Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 18 อ้างเหตุเลิกจ้างไม่ครบ...ก็อาจมีปัญหา !

    อ้างเหตุเลิกจ้างไม่ครบ...ก็อาจมีปัญหา



    บทที่ผ่านมาก็กล่าวถึงการเลิกจ้างตามมาตรา 17 ไปหลายเรื่องแล้ว  แต่มีอีก

    วรรคหนึ่งในมาตรานี้  ที่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้  เพราะมีตัวอย่างที่พลาดกันมา

    เพราะจุดนี้หลายรายทีเดียว  วรรคที่ว่านั้นคือ  วรรคที่สาม  ที่ว่า



    “ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา  ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้

    ในหนังสือบอกเลิกสัญญา  นายจ้างจะยกเหตุผลตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างใน

    ภายหลังไม่ได้”




    นั่นหมายความว่า  การเลิกจ้างที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง  เพราะ

    เหตุว่าลูกจ้างได้ทำความผิดที่นายจ้างเห็นว่าเป็นความผิดที่เข้าลักษณะความ

    ผิดอยู่ใน 6 ข้อนั้น  ในการทำหนังสือเลิกจ้าง  นายจ้างจะต้องระบุลักษณะ

    ความผิดใน 6 ข้อนั้นลงในหนังสือเลิกจ้างด้วย  ซึ่งอาจเป็นความผิดเพียงข้อ

    เดียวหรือหลายข้อก็ได้  แต่ต้องระบุไว้ให้ครบ  หากระบุไม่ครบ  เมื่อขึ้นศาล

    กัน  นายจ้างจะยกความผิดที่ไม่ได้ระบุไว้ขึ้นมาว่าลูกจ้างทำเรื่องนี้ด้วยนะ  

    อันนี้ศาลจะไม่รับฟังนะครับ  แม้ว่าในความเป็นจริงลูกจ้างจะทำความผิดนั้น

    จริงก็ตาม



    ประเด็นที่ยกมานี้  อาจดูเป็นประเด็นเล็กๆ แต่นายจ้างก็แพ้คดีกันมาหลาย

    รายแล้ว  เลยทำให้ต้องจ่ายค่าชดเชย  ทั้งๆ ที่ไม่ควรจ่ายเลย  เหตุเพราะไม่

    ได้อ้างลักษณะความผิดที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ในหนังสือเลิกจ้าง



    แพ้แบบนี้  นักกฎหมายเรียกกันว่า  “แพ้ทางเทคนิค”  ครับ  คือแพ้เพราะ

    นายจ้างไม่เข้าใจแง่มุมทางกฎหมาย ทั้งที่ความจริงน่าจะชนะ



    นายจ้างที่แพ้คดีแบบนี้ก็คงรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมดาเลย  ที่ต้องมาจ่ายค่าชด

    เชยทั้งที่บางทีลูกจ้างก็ทำผิดจริงๆ เรื่องแบบนี้แม้จะเห็นใจแต่ก็ไม่มีใครช่วย

    ได้



    ดังนั้น ขอย้ำนะครับว่า  ผู้ที่ต้องรับผิดชอบดูแลพนักงานขอให้จำลักษณะ

    ความผิดทั้ง 6 ข้อในมาตรา 119 ให้แม่น  และที่สำคัญกว่าจำให้แม่นก็คือ  

    ต้องระบุเหตุเลิกจ้างเพราะลักษณะความผิดแบบนี้ลงในหนังสือเลิกจ้างด้วย

    นะครับ



    สำหรับคน HR แล้ว  ไม่ต้องบอกก็พอจะรู้กันว่า  ใครหลุดประเด็นนี้ นอกจาก

    องค์การจะเสียเงินแล้ว  เราเองก็มีสิทธิเดือดร้อนเพราะทำให้องค์การเสียเงิน

    ที่ไม่ควรเสีย



    อย่ามองข้ามวรรคสามของมาตรา 17 นะครับ



    ไพศาล  เตมีย์



    จากหนังสือ  :  “เลิกจ้างต้องระวัง”  เขียนโดยคุณไพศาล  เตมีย์

    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  :  บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ วันจักรี 07:29:23 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com