Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    ๐ ๐ ๐ 7. การใช้ Excel ในตำแหน่งงานต่างๆ (นักวางแผนการตลาด3) ๐ ๐ ๐/Leverage

    7. การใช้ Excel ในตำแหน่งงานต่างๆ (นักวางแผนการตลาด3)

    จากตัวอย่างที่แล้ว ที่นำเสนอ เทคนิคการใช้ Pivot Table แพลบๆ
    หลายคนคงเห็นแล้วว่า วัตถุประสงค์การนำไปใช้เพื่อ เน้นการสรุป แยกแยะ ข้อมูล เป็นส่วนๆ
    โดยเป็นการหมุนดูหลายๆมุม

    ซึ่งนั่นถือว่าเป็นจุดเด่นของการทำ Pivot Table เลยทีเดียว พลุ





    idea ข้อสังเกตประการหนึ่งที่เราจะเห็นได้ชัดคือ
    การจะแยกแยะ วิเคราะห์ ลูกค้า แบ่งกลุ่ม จัดกลุ่ม ดูจำนวน นั้น จะทำได้มากน้อยลึกซึ้ง ขึ้นกับข้อมูลตั้งต้นที่เรามี

    เวลาทำงานอาจลองจินตนาการเพิ่มว่าถ้า อยากได้ข้อมูลไหนเพิ่ม แล้วจะหาจากไหน

    หรือ ลองดูซิว่า ในระบบฐานข้อมูลทั้งหมดที่เรามี มีข้อมูลอะไรอีกบ้างที่จะนำมาช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ละเอียดขึ้น

    เพื่อบ่งชี้ชัดให้เจาะลึกตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างถึงกึ๋น!! exclaim






    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น ลอยกระทง

    บริษัทอย่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
    จะมีข้อมูลว่า แต่ละคนมีการโทรเข้าออก เวลาไหน? โทรแต่ละครั้งเฉลี่ยกี่นาที? โทรหากี่เบอร์?

    ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็จะมาช่วยทั้งในการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ ที่เฉพาะเจาะจงกับความต้องการของกลุ่มนั้น
    รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตรงใจกับพฤติกรรมลูกค้าเสมอๆ
    (หมายเหตุ: โดยปกติบริษัทที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ทำCRM มักจะมีโปรแกรมเฉพาะ เพราะต้องการเน้น
    วิเคราะห์จากฐานข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีโปรแกรมเกี่ยวฐานข้อมูลอย่าง ACCESS SAS ฯลฯ
    อย่างไรก็ตาม Excel ก็ยังมีประโยชน์ในการใช้คำนวณ หรือตัดสินใจจากข้อมูลดังจะแสดงในตัวอย่างต่อไป)

    ข้อมูลจึงค่อนข้างมีความสำคัญต่อการนำไปวางแผน หรือการทำงานต่อๆไป


    ในทำนองกลับกัน ถ้าเรามีข้อมูลน้อยหรือ "ตีวงกว้างเกินไป" โมเมเอา ว่านี่แหล่ะกลุ่มเป้าหมาย
    เราก็จะวางแผนไปผิดทิศผิดทาง
    อาจเพราะข้อมูลน้อยเกินไป หรือ มีข้อมูลแต่วิเคราะห์ไม่เป็น

    ดังนั้นจะเห็นว่า ด้วยข้อมูลที่มีเท่าๆกัน แต่ละคนก็วิเคราะห์ออกมาได้เก่งไม่เท่ากัน

    นั่นเป็นเพราะ "ประสบการณ์" "ความคิดสร้างสรรค์" "องค์ความรู้" ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน
    ทำให้กลั่นออกมาเป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน การตีโจทย์ที่แตกต่าง
    พลุ







    เรามาดูประโยชน์จาก Excel กันต่อครับ!!
    exclaim


    จากตัวอย่างบทที่แล้ว จากไฟล์ File: 0006_Cus_Profile (download)

