Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 17 จ่ายหรือไม่จ่าย...เมื่อเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน?

    จ่ายหรือไม่จ่าย...เมื่อเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน?



    ปัจจุบันข้อถกเถียงกันเรื่องที่ว่า  การเลิกจ้างเนื่องจาก “ไม่ผ่านการทดลอง

    งาน”
     ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่นั้น  ได้ข้อยุติออกเป็น “ฎีกา” มาหลาย

    ฉบับแล้วว่า “ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า”  และถ้าไม่ต้องการบอกล่าวล่วงหน้าจะ

    ให้ออกไปทันทีเลย  ก็ต้องจ่าย “สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า”  หรือที่

    เรียกว่า “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” ให้ลูกจ้างด้วยจึงจะถือว่าถูกต้อง



    โดยสรุปแล้ว  ก็พอจะพูดได้ว่าการเลิกจ้างพนักงานระหว่างการทดลองงานมี

    กระบวนการไม่ต่างกับของพนักงานที่บรรจุแล้วเลย



    ที่จะเลิกจ้างกันแล้วให้ออกจากงานไปทันทีโดยไม่บอกไม่กล่าวกันล่วง

    หน้า  หรือไม่ยอมจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าแบบเดิมนั้น  ตอนนี้แพ้คดีกันใน

    ศาลกันเป็นแถว



    เท่าที่ศึกษารวบรวมดูว่า ทำไมนายจ้างจึงแพ้คดีก็พอสรุปได้ดังนี้

    1. นายจ้างหลายรายอ้างว่า “ก็ได้ระบุไว้ในสัญญาจ้างแล้วนี่ว่า

    ระหว่างทดลองงานนั้น  นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันทีหากผลการทำงาน

    ไม่เป็นที่น่าพอใจ”  แล้วยังคิดต่อไปว่า  สัญญาก็เกิดจากการยินยอมพร้อม

    ใจทั้ง 2 ฝ่าย  ไม่มีใครบังคับใคร  ทำไมจึงยังทำไม่ได้



    ประเด็นนี้  ถูกตีตกไปเพราะข้อตกลงอะไรก็ตามหากไปขัดกับ พ.ร.บ. คุ้ม

    ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเข้า  

    จะกลายเป็นโมฆะ  คือใช้บังคับอะไรไม่ได้  และการที่ทำข้อตกลงกันแบบที่

    นายจ้างว่ามานี้เป็นข้อตกลงที่ขัดกับมาตรา 17 ในวรรคที่สอง และวรรคที่สี่



    2. หรือนายจ้างบางคนก็เข้าใจผิดว่า  การทำสัญญากำหนดการ

    ทดลองงาน 120 วันนั้น  เป็นเหมือนทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา  

    ดังนั้นเมื่อครบกำหนด 120 วัน  หากผลงานไม่ดีก็เลิกจ้างได้เลย  เพราะครบ

    กำหนดตามสัญญาแล้ว  ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะตีความมาตรา 17 วรรคหนึ่ง

    ผิด  ตรงข้อความที่ว่า  “สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลา

    ในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า”  



    ด้วยความคิดแบบนี้  พอมีเรื่องมีราวกันขึ้นมาก็แพ้คดี  เพราะการตีความของ

    ศาลต่างออกไป  ซึ่งมีแนวฎีกาออกมาแล้วว่า  ไม่ถือว่า  การกำหนดการ

    ทดลองงานแบบ “ไม่เกิน 120 วัน” แบบที่ทำๆ กันอยู่นี้เป็น “สัญญาจ้างที่มี

    กำหนดระยะเวลา”  เหตุก็เพราะในช่วงระหว่าง 120 วันที่ว่านี้  นายจ้างมีสิทธิ

    จะเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้  หรือไม่เลิกจ้างก็ได้  ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วศาลจึง

    ไม่ถือว่า สัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาทดลองงาน เป็นสัญญาที่มีกำหนด

    ระยะเวลา



    3. อีกเรื่องหนึ่งก็เพราะว่า  มาตรา 17 ในวรรคที่สองและวรรคที่สี่  

    ซึ่งเป็นวรรคที่กำหนดให้การเลิกสัญญาจ้างลูกจ้าง จะต้องบอกกล่าวล่วง

    หน้า  หรือหากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วง

    หน้านั้น  ไม่มีข้อความตรงไหนที่ยกเว้นให้ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิก

    จ้างลูกจ้างที่อยู่ระหว่างทดลองงานเลย
    ในเมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ จะ

