Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 21 แล้วที่จ่ายๆ กันอยู่ อะไรเป็น “ค่าจ้าง” อะไร “ไม่ใช่”?(ตอนที่ 1)

    แล้วที่จ่ายๆ กันอยู่  อะไรเป็น “ค่าจ้าง” อะไร “ไม่ใช่”?



    “ค่าจ้าง” ไม่เพียงแต่ใช้เป็นฐานในการคิดคำนวณ  “ค่าชดเชย” และ “ค่า

    บอกกล่าวล่วงหน้า”
     เท่านั้น  แต่การคิดคำนวณเงินสมทบประกันสังคมก็ใช้

    ค่าจ้างเป็นฐานด้วย



    ในบทที่จึงนำเงินต่างๆ ที่จ่ายกันอยู่มาไล่เรียงให้เห็นว่าในแง่ของกฎหมายคุ้ม

    ครองแรงงาน  และในแง่ของประกันสังคมแล้ว  มองว่าอะไรเป็นค่าจ้าง  

    อะไรไม่ใช่  ดังนี้



    1. ค่าตำแหน่ง

    หลายกิจการกำหนดให้พนักงานระดับต่างๆ ได้ “ค่าตำแหน่ง” ในอัตราที่ไม่

    เท่ากัน  แตกต่างกันไปตามระดับของพนักงาน เช่น


    ระดับ ผู้อำนวยการ ค่าตำแหน่ง 10,000.-บาท


    ระดับ ผู้จัดการ ค่าตำแหน่ง   5,000.-บาท


    ระดับ หัวหน้าส่วน ค่าตำแหน่ง   2,000.-บาท  เป็นต้น


    หากกำหนดจ่ายค่าตำแหน่งลักษณะทำนองนี้ละก็  บอกได้คำเดียวว่า  หนีไม่

    พ้นเป็นค่าจ้างแน่ๆ ครับ  ลองพิจารณาเทียบกับนิยามศัพท์ “ค่าจ้าง” และ

    สรุปหลักตามที่ได้อธิบายไว้  เข้าเกณฑ์ค่าจ้างทุกข้อไม่ต้องสงสัยครับ

    เคยมีบริษัทหนึ่งทำหนังสือหารือไปที่สำนักงานประกันสังคมว่าเงิน “ค่า

    ตำแหน่ง”
    ที่จ่ายอยู่เป็นจำนวนที่เท่ากันทุกเดือน  จะมากน้อยกว่ากันก็ขึ้นอยู่

    กับระดับความสำคัญของแต่ละตำแหน่งงาน  เงินดังกล่าวถือเป็นสวัสดิการ

    หรือเป็นค่าจ้าง  ก็ได้รับคำตอบข้อหารือจากสำนักงานประกันสังคมว่า



    “เนื่องจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  บริษัทจ่ายให้ในลักษณะเป็นการประจำ  

    โดยจ่ายให้กับพนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้างานขึ้นไป  และเป็นจำนวนเงินที่

    แน่นอนตามลำดับความสำคัญของแต่ละตำแหน่ง  จึงเห็นว่าเป็นเงินที่นาย

    จ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานในตำแหน่งใดตำแหน่ง

    หนึ่ง  จึงเป็น  ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2537 มาตรา





    ดังนั้น  ถ้าจ่ายเงิน “ค่าตำแหน่ง” อยู่แล้ว  และไม่ได้นำมาเป็นฐานค่าจ้างใน

    การคำนวณเงินต่างๆ ที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นเงินสมทบประกัน

    สังคม  ค่าชดเชย  ค่าล่วงเวลา เป็นต้น  ให้นำมารวมคำนวณจ่าย  (เมื่อต้อง

    จ่าย)  ได้เลยครับ  มิฉะนั้น  ถูกเช็คบิลย้อนหลังได้แน่ๆ ไม่ค่าใดก็ค่าหนึ่ง



    2. ค่าครองชีพ

    แม้ว่าจะเคยมีองค์การจำนวนมากต่อสู้ว่า “ค่าครองชีพ”  ไม่ใช่  “ค่าจ้าง”  ทั้ง

    นี้เพราะไม่ได้ให้เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน  แต่ให้เนื่องจากเป็นการ

    ช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูง  แต่เมื่อมีเรื่องฟ้องไปสู่ศาล

    หรือสำนักงานประกันสังคม  ก็มักจะได้ข้อสรุปเดียวกันว่า  เป็นค่าจ้าง  ดัง

    ตัวอย่างคือ ฎีกาที่ 509/2525



    “เงินค่าครองชีพที่จ่ายเป็นเงินเดือน  มีลักษณะการจ่ายเป็นการประจำและ

    แน่นอน  เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียว

    กันค่าจ้าง  แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในเวลาที่เศรษฐกิจมีค่าครองชีพสูงขึ้นก็

    ตาม  เงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง”




