 |
ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 20 ฐานที่ใช้คิดค่าชดเชย !
ฐานที่ใช้คิดค่าชดเชย
ดังที่กล่าวไว้ในบทก่อนแล้วว่า การคิดคำนวณจ่ายค่าชดเชยนั้นจะต้อง
ใช้ ค่าจ้าง เป็นฐานในการคิดคำนวณจ่าย กิจการไหนที่ใช้ เงินเดือน
เพียงตัวเดียวเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชย จะถูกต้องตามกฎหมาย
ได้ในกรณีเดียวเท่านั้นคือ ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นเงินในรูปแบบอื่น
เลย
ในความเป็นจริงแล้ว องค์การต่างๆ มักจ่ายค่าตอบแทนในรูปอื่นๆ กันอีก
หลายตัว เช่น ค่าตำแหน่ง ค่ากะ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่ารถ เป็นต้น คำ
ถามจึงเกิดขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้นจะต้องเอาเงินอื่นๆ เหล่านี้มารวมกันหมด เป็น
ฐานในการคิดค่าชดเชยจะถูกต้องหรือ
คำตอบเรื่องนี้ก็คือ ไม่ใช่ครับ แต่ให้เอาตัวเงินที่ถือว่าเป็น ค่าจ้าง เท่า
นั้นมารวมกันเป็นฐานในการคิดค่าชดเชย ตัวเงินตัวไหน ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ก็ไม่ต้องเอามารวมคิด
จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเงินตัวไหนที่ ถือเป็นค่าจ้าง บ้าง อันนี้ก็ต้องกลับไปดู
นิยามของคำว่า ค่าจ้าง ตามกฎหมายแรงงานว่ามีความหมายว่าอะไร แล้ว
ก็พิจารณาดูว่าตัวไหนที่เข้านิยามดังกล่าว ก็ต้องถือ เป็นค่าจ้าง ที่ต้องนำ
มาเป็นฐานคำนวณ
ในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ได้ให้คำนิยาม ค่าจ้าง หมาย
ความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายกันเป็นค่าตอบแทนในการทำ
งานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน ราย
สัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่
ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความถึงเงินที่
นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้าง
มีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
แม้นิยามของคำว่า ค่าจ้าง จะสั้นๆ เพียง 3 4 บรรทัดดังที่เห็น
แต่ในแต่ละคำนั้นมีความหมายทั้งสิ้น ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าอะไรเป็น
ค่าจ้างหรือไม่ จึงต้องไล่เรียงประเด็นหลักๆ ตามนิยามนี้ไปทั้งหมด พูด
ง่ายๆ ว่า ถ้าดูแล้วเข้าตามนิยามก็ต้องนำมาเป็นฐานคิดค่าชดเชย ถ้าไม่เข้า
ตามนิยามนี้ก็ถือว่าไม่ใช่ค่าจ้างและไม่จำเป็นต้องนำมาเป็นฐาน โดย
พิจารณาดังนี้
1. สิ่งที่จ่ายนั้น เป็นเงิน หรือไม่
ถ้าไม่ใช่ ตัวเงิน ก็ไม่ต้องพูดกันเลย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างแน่ๆ ไม่ว่าจะจ่าย
เพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ เรื่องนี้ฟังแล้วดู กวนๆ แต่ที่จริงแล้ว
แต่ก่อนนี้นิยามค่าจ้างรวมทั้ง เงินและสิ่งของ เข้าไปด้วย ต่อมาคำว่า สิ่ง
ของ ถูกตัดออกไปจากนิยาม ซึ่งก็ควรเป็นเช่นนั้น เพราะมิฉะนั้น กิจการ
ไหนการเงินฝืดเคืองขึ้นมา อาจคิดเอาผลิตภัณฑ์ที่ทำขายกันอยู่มาจ่ายให้
ลูกจ้าง เช่น กางเกงยีน รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น แบบนี้ลูกจ้างจะรับ
