ความคิดเห็นที่ 23
จากประสบการณ์ในตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สถานะของผู้ค้าปลีก+ค้าส่ง ใกล้เคียงกันมาก จะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ ในเรื่องราคาขายหรือราคาประกาศ เช่นร้านค้า เขียนป้ายหน้าร้านว่าขายปลีก+ส่ง นั่นหมายถึงถ้าซื้อจำนวนมาก ก็ได้ราคาส่ง ซื้อน้อยก็ได้ในราคาปลีก ในเว็บก็เช่นกัน แต่จะมีปัญหามาก หากเอเย่นต์หรือผู้จัดจำหน่าย ทีทำหน้าที่กระจายสินค้าให้กับโรงงาน ซึ่งมีมาร์จินเพียงน้อยนิด มาทำตลาดแบบปลีก โดยขายในราคาส่ง ซึ่งเอเยนต์จะไม่คิดสั้นที่ทำเช่นนั้น ถ้าทำแบนนั้นสินค้าจะค่อยๆหายไปจากตลาดและตายไปพร้อมกับโรงงาน อย่างทรมานที่สุด ตัวอย่างกลไกราคาของสินค้าอุตสาหกรรมพลาสติก จะเป็นดังนี้(ต้นทุน/รายการ) -ราคาเอเย่นต์(เถ้าปั๊ว) 900 บาท/หน่วย จำนวนสั่งผลิตขั้นต่ำ 1000 หน่วย -ราคาผู้ค้าส่ง(ยี่ปั๊ว) 1,000 บาท/หน่วย จำนวนสั่งซื้อขั้นต่ำ 100 หน่วย -ราคาผู้ค้าปลีก(ซาปั๊ว) 1,100 บาท/หน่วย จำนวนสั่งขั้นต่ำ 10 หน่วย หากซาปั๊วมีการสั่งซื้อมากกว่า 100 หน่วย ราคาต้นทุนก็จะใกล้เคียง 1,000 บาท/หน่วย ขึ้นกับการลงทุน สถานะก็จะเป็นผู้ค้าส่ง(ยี่ปั๊ว) -ราคาผู้บริโภคแบบปลีก 1,500 บาท/หน่วย จำนวนสั่งซื้อ1-10 หน่วย -ราคาผู้บริโภคแบบส่งหรือแบบอุตสาหกรรม 1,350 บาท/หน่วย จำนวน 10 หน่วยขึ้นไป ดังนั้นราคาที่เห็นและขายทั่วไปในเว็บ ถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งของผู้ค้าปลีก+ค้าส่ง ที่ทำตลาดกันอยู่ทั่วไป อาจเห็นว่าเป็นราคาส่ง แต่ความเป็นจริงมันคือราคาผู้บริโภค และกลไกดังกล่าวนี้ ใช่ว่าการเป็นเอเย่นต์ จะดีเสมอไป ต้องลงทุนสูงมาก ต้องมีคลังเก็บสินค้า มีการกระจายสินค้าที่สม่ำเสมอเพื่อป้อนงานและกำลังผลิตให้กับโรงงาน เป็นตัวจักรสำคัญ แต่ถ้าเอเย่นต์ปรับตัวเอง และเปิดขายสินค้าทางเว็บในราคาปกติ ก็สามารถทำได้คือการตั้งราคาผู้บริโภค ก็จะมีมาร์จินหรือกำไรสุทธิสูงขึ้น
จากคุณ :
ความคิดเห็นที่4
- [
22 พ.ค. 52 20:04:44
A:222.123.32.198 X: TicketID:039351
]
|
|
|