Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ใครอยากทำเว็บไซต์ขายของ หยุดอ่านตรงนี้แป๊บนึงนะครับ

    ตอนแรกตั้งใจจะแชร์ประสบการณ์การทำงานเขียนโปรแกรม แต่มันคงจะลึกเกินไป เพราะคนส่วนใหญ่ชอบบอกว่า โปรแกรมเมอร์ชอบพูดภาษาต่างดาว -”-



    นอกจากผมจะทำงานบริษัทเป็น Webmaster & developer ให้กับเว็บไซต์แห่งหนึ่งแล้ว ผมก็จะมีรายได้มาจากการรับงานอิสระ หรือที่เรียกกันว่า Freelance



    การรับงาน Freelance นั้น ทุกอย่างเราต้องทำคนเดียวหมด เมื่อได้รับการติดต่อมา จากเพื่อน คนรู้จักบอกว่า มีคนสนใจจะทำเว็บไซต์ขายของ แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร เค้าหาคนทำอยู่ เค้าก็แนะนำและให้เบอร์ผมกับลูกค้าไป แล้วเค้าก็จะโทรมาแจ้งอีกที

    - ให้ความรู้

    เพราะลูกค้าส่วนมาก ไม่รู้อะไรเลย เราต้องบอกว่าถ้าจะทำเว็บไซต์ มีต้นทุนอะไรบ้าง การจดโดเมน การเช่า hosting การจ้างเขียนโปรแกรม



    - ให้คำแนะนำ

    ลูกค้าหลาย ๆ คนโทรมาและบอกความต้องการของเค้าซึ่งฟังดูดี แต่อาจจะไม่เวิร์ค เช่น ลูกค้า A โทรมาบอกว่าอยากทำเว็บไซต์เพื่อขายเฟอนิเจอร์ โดยมุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ



    เมื่อได้โจทย์มาแล้ว หากเป็นคนอื่นเค้าจ้างทำ อยากได้ยังไงก็บอกมา หลับตาจิ้ม ๆ ให้เดี๋ยวก็เสร็จ แถมเงินดีอีกต่างหาก

    แต่มุมมองของผมมันจะต่างออกไป เมื่อได้โจทย์เช่นนี้มา เราต้องคิดและประมวลผลแต่ข้อมูลมันไม่พอ เราก็ต้องถามเพิ่มอีก



    ผม “เอ่อ ไม่ทราบว่าสินค้าที่จะขายเนี่ย คุณ…เป็นผู้ผลิตเองหรือเปล่าครับ หรือว่าขายมานานหรือยัง”

    ลูกค้า “อ๋อ ปกติผมทำงานบริษัท ของที่จะขายเนี่ยผมรู้จักกับโรงงาน เลยคิดจะหารายได้เสริม”

    ผม “นั่นหมายความว่า ไม่เคยขาย ไม่ได้ผลิตเอง แต่รู้จักโรงงานนะครับ”

    ลูกค้า “ครับ”

    ผม “กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้าต่างชาตินะครับ แล้ววางแผนอะไรไว้บ้างครับ”

    ลูกค้า “ตอนแรกตั้งใจจะเปิดร้าน แต่ต้องใช้ทุนสูง ค่าเช่าที่ ต้องมีคนเฝ้า มันวุ่นวาย เลยคิดว่าทำเว็บไซต์เนี่ยล่ะ ถูกสุด แถมหลากหลายกว่า เผื่อได้ออเดอร์ต่างชาติเยอะ ”

    ผมคิดในใจ [เอาแล้วไง ไม่รู้อะไร คิดว่ามันง่าย เดี๋ยวก็พังไปเป็นแถบ]

    ผม “แล้ววางแผนการขายยังไงครับ ติดต่อกับโรงงานไว้หรือยังครับ ว่าพี่จะเอาของมาขายในเน็ต”

    ลูกค้า “ก็ไม่ได้มีแผนอะไร ก็ไปที่โรงงาน ถ่ายรูปสินค้ามาโพสไว้ แล้วก็รอให้คนเข้ามาดู ถ้าลูกค้าจะซื้อสินค้า ก็ให้หักเงินผ่านบัตรเครดิต แล้วเราก็ส่ง order ไปให้โรงงานส่งของให้”

    ผมคิดในใจอีกรอบ [มาอีกแล้วครับ จับเสือด้วยเชือกว่าว ระวังเชือกขาด โดนเสือแว้งกลับมางับหัวนะครับคุ๊ณณณณณ]

    ผม “แล้วคุณคิดว่าในเว็บที่จะให้ทำ จะมีอะไรบ้างครับ”

    ลูกค้า “ไม่รู้เหมือนกัน ก็ทั่ว ๆ ไปมั้ง ออกแบบสวย ๆ มี product cataloque แล้วก็ระบบสั่งซื้อ หักเงินผ่านบัตรเครดิต”