    ส่วนทางประกันสังคมก็เห็นเหมือนกัน  ซึ่งเห็นได้จากการตอบข้อหารือที่มี

    ต่อบริษัทหนึ่งว่า



    “บริษัทกำหนดจ่ายให้ลูกจ้างรายวัน  และรายเดือนเฉพาะวันที่ลูกจ้างมา

    ปฏิบัติงานในอัตราวันละ 15 บาท  ซึ่งเป็นการจ่ายที่มีจำนวนแน่นอน และ

    เป็นการประจำ  มิใช่เป็นการจ่ายครั้งคราว  อันถือได้ว่าการจ่ายเงินค่าครอง

    ชีพดังกล่าว  เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงาน

    ปกติ  เพิ่มจากค่าจ้างรายวันหรือรานเดือนที่จ่ายให้กับลูกจ้างตามปกติอยู่

    แล้ว  จึงเป็นค่าจ้างตามความมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.

    ศ. 2533  บริษัทจะต้องนำไปใช่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบนำส่งเข้า

    กองทุนประกันสังคม  ทั้งนี้  เป็นไปตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1133-

    1268/2525 ลงวันที่ 30 เมษายน 2525”




    3. ค่ากะ


    ปกติกิจการที่มีการทำงานเป็นกะมักจะแบ่งงานเป็น 3 กะ  คือ  กะเช้า  กะ

    บ่าย  และกะดึก  เช่น  กะเช้า  ทำเวลา 06.30 – 14.30 น.  กะบ่าย  ทำ

    เวลา 14.30 – 22.30 น. และกะดึก  ทำเวลา 22.30 – 06.30 น. เป็นต้น



    การทำงานเป็นกะลักษณะนี้ทำให้ลูกจ้างเกิดความยากลำบากมากกว่าการ

    เข้างานตามปกติ แบบ Office Hour คือ 08.00 – 17.00 น.



    กล่าวคือ  หากเป็นกะเช้าเข้าทำงาน 06.30 น.  ก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้า

    มืด  ถ้าเป็นกะบ่ายเลิกงานเข้าไป 4 ทุ่มครึ่ง  รถกลับบ้านก็หาลำบาก  แต่ถ้า

    เป็นกะดึกก็ทำงานในเวลาที่ชาวบ้านเขานอนกัน  อาจจะง่วงต้องฝืนทำงาน

    เป็นต้น



    ด้วยความยากลำบากลักษณะดังกล่าว  หลายบริษัทก็เลยนิยมให้ “ค่ากะ”  

    แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการชดเชยความลำบากต่างๆ นั้น  บางกิจการก็ให้

    เฉพาะ “กะดึก”  บางกิจการก็ให้ “กะบ่ายและกะดึก” ในขณะที่บางกิจการก็

    ให้ทุกกะ



    กิจการจำนวนมากคิดว่า  “ค่ากะ”  ที่ให้นั้นเป็น  “ค่าสวัสดิการ”  ไม่ใช่ค่า

    จ้าง    เพราะเป็นการให้เพื่อชดเชยแก่ผู้ที่ต้องตื่นเช้ากว่าปกติ  หรือเลิกดึก

    กว่าปกติทำให้กลับบ้านลำบาก  ค่ารถตอนดึกก็แพงกว่า เป็นต้น



    เมื่อไม่คิดเป็น  “ค่าจ้าง”  หลายกิจการก็เลยไม่นำมารวมเป็นฐานค่าจ้างเพื่อ

    คำนวณส่งเงินสมทบประกันสังคม  และไม่ได้หักเงินเดือนในส่วนของผู้

    ประกันตนไว้ด้วย  เมื่อถูกสำนักงานประกันสังคมตรวจพบ  จึงถูกสั่งจ่ายย้อน

    หลังนับปี รวมทั้งต้องจ่ายในของลูกจ้างนับปีอีกด้วย  แถมด้วยเบี้ยปรับจาก

    การทำผิดอีกต่างหาก  รวมๆ กันแล้วจึงเป็นเงินมหาศาล  บางกิจการก็ต้อง

    จ่ายย้อนหลังนับล้านบาทครับ !



