Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 19 จ่ายค่าชดเชยทั้งที...ต้องจ่ายให้ครบ !

    จ่ายค่าชดเชยทั้งที...ต้องจ่ายให้ครบ



    เมื่อถูกเลิกจ้าง  หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดด้วยแล้ว กฎหมายก็

    บังคับให้ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” เพื่อตอบแทนให้กับลูกจ้างตามอายุงานที่ได้

    ทำงานมาให้กับกิจการนั้น  อีกทั้งยังเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน  ใน

    ระหว่างที่ลูกจ้างต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่งในการหางาน  จะได้มีเงินใช้ในช่วง

    นั้น



    ค่าชดเชยนี่จะจ่ายให้กรณีที่ลูกจ้าง ไม่ได้กระทำความผิดเข้าตามมาตรา

    119 ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อส่วนจะจ่ายเท่าไหร่นั้น  กฎหมาย

    กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 118 วรรคแรก

    ดังนี้



    “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้



    (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่ง

    ปี  ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้าง

    ของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย  สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน

    โดยคำนวณเป็นหน่วย


    (2) ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี  ให้จ่ายไม่

    น้อยกว่าอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้า

    สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


    (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบแต่ไม่ครบหกปี

    ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน  หรือไม่น้อยกว่า

    ค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า

    จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


    (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่า

    จ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน

    สองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ

    เป็นหน่วย


    (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป  ให้จ่ายไม่น้อยกว่า

    ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสาม

    ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็น

    หน่วย



    เห็นไหมครับ  กำหนดไว้ชัดเจนมากทีเดียวว่าต้องจ่ายเท่าไหร่โดยใช้อายุ

    งานเป็นหลักครับ  ไล่มาตั้งแต่ครบ 120 วัน  หรือว่าง่ายๆ ก็คือครบทดลอง

    งาน จนถึงอายุงานสิบปีและมากกว่านั้นแหละครับ

    เอาเป็นว่ามาตรา 118 ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 นี้  ตอบคำถามได้แล้วนะครับว่า “จ่าย

    เท่าไหร่”




    แต่แม้จะดูเห็นได้ง่ายๆ อย่างนี้ ในทางปฏิบัติกลับมีปัญหาเป็นเรื่องกันได้มาก

    มายหลายลักษณะ  ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง  เช่น  การหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชด

    เชยโดยการทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงให้มีระยะเวลาน้อยกว่า 120

    วัน  ครบกำหนดเมื่อไหร่ก็เว้นวรรคกันไปเล็กน้อย แล้วก็ทำสัญญาจ้างกัน

    ใหม่แบบมีระยะเวลาที่น้อยกว่า 120 วันอีก  เมื่อหมดสัญญาก็เลิกกันไปอีก  

    วนไปแบบนี้เรื่อยๆ แล้วเมื่อไหร่การเลิกจ้างจะเกิน 120 วันและมีโอกาสได้

    รับค่าชดเชยกันเสียที



    ใครที่คิดจะทำ  หรือทำอยู่แล้ว  ก็บอกได้เลยว่า  การหลีกเลี่ยงกฎหมาย

    แบบนี้ “ทำไม่ได้ครับ”  หากลูกจ้างไปร้องเรียน  หรือพนักงานตรวจแรงงาน

    ไปตรวจพบเมื่อไหร่มีเรื่องทันที  เพราะมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครอบแรง

    งาน พ.ศ. 2541 กำหนดไว้อย่างชัดเจนดังนี้



    “การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างมี

    สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้  ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใดและ

    การจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม  ให้นับระยะเวลาทุกช่วง

    เข้าด้วยกัน  เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น”




    นั่นหมายความว่า  หากมีเรื่องเรียกร้องค่าชดเชยขึ้นมา  ศาลจะนับเวลาทำ

    งานของลูกจ้างแต่ละช่วงเข้าด้วยกัน  แล้วก็คิดค่าชดเชยให้ตามอายุงานที่

    กำหนดไว้ในมาตรา 118 ที่ยกมาไว้ข้างบนนั่นแหละครับ  เช่น  หากนับรวม

    อายุงานได้ 3 ปี  ก็ต้องจ่ายตาม (3) คือ 180 วัน เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าแม้จะ

    ใช้ลูกเล่นนี้ก็ยังหนีค่าชดเชยไม่พ้นอยู่ดี



    เรื่องการจ่ายค่าชดเชยนี้ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะเรื่องการนับอายุงานนะครับ  

    ยังมีปัญหาอีกว่า  จะใช้อะไรเป็น “ฐานค่าจ้าง”  เพื่อคำนวณค่าชดเชย

    ในมาตรา 118 มีคำว่า “ค่าจ้าง” ซึ่งจะต้องตีความให้ถูกต้องว่า  จะใช้อะไร

    เป็น “ฐานค่าจ้าง” ในการคิดคำนวณในการคิดค่าชดเชยบ้าง  ซึ่งบางครั้งก็

    เจอครับว่า  จ่ายไม่ครบ  เพราะใช้ฐานคำนวณผิด  กล่าวคือ  หลายองค์การ

    ใช้เพียง “เงินเดือน” หรือ “ค่าแรงพื้นฐาน” เป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชด

    เชย  ไม่ได้นำตัวเงินอื่นๆ ที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานมาคิดเป็นฐานคิด  

    ทำให้การจ่ายค่าชดเชยขาดไป  เรื่องเลยกลายเป็นว่าจ่ายค่าชดเชยแล้ว  แต่

    จ่ายขาด  เรื่องที่ไม่ควรเป็นเรื่อง  เลยเป็นเรื่องขึ้นมาอีก



    เรื่องอะไรเป็น “ค่าจ้าง” นี้  เป็นเรื่องยาวครับ  ขอยกไปว่ากันให้ละเอียดใน

    บทถัดไปนะครับ



    ไพศาล  เตมีย์



    จากหนังสือ  :  “เลิกจ้างต้องระวัง”  เขียนโดยคุณไพศาล  เตมีย์

    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  :  บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ วันมหาสงกรานต์ (13) 08:53:24 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com