ประทานเข้าไปอย่างไร ถ้าสิ่งที่จ่ายเป็น เงิน ก็นับว่าเข้าตามนิยาม 1
ประเด็นแล้ว แต่จะสรุปเลยก็ยังไม่ได้ ต้องไปดูข้ออื่นๆ ต่ออีกว่าเข้าตามนั้น
ด้วยหรือไม่
2. เงินนั้น นายจ้าง เป็นผู้จ่ายหรือไม่
ถ้าใช่ แนวโน้มที่จะเป็นค่าจ้างก็มีมากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่นายจ้างเป็นผู้จ่าย
ปัญหาว่าตัวเงินนั้นจะเป็นค่าจ้างหรือไม่ก็ตัดออกไปได้ เช่น ค่าทิป ที่
ลูกค้า ให้โดยตรง กับพนักงานบริการ แบบนี้ก็ไม่ใช่เป็นค่าจ้างแน่ แต่
ถ้าเป็น Service Charge ที่กิจการนั้นเรียกเก็บจากลูกค้าแล้วเอามาจัดสรร
แบ่งให้พนักงานบริการตำแหน่งต่างๆ เป็นรายเดือนแบบนี้ ต้องถือว่า นาย
จ้างจ่าย แล้วนะครับ ไม่ใช่ ลูกค้าจ่าย
3. จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานหรือไม่
แม้เงินต่างๆ ที่จ่ายจะผ่าน ด่านข้อ 1 กับข้อ 2 มาได้ ก็ยังไม่พอที่จะสรุปกัน
เลยได้ว่าเป็น ค่าจ้าง ยังต้องดูต่อไปว่าเงินนั้นจ่ายเพื่อเป็น ค่าตอบแทน
ในการทำงาน หรือไม่ ถ้าให้เพื่อตอบแทนในการทำงาน เช่น ค่า
ตำแหน่ง ค่าเที่ยว ค่ากะดึก แบบนี้จะหลีกเลี่ยงว่าไม่ใช่ค่าจ้าง เห็นทีจะ
ยาก แต่ถ้าให้เพื่อเป็นสวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ค่า
เล่าเรียนบุตร เป็นต้น แบบนี้ก็เห็นได้ชัดๆ ว่าเป็น สวัสดิการ ไม่ใช่ ค่า
จ้าง
4. เงินนั้นจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกจ้างหรือไม่
ถ้าเข้าอีก ก็เข้าเกณฑ์ค่าจ้างได้ แต่ถ้าไม่ใช่ เช่น ค่าน้ำมันรถที่ต้องมีใบ
เสร็จมาแสดงการใช้จริงด้วย แบบนี้นายจ้างก็เพียงจ่ายผ่านลูกจ้างเพื่อเอา
ไปให้กับปั๊มน้ำมันเท่านั้น ลักษณะนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง
5. การจ่ายเงินนั้นเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ
ของวันทำงานหรือไม่
ตัวนี้เป็นตัวสำคัญตัวสุดท้าย ถ้าใช่ ก็เป็นค่าจ้าง ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นค่าจ้าง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดที่มักเรียกกัน
ย่อๆ ว่า ค่า OT เป็นต้น แม้เงินดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ตั้งแต่ข้อ 1 จนถึง
ข้อ 4 แต่ก็ยังคงไม่ถือเป็น ค่าจ้าง ทั้งนี้เพราะเงินดังกล่าว แม้จ่ายเป็นการ
ตอบแทนการทำงานก็จริง แต่ก็เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานที่อยู่ นอก
หรือเกินเวลาทำงานปกติ เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นค่าจ้าง
เห็นไหมครับว่า การที่จะดูว่าเราที่เราจ่ายๆ กันอยู่ ตัวไหนเป็นค่าจ้างที่ต้อง
นำมาเป็นฐานเพื่อคิดคำนวณจ่ายค่าชดเชยนั้น ก็ไม่ใช่ดูกันได้ง่ายๆ เหมือน
กัน
แต่ถึงจะดูไม่ง่ายนัก ก็ต้องทำให้ถูกต้อง หยิบตัวเงินที่เป็นค่าจ้างมาคำนวณ
จ่ายค่าชดเชยให้ครบ
นายจ้างที่ดีต้องไม่ฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานครับ
ไพศาล เตมีย์
จากหนังสือ : เลิกจ้างต้องระวัง เขียนโดยคุณไพศาล เตมีย์
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด
จากคุณ :
ลุงแอ็ด
- [
20 เม.ย. 52 08:56:12
]
|
|
|
|
|