ลุงแอ็ด.....เอามาฝาก ตอนที่ 22 แล้วที่จ่ายๆ กันอยู่ อะไรเป็น ค่าจ้าง อะไร ไม่ใช่?(ตอนที่ 2)
แล้วที่จ่ายๆ กันอยู่ อะไรเป็น ค่าจ้าง อะไร ไม่ใช่ (ต่อ)?
4.2 ค่าน้ำมันรถที่ เป็นค่าจ้าง
ฎีกาที่ 178/2528
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นการเหมาเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน โดยไม่
คำนึงว่าโจทย์จะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถหรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายเป็น
จำนวนมากน้อยเท่าใด ค่าน้ำมันรถย่อมเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทย์เป็น
การประจำ และมีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือน จึงถือเป็นค่าจ้าง
ส่วนด้านสำนักงานประกันสังคมก็เคยมีกิจการหนึ่งจ่ายค่าน้ำมันรถให้
พนักงานระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทหนึ่งมี
ความรับผิดชอบสูงก็ได้น้ำมันเดือนละ 1,500.-บาท อีกประเภทหนึ่ง ได้ค่า
น้ำมันรถ เดือนละ 1,000.-บาท ส่วนพวกวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีไม่ได้ค่าน้ำมัน
รถ ซึ่งการจ่ายค่าน้ำมันรถลักษณะนี้
ทางสำนักงานประกันสังคมเคยมีคำตอบว่า การจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงมี
เจตนา เพื่อให้พนักงานที่มีวุฒิปริญญาตรีได้ค่าตอบแทนในการทำงานเพิ่ม
ขึ้นจากเงินเดือนที่ได้รับอยู่แล้ว โดยบริษัทจ่ายให้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน
และเป็นการประจำทุกเดือน ซึ่งไม่มีการตรวจสอบว่า ได้มีการใช้จ่ายเป็น
ค่าน้ำมันรถจริงหรือไม่ และใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไรในแต่ละเดือน จึงถือได้
ว่าเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานตามปกติ ไม่
ใช่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นค่าจ้าง การที่บริษัทเรียกเงินที่จ่ายว่าเป็นค่าน้ำมัน
รถ ก็มิได้มีผลทำให้เงินค่าน้ำมันนั้นมิใช่ค่าจ้างแต่ประการใด
5. ค่าพาหนะ/ค่ารถ
ค่าพาหนะ ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่หลายบริษัทจ่ายให้กับพนักงาน เพื่อช่วย
เหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาปฏิบัติงาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ซึ่งโดยทั่ว
ไปแล้ว หากออกระเบียบกำหนดวัตถุประสงค์การจ่ายให้ชัดเจน เงินจำนวน
ที่ให้ก็พอเหมาะพอควรกับการใช้เพื่อวัตถุประสงค์นั้น ค่าพาหนะก็มักจะถือ
เป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง แต่ถ้าจ่ายเกินกว่าที่น่าจะเป็นค่าพาหนะเดินทาง
จริงๆ หรือจ่ายเป็นรูปของผลตอบแทนการใช้รถแบบเหมาจ่ายไปพร้อมกับ
เงินเดือน ไม่สนใจว่าใช้อย่างไร เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ก็อาจมี
ผลทำให้ค่าพาหนะกลายเป็นค่าจ้างได้ ดังตัวอย่างคือ
5.1 ค่าพาหนะที่เป็นค่าจ้าง
ฎีกาที่ 6689/2542
จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือน เดือนละ 65,000.-บาท และเงินผลตอบแทนอีก
เดือนละ 15,000.-บาท ให้แก่โจทย์ โดยจำเลยไม่จัดรถยนต์และค่าใช้จ่าย
ใดทางรถยนต์ให้แก่โจทย์ แต่ผลตอบแทนดังกล่าว ต้องนำรวมเข้าเสมือน
เป็นรายได้ที่รับเพิ่มในแต่ละเดือน เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทย์อีกเดือนละ
15,000.-บาท จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติ
ของวันทำงานของโจทย์ ในอัตราที่แน่นอนเท่ากันทุกๆ เดือน ทำนองเดียว
กันกับเงินเดือน เงินผลตอบแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทย์ดังกล่าว จึงเป็นค่าจ้าง
ฎีกาที่ 172/2524
ค่าพาหนะ ได้ความว่า ตำแหน่งการงานของโจทย์ ต้องออกไปติดต่องาน
นอกสถานที่ จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเดิน
ทางออกไปทำงานของโจทย์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ให้เป็น
ค่าใช้จ่ายที่โจทย์ได้เสียไปโดยแท้จริง โจทย์จะเสียน้อยหรือมากกว่า
จำเลยที่ 1 ก็จ่ายในอัตราเดือนละ 1,500.-บาท เช่นนี้เงินจำนวนดังกล่าวถึง
หากจะเรียกว่า ค่าพาหนะ ก็คือเงินตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวัน
ทำงานในตำแหน่งหน้าที่โจทย์ เป็นค่าจ้าง
5.2 ค่าพาหนะ ไม่ใช่ค่าจ้าง
หลายกิจการจ่ายเงินช่วยค่ารถเดินทางมาทำงานให้แก่พนักงาน โดยจ่ายให้
เฉพาะวันที่ทำงาน หากหยุดหรือลาก็จะไม่ได้ และให้วันละ 15 บาท (มาก
หรือน้อยแล้วแต่บริษัท) ลักษณะนี้เคยมีข้อหารือไปที่สำนักงานประกัน
สังคม และได้รับคำตอบข้อหารือว่า เงินดังกล่าวเป็นสวัสดิการ จ่ายเพื่อ
ช่วยเหลือการเดินทางของพนักงานไม่ใช่ตอบแทนการทำงาน จึงไม่ใช่ค่า