    ไปตีความว่าทำได้ก็จะผิดนะครับ  ดังนั้นแม้เป็นลูกจ้างทดลองงาน  การบอก

    เลิกสัญญาจ้างก็ต้องปฏิบัติตามมาตรานี้  หากไม่ปฏิบัติตามและเหตุที่เลิก

    จ้างก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 ด้วยละก็  ไม่บอกกล่าวล่วง

    หน้าเมื่อไหร่มีปัญหาแน่นอนครับ



    อย่างไรก็ดี  แม้จะมีฎีกาออกมาเป็นแนวไว้ดังว่า  ก็มิได้หมายความว่าการ

    เลิกจ้างระหว่างการทดลองงาน  จำเป็นจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่า

    บอกกล่าวล่วงหน้าไปเสียทุกกรณี



    หากเป็นกรณีที่เลิกจ้างเพราะลูกจ้างได้กระทำความผิดตามมาตรา 119 แห่ง

    พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2514 และความผิดตามมาตรา 583 แห่ง

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วละก็  อย่างนี้เลิกจ้างได้โดยไม่จำเป็น

    ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใด  ไม่ว่าลูกจ้างจะบรรจุแล้ว  หรือจะอยู่ใน

    ช่วงทดลองงานก็ตาม  ก็เข้ากรณีที่ว่ากันไว้ในบทที่แล้วนั่นเองครับ



    สรุปแล้ว  การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างทดลองงานจึงแยกเป็น 2 กรณีใหญ่ๆ

    คือ

    1. กรณีที่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  คือกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

    อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119 หรือ มาตรา 583

    2. กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  คือการไม่ผ่านการทดลองงาน

    เนื่องจากผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจ  เพราะอาจขาดความรู้ ความสามารถหรือ

    คุณสมบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด



    ดังนั้น  หากจะเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างการทดลองงานจะต้องแยกแยะเหตุ

    ให้ชัดเจนนะครับ  และต้องระวังขั้นตอนการดำเนินการทำให้ถูกต้องด้วย

    เหมือนกัน มิฉะนั้นเรื่องจะกลายเป็นว่านายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ

    จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าไปเสียทุกกรณี  ทั้งที่ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้อง

    จ่ายเสมอไป



    เรื่องที่ยกมาคุยในบทนี้  ดูเผินๆ อาจคิดว่าพอรู้กันอยู่แล้ว  แต่ก็มีข้อที่ต้อง

    สังเกตและกลับไปทบทวนให้แน่ใจก็คือ

    1. นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการให้พนักงาน “ผ่าน” หรือ  “ไม่

    ผ่าน”  การทดลองงาน ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วหรือยัง  กรณีใดที่จะ

    ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหากพนักงาน “ไม่ผ่านการทดลองงาน” และกรณีใด

    บริษัทจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า



    2. หากได้กำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติตามข้อ 1 ไว้อย่าง

    ชัดเจนแล้ว  ใน “การปฏิบัติจริง” ได้ทำตามนโยบายและระเบียบปฏิบัตินั้น

    หรือไม่  เหตุผลการเลิกจ้างที่กำหนดไว้ชัดเจนพอที่จะสามารถแยกแยะทั้ง



    2 กรณีออกจากกันได้หรือไม่  หรือว่าในการปฏิบัติจริงก็มักใช้เหตุในการเลิก

    จ้างระหว่างการทดลองงานว่า  “ผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่น่าพอใจ”  ในทุก

    กรณี  เพราะหากยังเป็นแบบนี้  การเลิกจ้างระหว่างการทดลองงานก็หนีไม่

    พ้นว่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าทุกครั้งอยู่ดีแหละ

    ครับ



    เรื่องแบบนี้  โปรดอย่าลืมว่า  ผู้บังคับบัญชาตามสานงานจะมีบทบาทอย่างยิ่ง

    ที่จะช่วยแยกแยะเหตุการณ์เลิกจ้างที่แตกต่างกัน 2 กรณีดังกล่าวได้  ซึ่งจะ

    ส่งผลให้การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

    เสมอไป



    ช่องโหว่อย่างนี้  สามารถอุดได้โดย HR และผู้บังคับบัญชาตามสายงานต้อง

    ร่วมมือกันครับ



    ไพศาล  เตมีย์



    จากหนังสือ  :  “เลิกจ้างต้องระวัง”  เขียนโดยคุณไพศาล  เตมีย์

    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  :  บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 30 มี.ค. 52 07:05:41 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com