    เดิมเราเคยใช้ Pivot ได้ผลลัพธ์ออกมาว่า

    <ดูรูป คห.1>


    ซึ่งจาก List รายชื่อทั้งหมดเราจะเห็นว่าแต่ละกลุ่มรายได้มีจำนวนคนเป็นอย่างไร
    และกลุ่มรายได้ที่เราสนใจ แบ่งตามกลุ่มอายุแล้ว แต่ละกลุ่มมีใครบ้าง
    (สามารถเรียกดูได้จากการ double click ในช่องตาราง pivot ที่ต้องการ)
    และรวมเป็นจำนวนเท่าไหร่


    ซึ่งถ้าเรามีข้อมูลมากขึ้นเช่น เรามีข้อมูลว่าลูกค้าแต่ละคนปัจจุบันใช้สินค้าอะไรบ้าง โดยไฟล์ตัวอย่างเช่น
    File: 0006_Cus_Sum (download)

    <ดูรูป คห.2>






    เราก็สามารถทำการวิเคราะห์ได้มากขึ้นจากข้อมูลที่เพิ่มมา เราจะเห็นถึง อะไรๆ อีกหลายอย่างที่เราจะทำได้

    โดยสมมติว่าผมตั้ง "ความอยาก" ไว้ดังนี้

    ค้างคาว 1. คนที่ไม่มีบัตร ATM หรือคนที่มีบัตร ATM ต้องเสนอบัตร Debit ให้
    สมมติได้ค่าธรรมเนียมครั้งแรกคนละ 200 บาท ได้รายปีคนละ 150 บาท
    ตั้งเป้ารายได้เท่ากับ จำนวนคน x รายได้ค่าธรรมเนียม

    ค้างคาว 2. เสนอขายบัตรเครดิตให้กับกลุ่ม "โสดวัยทำงาน" และ "แต่งงานมีครอบครัว"
    รายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
    ถ้าใช้สินเชื่อต้องไม่เคยมีประวัติการผิดการชำระ

    ค้างคาว 3. ผู้หญิงอายุ 45 - 50 ปี มีเงินฝากมากกว่า 100,000 บาท
    จะเสนอประกันชีวิต หรือเน้นประกันสุขภาพของผู้หญิง

    ค้างคาว 4. กลุ่มผู้มีเงินฝาก 500,000 ขึ้นไป จะเสนอกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทน
    ที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก

    โดยที่อยากรู้ว่าถ้าเราขายของให้กับแต่ละกลุ่ม เราจะได้รายได้ กำไร กลับมาเท่าไหร่
    เพื่อดูว่า เราจะเลือกกลุ่มลูกค้าไหนก่อน หรือทำทั้งหมด ถ้าทำจะทำอะไรก่อนหลัง


    ทั้งหมดนั้นเป็นตัวอย่างคร่าวๆ ให้เห็นภาพว่า เรา "อยาก" ได้ผลลัพธ์อะไร





    question ปัญหาในตอนนี้คือ

    ข้อมูลที่เรามีตอนนี้อยู่คนละไฟล์กัน

    นั่นหมายถึง ถ้าเราจะใช้งานได้ ต้องเอาข้อมูลทั้งสองไฟล์มารวมในไฟล์เดียวกัน
    โดยที่ข้อมูลต้องเป็นของลูกค้ารายนั้นๆ ไม่มั่วไปมา

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวเราจึงจำเป็นที่จะใช้เทคนิคอีกประการที่เป็นเทคนิคยอดนิยมคือ




    เทคนิคที่ 2 ฟังก์ชั่น Vlookup
    ของขวัญ


    ฟังก์ชั่น Vlookup มีญาติอีก 2 ตัวคือ Hlookup และ lookup และมีญาติห่างๆอีกหลายตัวเช่น Index, Match
    ซึ่งทั้งหมดเป็นฟังก์ชั่นในกลุ่มตระกูล Lookup & Reference (มองหา อ้างถึง)