จ้าง
6. ค่าที่พัก
ชื่อก็บอกแล้วว่าจ่ายให้เพื่อเป็นค่าที่พัก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ไม่ใช่เป็นการ
ตอบแทนการทำงาน คดีไปสู่ศาลหรือแม้ข้อหารือที่มีไปยังสำนักงานประกัน
สังคมก็มักจะได้คำตอบไปในแนวเดียวกันว่า ค่าที่พัก ไม่ใช่ค่าจ้าง ดัง
ตัวอย่าง คือ
ฎีกาที่ 1437/2524
เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่นายจ้างจ่ายตามข้อบังคับการทำงาน เนื่องจาก
นายจ้างไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ลูกจ้างได้ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่จ่าย
เพื่อตอบแทนการทำงาน ในเวลาทำงานปกติของเวลาทำงาน แม้จะจ่ายเงิน
จำนวนที่เท่าๆ กันทุกเดือน ก็มิใช่ค่าจ้าง
ฎีกาที่ 3964/2528
นายจ้างจ่ายค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือน แม้จะมีจำนวนที่แน่
นอน แต่ไม่ถือเป็นค่าจ้าง เพราะเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่
ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการในเรื่องที่พักอาศัย ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทน
การทำงาน
มีบริษัทหนึ่งอยู่ที่จังหวัดระยอง จ่ายค่าที่พักให้พนักงานในอัตรา 15% ของ
เงินเดือน โดยให้ขั้นต่ำเดือนละ 2,000.-บาท และขึ้นสูงไม่เกิน 8,000.-
บาท ส่วนพนักงานที่บริษัทจัดที่พักให้จะไม่ได้ค่าที่พัก มีข้อหารือไปที่
สำนักงานประกันสังคมว่า ค่าที่พักที่จ่ายให้ในเงื่อนไขดังกล่าว เป็นค่าจ้างที่
ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่ ก็ได้รับคำ
ตอบว่า การจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในลักษณะดังกล่าว เป็นการจ่ายเพื่อเป็น
สวัสดิการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำ
งานในวันและเวลาทำงานตามปกติ จึง มิใช่ค่าจ้าง
7. ค่าอาหาร
ดูแต่ชื่อก็คิดว่าอาจจะเป็นสวัสดิการชัดๆ จะเป็นค่าจ้างซึ่งจ่ายเพื่อตอบแทน
การทำงานไปได้อย่างไร ก็ต้องขอบอกกล่าวว่า เป็นได้ครับ ถ้าการจ่าย
เงินกันแบบมากมายจนไม่อาจเห็นตามได้ว่าจะเป็นค่าอาหารไปได้อย่างไร
หลักฐานการจ่ายก็ไม่ต้องมี ดังตัวอย่าง
ฎีกาที่ 5498/2543
ค่าอาหารเดือนละ 15,000.-บาท ที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทย์
เนื่องจากโจทย์ต้องไปทำงานที่โครงการวางท่อก๊าซที่จังหวัดราชบุรีเป็น
ประจำทุกเดือน โดยโจทย์ก็ไม่ต้องนำหลักฐานการเบิก และไม่ว่าโจทย์จะ
ทำงานเดือนละกี่วัน เงินดังกล่าวจึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานใน
โครงการ ถือว่าเป็นค่าจ้าง
อย่างไรก็ดี ค่าอาหาร ถ้าให้เป็นค่าอาหารจริงๆ หรือมีเจตนาเพื่อช่วยค่า
อาหารอย่างชัดเจน ก็ไม่ใช่ค่าจ้าง ดังตัวอย่างคือ
ฎีกาที่ 1717/2530
ค่าอาหารที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหา
นคร เนื่องจากสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างที่
อำเภอสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารจึงเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง อันมีลักษณะ
เป็นการให้สวัสดิการ มิใช่จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานในเวลาปกติ จึงไม่
เป็นค่าจ้าง
ด้านสำนักงานประกันสังคมก็เคยตอบข้อหารือ กิจการหนึ่งที่ทำงานเป็นกะ
โดยจัดอาหารให้กะเช้า ส่วนกะบ่ายและกะดึกจ่ายเป็นเงินให้ว่า จ่าย
ลักษณะนี้เป็นสวัสดิการ ดังแนวทางคือ
กรณีเงินค่าอาหารที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานที่เข้าทำงานในกะที่ 2
(เวลา 14.30 22.30 น.) เป็นเงินจำนวน 15.-บาท และกะที่ 3 (เวลา
22.30 06.30 น.) เป็นจำนวนเงิน 25.-บาท ส่วนพนักงานที่เข้าทำงานใน
กะที่ 1 (เวลา 06.30 14.30 น.) บริษัทจะจัดอาหารให้พนักงานรับประทาน
นั้น เห็นว่า การจ่ายค่าอาหารดังกล่าวเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง
ของบริษัทฯ อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้เป็นการจ่าย
ให้เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ เงินค่าอาหารดังกล่าวจึงๆ
ไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่ต้องนำมาเป็นฐานค่าจ้างในการคำนวณเพื่อหักเป็นเงิน
สมทบนำส่งสำนักงานประกันสังคม
(ยังมีต่อนะครับ ในเรื่อง...เบี้ยขยัน, เงินค่าบริการและค่านายหน้าการ
ขาย....อะไรเป็นค่าสวัสดิการ อันไหนเป็นเงินค่าจ้าง.....กรุณาอ่านต่อฉบับ
หน้าครับ)
ไพศาล เตมีย์
จากหนังสือ : เลิกจ้างต้องระวัง เขียนโดยคุณไพศาล เตมีย์
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด
จากคุณ :
ลุงแอ็ด
- [
4 พ.ค. 52 10:13:03
]
|
|
|
|
|