ไม่รู้เหมือนกันนะครับว่าร้านวัสดุก่อสร้างที่ว่าขายอะไรบ้าง วัสดุก่อสร้างก็หลากหลายเหมือนกัน เลยยกตัวอย่างให้ครอบคลุมไว้ก่อนนะครับ
แต่ดูแล้วน่าจะเน้นขายมากกว่าให้ลูกค้าชมเนอะ เพราะมีการคิดถึงเรื่องความคุ้มที่จะไม่ได้ขายสินค้าคู่แข่งด้วย
เลยเสนอการจัดผังร้านแบบนี้นะครับ
1.ให้จัดลู่ทางเดินให้วน loop คือลูกค้าสามารถเดินได้ทั่วร้าน และดูได้ทุกกลุ่มสินค้า(การจัดให้วน loop น่าจะเหมาะสมกับร้านที่เน้นขาย ในขณะที่ร้านที่เน้นชมสินค้าน่าจะจัดแบบ free style ครับ)
2. พยายามเอากลุ่มสินค้าที่ค่อนข้างเป็นแฟชั่น เน้นความสวยงาม ดีไซน์ หรือตัดสินใจซื้อจากความสะดุดตาได้ง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิก(ceramic tiles) สุขภัณฑ์(sanitary ware) ห้องครัว(kitchen) เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งสวน(landscape) รั้ว(fence) ไว้ด้านหน้าใกล้กับทางเข้า หรือเป็นกลุ่มสินค้าแรก ๆ ที่ลูกค้าจะได้เจอนะครับ
เพราะนั้นหมายถึงโอกาสในการขายที่จะได้จากความไม่ตั้งใจซื้อ หรือสะดุดตาซื้อเมื่อเดินเข้าร้าน
3.สินค้าที่เป็นกลุ่มหลักของร้าน หรือเป็นสินค้าเชิงการใช้งาน ก็อาจจะไว้ระยะกลางหรือท้ายสุดของร้านก็ได้ครับ เช่น ปูนและงานโครงสร้างต่าง ๆ (construction) หลังคา(roofing) ผนัง ฝ้า เพดาน พื้น
เพราะพวกนี้ไม่ได้ล่อตาล่อใจให้สะดุดตาซื้อ แต่เน้นการใช้งาน เช่น หลังคาเน้นทดแดดทนฝน แต่กลับเป็นตัวหลักที่ดึงลูกค้าเข้าร้าน ยังไงซะลูกค้าก็ต้องเดินหาจนได้ครับ มันจะทำให้ลูกค้าเดินได้ทั่วร้านด้วยซ้ำเพราะต้องเดินเข้ามาถึงหลังร้าน
3.บริเวณเคาเตอร์ที่ชำระเงิน อาจจะมีของตกแต่งบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเครื่องมือช่างก็ได้นะครับ เช่น กระถางต้นไม้ โคมไฟ เกรียงฉาบปูน ที่เป็นชิ้นเล็ก ไม่เปลื้องเนื้อที่ ราคาพอประมาณ นั้นก็ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อติดไม้ติดมือก็จะจ่ายตังค์เพิ่มไปได้อีกครับ
สิ่งที่ควรจะระวังก็คือ ผมกะเอาว่าน่าจะขายอะไรบ้างนะครับ เลยพูดแบบยกตัวอย่างขึ้นมาเฉย ๆ ให้ปรับการจัดวางให้ตรงกับสินค้าที่คุณจะขายอีกทีนะครับ
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 52 21:43:35
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 52 21:42:20
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 52 21:36:12
แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 52 21:35:41