 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
แอบเข้ามาขำความเห็นที่ 1 ค่ะ น่ารักดี ฮ่าๆๆ แต่มันก็จริงนะ เราได้จากอากู๋ตามนี้อ่ะ ... .. . สวัสดีครับ เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนผมได้ติดตามข่าวความคืบหน้าคดีของ Microsoft เรื่อง U.S. Supreme Court ปฏิเสธคำร้องของฝ่ายอัยการที่ขอนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลสูงโดยตรงไม่ผ่านศาลอุทธรณ์ เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ แล้วก็นึกเรื่องต่างๆ ขึ้นมาได้หลายเรื่องที่คิดว่าจะนำมาเป็นหัวข้อคุยกัน
กรณีการโต้แย้งเรื่องความเหมาะสมของพฤติกรรมของ Microsoft ในฐานะที่เป็นหรือเกือบเป็น monopoly ทำให้ผมนึกไปถึงทฤษฎี creative destruction ของ Joseph Schumpeter ขึ้นมา
Schumpeter เสนอทฤษฎีว่า monopoly หรือ ธุรกิจผูกขาดก็สามารถกระตุ้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และการเติบโตก้าวหน้าได้เช่นกันไม่จำเป็นว่าธุรกิจผูกขาดจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเสนอไป ทั้งนี้เพราะการผูกขาดธุรกิจเพิ่มแรงจูงใจในตอนเริ่มต้นให้ธุรกิจพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หาวิธีการใหม่ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อจับตลาดและได้รับส่วนต่างหรือกำไรสูงโดยไม่มีคู่แข่ง
เวลาเราคิดถึงธุรกิจผูกขาด ภาพแรกที่เรานึกถึงมักจะเป็นธุรกิจที่ได้รับสัมปทานหรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการด้านสาธารณูปโภค พลังงาน ขนส่ง สื่อสาร โทรคมนาคม ฯลฯ ซึ่งธุรกิจพวกนี้ไม่ใช่ธุรกิจผูกขาดโดยธรรมชาติ (natural monopoly) แต่เกิดจากการตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งอาจไม่ใช่เพื่อกำไร และได้รับการปกป้องจากการแข่งขันโดยสภาพสัมปทานหรือโดยกฎหมาย ธุรกิจผูกขาดที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินี้จึงไม่ค่อยมีแนวโน้มที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อยึดครองตลาดและเพิ่มกำไรเท่าไรนัก
creative destruction คือการทำลายอย่างสร้างสรรค์หรือการทำลายโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แนวความคิดเบื้องหลังทฤษฎีนี้ก็คือ ความต้องการของผู้ซื้อ หรือสภาพการณ์ในการตลาดย่อมจะเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยตลอด ดังนั้นหากไม่ได้มีการปกป้องโดยเงื่อนไขพิเศษ เช่น สัมปทาน หรือกฎหมายแล้ว อำนาจการผูกขาดตลาด (monopoly power) ย่อมไม่ถาวรหรือมีสภาพชั่วคราวโดยธรรมชาติ
ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร (copyright or patent) ก็เป็นการปกป้องในรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นหลักการอันเป็นยอมรับกันโดยทั่วไป เพื่อให้สิทธิในผลงานการสร้างสรรค์ และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ โดยให้การปกป้องหรือความคุ้มครองสิทธิ ไม่ให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบ ซึ่งเป็นการให้อำนาจผูกขาดตลาดชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่ผู้คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะได้มีเวลาช่วงหนึ่งที่ไม่มีคู่แข่งขัน ในการทำกำไรให้คุ้มต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการวิจัยและพัฒนา และการลงทุนระยะแรกที่สูง
ถ้าปราศจากการคุ้มครองลักษณะนี้ เมื่อมีผู้ลงทุนคิดค้นอะไรขึ้นมาได้ใหม่ แล้วมีผู้อื่นจำนวนมาก ลอกเลียนแบบได้ทันที ซึ่งจะทำให้ผู้เริ่มคิดค้นสิ่งนั้นอาจจะยังไม่สามารถทำรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในระยะเริ่มต้นได้ ในขณะที่ผู้ลอกเลียนแบบไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ย่อมจะได้เปรียบและส่งผลย้อนกลับมาทำให้ความน่าสนใจในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ลดลงในที่สุด เพราะมีความเสี่ยงสูงในขณะที่ผลตอบแทนต่ำ
โดยธรรมชาติเมื่อมีความเสี่ยงสูง เราย่อมต้องการผลตอบแทนที่สูงตามไปด้วย การสร้างสิ่งใหม่ๆ ย่อมมีความเสี่ยงสูงและต้องการผลตอบแทนที่สูง แรงผลักดันหลักของทุกธุรกิจที่แสวงหากำไรในการคิดค้นสร้างผลิตสิ่งใหม่ๆ ก็คือ ความต้องการที่ผูกขาดตลาดชั่วคราว ในช่วงต้นที่การแข่งขันยังต่ำ การเติบโตสูง และทำกำไรต่อหน่วยสูง เมื่อเวลาผ่านไป ตลาดเริ่มอิ่มตัว การแข่งขันสูง กำไรต่อหน่วยลดลง ก็ต้องลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่
การออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือบริการใหม่ขึ้นมาแทนที่ของเดิมเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถึงแม้เราจะไม่ทำ ก็จะมีคนอื่นที่เห็นช่องว่างของตลาด หรือเห็นความต้องการแบบใหม่ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาอยู่ดี และสิ่งใหม่นั้นอาจทดแทน (substitute) ความต้องการในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เรามีอยู่เดิมจนลดลงไปมากก็ได้
ดังนั้นธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีวัฎจักรของการสร้างและทำลายด้วยตนเองอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกผู้อื่นทำลาย เมื่อมีการสร้าง (creation) ผ่านไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องมีการสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมาเพื่อทดแทนหรือทำลาย (destruction) ของเดิมที่เริ่มลดประสิทธิภาพลง เป็น creative destruction หมุนวนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป
ในระบบเศรษฐกิจแบบเก่าซึ่งจับต้องได้เมื่อผู้ขายขายสินค้าไปย่อมหมดกรรมสิทธิในสินค้านั้น เพราะความเป็นเจ้าของถูกผูกเข้ากับวัตถุทางกายภาพ เช่น เราซื้อรถยนต์จากผู้ขาย กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของรถ ของผู้ขายย่อมหมดลง ทั้งนี้เพราะทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์วางอยู่บนกฎของความมีอยู่จำกัด (law of scarcity) คือ ทุกๆ สิ่งย่อมมีอยู่จำกัด เช่นทรัพยากรธรรมชาติ เวลา แรงงาน ฯลฯ และอาจขยายความได้ว่าย่อมมีต้นทุนในการจัดหาหรือได้มาที่เพิ่มขึ้นตามจำนวน (incremental cost) เช่น ผลิตของอย่างเดียวกัน 2 ชิ้นย่อมแพงกว่า 1 ชิ้น เสมอ
นอกจากนี้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐานยังอ้างถึงสภาพผลตอบแทนที่ลดลง (diminishing return) คือ เกิดสภาวะอิ่มตัวที่จุดหนึ่ง เมื่อผลิตเพิ่มเกินกว่าปริมาณนี้ ต้นทุนต่อหน่วยจะเริ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งทำกำไรหรือผลตอบแทน (return) ลดลง
แต่ในระบบเศรษฐกิจ "ใหม่" (knowledge or new economy) เวลาเราขายความคิดออกไป เรายังคงสามารถใช้ความรู้หรือความคิดเห็นซ้ำๆ ได้อีกไม่สิ้นสุด ถ้าหากเราไม่ได้ขายสิทธิทั้งหมดเหนือความคิดหรือความรู้นั้นไปโดยมีสัญญาว่าเราจะไม่สามารถใช้ได้อีก และการทำซ้ำ (reproduce) มีต้นทุนที่ต่ำมากต่อหน่วย ความรู้ ความคิดหรือข้อมูลมีธรรมชาติที่จะต้องใช้เวลาใช้การลงทุนใช้ทรัพยากรไปในช่วงแรกของการสร้างหรือรวบรวมขึ้น แต่เมื่อได้มาแล้ว การทำซ้ำจะมีต้นทุนที่ต่ำมาก (fixed cost สูง, variable cost ต่ำมาก)
ดังนั้นธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ "ใหม่" จึงมี economies of scale ที่สูงมาก ซึ่งทำให้คู่แข่งรายใหม่ยากที่จะเข้าสู่ตลาด
นอกจาก economies of scale แล้วยังมีแนวโน้มที่จะเกิดสภาพการใช้ตามกัน (network externalities) คือยิ่งมีผู้ใช้มากก็จะยิ่งทำให้ผู้ที่กำลังจะซื้อรายใหม่ๆ ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายและเร็วขึ้นซึ่งจะทำให้ยิ่งมีผู้ใช้มากขึ้นไปอีก
สภาพการณ์จำต้องใช้ต่อ (lock-in effect) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เมื่อเราใช้งานจนเกิดความเคยชินแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการอื่นจะมี switching cost ที่สูงมาก ต้องมีการฝึกการใช้งานใหม่ ปรับระบบวิธีการใช้งาน/ทำงานหรือปรับเปลี่ยนเอกสาร-ข้อมูลต่างๆ ให้เข้าสู่รูปแบบใหม่ ฯลฯ ซึ่งถ้าทางเลือกใหม่ไม่ได้ให้ประโยชน์ที่ชัดเจนและเหนือกว่ามากจนคุ้มต่อความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนระบบแล้ว จะยากที่ผู้ใช้เดิมจะเปลี่ยนระบบใหม่
จากปัจจัยทั้งสามคือ economies of scale, network externalities และ lock-in effect ทำให้เราเห็นแนวโน้มว่าในระบบเศรษฐกิจใหม่จะเกิด natural monopoly ขึ้นได้ง่ายกว่าในระบบเดิม คำถามก็คือระบบเศรษฐกิจจะต้องมีกลไกอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้ monopoly เหล่านี้ บิดเบือนอำนาจไปในทางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันกลไกหรือรัฐผู้ควบคุมกติกานั้นไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินการของธุรกิจเกินระดับความพอดี ระดับความพอดี หรือยุติธรรมนั้นคงจะยากที่จะหาจุดที่เป็นที่พอใจของทุกคนทุกฝ่ายได้ แต่ถ้าเรายึดเป้าหมายที่จะส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเสมอแล้วแนวทาง creative destruction ก็อาจจะเป็นคำตอบหนึ่งที่เป็นไปได้ครับ
เครดิตจาก http://www.arip.co.th/articles.php?id=403947
จากคุณ |
:
ความเหงาล้อมเราไว้หมดแล้ว
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ต.ค. 52 11:30:12
|
|
|
|
 |