    ถามว่าเรื่องนี้จะต่อสู้คดีดีไหม  ก่อนจะตอบเรื่องนี้  ก็ต้องขอนำคำพิพากษา

    ศาลฎีกาและแนวคิดของสำนักงานประกันสังคมมาให้ดูกันก่อนว่ารัฐมอง “ค่า

    กะ”
    อย่างไร  ทำไมจึงตีความเป็นค่าจ้าง  กล่าวคือ



    สำนักงานประกันสังคมเคยตอบข้อหารือเรื่องนี้ว่าเป็น  “ค่าจ้าง”  โดยอิงกับ

    คำพิพากษาศาลฎีกา ว่า

    “เงินค่าเข้ากะดึกที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานทุกคนที่เข้าทำงานช่วงกะดึก

    นั้น  กรณีนี้เคยมีแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1437/2524 วินิจฉัยว่า  เงินเพิ่ม

    พิเศษค่าทำงานเข้าผลัดหมุนเวียนในรอบกลางคืน  เป็นเงินที่นายจ้างจ่าย

    ตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้าง”




    4. ค่าน้ำมันรถ

    4.1 ค่าน้ำมันรถที่มีลักษณะ “ไม่เป็นค่าจ้าง”

    โดยส่วนใหญ่แล้ว “ค่าน้ำมันรถ” มักจะไม่ใช่ค่าจ้าง  ทั้งนี้ด้วยเหตุหลาย

    ประการต่างๆ กัน  เช่น



    - บางกรณีที่ให้เป็นการช่วยเหลือตอบแทนการเดินทางไป-กลับ

    ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน  ซึ่งก็เห็นได้ชัดว่าไม่ได้ให้เพื่อ “ตอบแทนการทำ

    งาน”



    - แม้หลายกรณีเป็นการให้เพื่อเป็นค่าน้ำมันรถในการเดินทาง

    ระหว่างการทำงานจริงๆ ก็ตาม  แต่ก็เป็นการให้เพื่อไปจ่ายต่อให้ปั๊มน้ำมัน  

    และต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงว่าใช้จริง  จึงจะเบิกค่าน้ำมันรถได้  จึงไม่

    ใช่เป็นการให้เพื่อเข้ากระเป๋าลูกจ้าง  ลักษณะนี้ก็ไม่เข้ากับคำนิยามว่า “ค่า

    จ้าง”[/u] จึงไม่เป็นค่าจ้าง เป็นต้น ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา  หรือแนวการตี

    ความของสำนักงานประกันสังคมว่า  ค่าน้ำมันรถไม่ใช่ค่าจ้าง  ก็มีให้เห็นมาก

    มาย เช่น



    ฎีกาที่ 2601/2526 ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จรับเงิน

    แสดง  และเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน  

    หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่  ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่า

    จ้าง



    หรือฎีกาที่ 994/2524 ค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทย์  แม้จะเป็นการ

    จ่ายโดยไม่มีใบเสร็จมาแสดง  แต่ว่าจำนวนที่โจทย์ได้รับมาไม่แน่นอน  แล้ว

    แต่ว่าโจทย์ไปทำงานกี่วัน  ซึ่งในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันที่โจทย์ขาดงาน

    หรือวันที่ลาหยุดงานก็ไม่ได้รับ  การจ่ายค่าน้ำมันรถในลักษณะนี้เป็นการจ่าย

    เพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของโจทย์  ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำ

    งาน  จึงไม่เป็นค่าจ้าง



    ส่วนสำนักงานประกันสังคมก็เคยมีความเห็นตอบข้อหารือของกิจการหนึ่งที่มี

    การจ่ายค่าน้ำมันรถให้กับพนักงานขายว่า “เนื่องจากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  

    บริษัทได้กำหนดการจ่ายโดยคำนึงถึงยอดขายที่พนักงานแต่ละคนจะทำได้  

    ถ้ายอดขายมาก  ก็จะได้รับค่าน้ำมันมากขึ้น  และนำบิลค่าน้ำมันมาแสดงให้

    ครบตามจำนวนเงินที่มีสิทธิได้รับจากยอดขายที่บริษัทกำหนด  จากลักษณะ

    การจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าว  เห็นว่ามิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำ

    งาน  แต่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่าย

    ในการทำงานของลูกจ้าง  เงินค่าน้ำมันจึงไม่เป็นค่าจ้าง  ตามความหมายแห่ง

    พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2537 มาตรา 5 ไม่ต้องนำส่งเป็นเงิน

    สมทบกองทุนประกันสังคม”




    อย่างไรก็ดี  แม้ว่าจะเคยมีกรณีต่างๆ ว่าค่าน้ำมันรถไม่เป็นค่าจ้าง  แต่ก็ต้อง

    ไม่เหมาเอาว่า  ถ้ากิจการจ่ายค่าน้ำมันอยู่แล้วจะ “ไม่เป็นค่าจ้าง” เสมอไป  

    อาจกล่าวได้ว่า  มีหลายกรณีด้วยซ้ำที่ค่าน้ำมันรถกลายเป็นค่าจ้าง.......



    (ยังมีต่อ ... ในกรณีที่ค่ารถ “เป็นค่าจ้าง”....โปรดติดตามได้ในสัปดาห์หน้า)



    ไพศาล  เตมีย์



    จากหนังสือ  :  “เลิกจ้างต้องระวัง”  เขียนโดยคุณไพศาล  เตมีย์

    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  :  บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด

    จากคุณ : ลุงแอ็ด - [ 26 เม.ย. 52 17:50:33 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com