    ลูกค้า “อ้อ แล้วช่วยทำแบบให้ผลการค้นหาอยู่อันดับแรก google ด้วยนะ” (เอาแล้วไง คิดว่าง่ายมั้งนั่น)

    ผม “แล้วคุณตั้งงบประมาณสำหรับจัดทำเว็บไซต์ไว้เท่าไรครับ”

    ลูกค้า “ผมก็ไม่รู้เรื่องราคาพวกนี้เลยนะ ก็ 3-5 พันมั้งนะ ไม่น่าเกินหรอก”

    ผมคิดในใจรอบที่ 3 [เอ่ออ 3-5 พันบาท ออกแบบหน้าแรกยังไม่พอเลยครับ เอ่อ #@$!%#!#%!$#%@$^^@%$#@#%$#@^&*&]

    ผม “อืม ๆ งั้นผมแนะนำว่า หากต้องการลองทำตรงนี้ ผมแนะนำว่าลองใช้พวกระบบร้านค้าที่สามารถใช้ฟรีก่อนดีไม๊ครับ เพราะว่าลงทุนไปหากไม่มีความรู้เลย หากพลาดพลั้งหรือว่าไปไม่ไหว จะได้ไม่เจ็บตัวเยอะ ต้องบอกก่อนเลยการทำเว็บไซต์จะมีส่วนออกแบบหน้าตา ออกแบบระบบ การถ่ายรูปสินค้า แล้วก็การประชาสัมพันธ์  และงบที่คุณตั้งไว้ต่ำเกินไปครับ ปกติผมรับงานเริ่มต้นที่ 20,000บาทครับ โดยค่าดีไซน์หน้าตาเว็บ คนออกแบบก็คิดหมื่นนึงแล้ว แต่ถ้าอยากทำจริง ๆ ผมลดให้ได้นะ แต่ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทแน่ ๆ ครับ เอางี้คุณลองวางแผนใหม่อีกรอบนึง ถ้าสงสัยอะไรโทรสอบถามที่ผมได้ครับ ถ้าไม่ได้ทำงานอะไร ผมให้คำปรึกษาฟรีครับ”

    ลูกค้า “ครับ ๆ “

    ตู๊ดๆๆๆ วางทันที



    [อธิบายเหตุผล]

    ปกติการทำเว็บไซต์ ผมจะให้ดีไซน์เนอร์รุ่นพี่ที่ทำงานด้วยกันเนี่ยออกแบบให้ ซึ่งงานของพี่เค้าดีมากครับ แต่เค้าจะเริ่มต้นค่าออกแบบที่ 10,000 -15,000 บาทต่อเว็บ นั่นหมายถึงว่ายิ่งผมรับงานที่ราคาถูกมากเท่าไร ผมยิ่งได้เงินค่าจ้างน้อยลงไปอีก แต่ผมก็ยอมที่จะรับเงินน้อย แลกกับผลงานใน portfolio ครับ


    เมื่อออกแบบหน้าตาแล้ว ผมก็ต้องมาออกแบบฐานข้อมูล , flow งาน ,user interface ทั้งหน้าเว็บ(Frontend)และระบบหลังร้าน(Backend) ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมือน ๆ กันหมดต่างกันที่การเก็บข้อมูลและการแสดงผล และบางส่วนสามารถเอาโค๊ตเก่ามาประยุกต์ใช้ได้ (หรือเรียกว่าการ copy แปะ แล้วปรับ ๆ เอา ประหยัดแรงงานและเวลา)

    จึงเป็นเหตุผลแรกที่ผมไม่ทำให้คือ ลูกค้าคิดว่าทำเว็บมันง่าย ถูก และไม่แพง สามารถทำได้ง่าย ๆ เหมือนทำนามบัตร นั่นหมายความว่าลูกค้าไม่มีความรู้เลย และมีงบจำกัด

    เหตุผลที่สอง การมีงบจำกัดสำหรับทำ e-commerce หากว่างบน้อยเกินไป สุดท้ายเว็บไซต์มันก็จะตายแล้วเน่าค้างไซเบอร์สเปซอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะหมดอายุ

    ผมลองประเมินค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ให้ฟังละกัน

    1.จดโดเมน 300 - 500 บาทต่อปี แล้วแต่ที่ แล้วแต่นามสกุล
    2.ค่าเช่า Host มีตั้งแต่ 2000 - หลายแสนบาท ต่อปี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน กับคุณภาพ
    3.ค่าจัดทำ อันนี้ลองย้อนขึ้นไปอ่านด้านบน
    4.ค่าประชาสัมพันธ์ โฆษณา

    *** อ่านต่อที่ไหนหาเอาเองนะครับ  ^__^  เด๋วติดไฟแดงอีก***

    แก้ไขเมื่อ 25 มี.ค. 52 13:54:39

    แก้ไขเมื่อ 25 มี.ค. 52 12:03:48

    จากคุณ : BiGTeDDy - [ 25 มี.ค. 52 12:00:25 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com