูก
ฟ้องร้องเรียก ค่าชดเชย ในภายหลังได้
3. ตัวอย่างประเด็นในมาตรา 583 ที่เวลาปฏิบัติจริงแล้วมีปัญหาผุด
ขึ้นมาในใจก็เช่น
- อย่างไรที่เรียกว่า จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง
- การละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของนายจ้างเป็น อาจิณ
- การกระทำความผิดร้ายแรง ลักษณะอย่างไรที่ถือว่า ร้ายแรง
- ลักษณะอย่างไรบ้างที่ถือได้ว่า กระทำประการอื่นอันไม่
สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เป็น
ต้น
เรื่องนี้ก็ต้องระวังในการตีความอีกเหมือนกันครับ
ที่หยิบยกเรื่องต่างๆ มาในบทนี้ ก็เพราะต้องการชี้ให้เห็นว่าการจะเลิกจ้าง
โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่เพียง
แต่ต้องทราบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่การตีความการปฏิบัติที่เป็น
ความผิดของลูกจ้างจะต้องสอดคล้องและถูกต้องตามประเด็นข้อกฎหมาย
ด้วย การเลิกจ้างนั้นจึงจะไม่มีปัญหากับองค์กรในภายหลังครับ
ไพศาล เตมีย์
จากหนังสือ : เลิกจ้างต้องระวัง เขียนโดยคุณไพศาล เตมีย์
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด
จากคุณ :
ลุงแอ็ด
- [
25 มี.ค. 52 08:47:24
]
|
|
|
|
|