    VLookup ใช้งานอย่างไร?? (ถ้าใครอยากดูแบบละเอียด ให้ดูใน help)


    ค่าที่เราอยากได้ =VLOOKUP(ค่าที่ใช้มองหา,พื้นที่ที่จะมองหา,ลำดับคอลัมน์ค่าที่เราอยากได้,false ถ้าเราต้องการค่าที่ตรง)


    ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่าย Vlookup ก็เหมือนเวลาตรวจสลาก
    หลักการทำงานคือ เวลามันทำงานมันก็จะเอา เบอร์ที่เราซื้อ ไปมองหาในเรียงเบอร์ แล้วสิ่งที่ต้องการก็คือ "ถูก" หรือ "โดนแดร๊กซ์"

    อยากรู้ว่าถูกหรือเปล่า? =VLOOKUP(เลขที่เราซื้อ,เรียงเบอร์,ลำดับคอลัมน์ค่าที่ดูว่าถูกหรือเปล่า,false)

    ถ้ายังงงให้ดูเปรียบเทียบในรูป


    <ดูรูป คห.3>



    กรณีโจทย์ที่เราต้องการ เราจะใช้คีย์สำคัญในการมองหาคือ CUS_ID รหัสลูกค้า
    เพราะทั้ง 2 ไฟล์ มีตัวเชื่อมที่เหมือนกันคือ CUS_ID

    สมมติว่าถ้าไม่มีตัวดังกล่าว เราก็อาจใช้ชื่อสกุล เป็นตัวเชื่อมก็ได้ (กรณีที่ชื่อสกุลไม่ซ้ำกัน)


    รหัสลูกค้า 000000001 ในไฟล์แรก นำไปมอง ในไฟล์สอง แล้วก็จะ return ค่าที่อยากได้กลับมาไว้ในไฟล์แรก

    แล้วเราก็ทำแบบนี้กับทุกรหัสลูกค้า เราก็จะได้ไฟล์ที่รวมเอาข้อมูลทั้งสองอันไว้ในไฟล์เดียว!!!


    เราก็จะได้หน้าตาแบบนี้ ฮ่าฮ่าฮ่า

    <ดูรูป คห.4>


    และถ้าผมต้องการดูตามความอยากข้อ 1

    เด็กชาย 1. คนที่ไม่มีบัตร ATM หรือคนที่มีบัตร ATM ต้องเสนอบัตร Debit ให้
    สมมติได้ค่าธรรมเนียมครั้งแรกคนละ 200 บาท ได้รายปีคนละ 150 บาท
    ตั้งเป้ารายได้เท่ากับ จำนวนคน x รายได้ค่าธรรมเนียม

    เด็กหญิง 2. เสนอขายบัตรเครดิตให้กับกลุ่ม "โสดวัยทำงาน" และ "แต่งงานมีครอบครัว"
    รายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
    ถ้าใช้สินเชื่อต้องไม่เคยมีประวัติการผิดการชำระ

    และใช้ Pivot Table ใหม่ได้ดังนี้

    <ดูรูป คห.5>



    ซึ่งจะเห็นว่าพื้นที่สีเหลืองในรูปตอบโจทย์ข้อ 2 และ พื้นที่สีเขียวตอบโจทย์ข้อแรก !!!


    ผมเขียนมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงเห็นแล้วว่า แค่เทคนิคง่ายๆ 2 เทคนิค
    ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เพิ่มขึ้น

    โดยที่ไม่ต้องท่อง หรือมานั่งฝึก Function เป็นร้อยๆพันๆexclaim






    หากมีำคำแนะนำ ติชม หรือ ติดต่อสอบถาม สามารถ e-mail ได้ที่
    love LeverageSkill@hotmail.com love


    Create Date : 08 มิถุนายน 2552
    Last Update : 9 มิถุนายน 2552 21:43:19 น.

    จากคุณ : Leverage - [ 16 มิ.ย. 52 13:57:51 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com