 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
ขอยืนยันครับว่าเรื่องปกติ อย่าคิดมากเลยครับ สำหรับพนักงานที่เข้าใหม่แบบไม่ได้ขึ้นมาจาก teller หรือย้ายมาจากแบงค์อื่น ทำไปเรื่อยๆ ก็คล่อง แสดงว่า จขกท ต้องเก่งระดับหนึ่่ง หรือจบโท มาแน่นอน ผมไม่รู้ว่า จขกท ทำสินเชื่อระดับไหนครับ แต่ของผมเคยทำ sme ยอดขาย 400-800 ล้านต่อปี ผมจบตรี... ตู้มเดียวลงนักวิเคราะห์สินเชื่อเลย ผมเข้าไปสามเดือนแรกเจอแบบนี้ท้อไปเลย แต่พอผ่านไปซัก 4 เดือนเดี๋ยวจะเริ่มคล่องล่ะ (เำพราะเผอิญ พี่ในทีมออก 2 คนพร้อมกัน ผมต้องรับหน้าทุกอย่าง) พี่ที่ทำมาก่อนหน้า 2 เดือน เขาเคยอยู่แบงค์อื่นมาก่อนหรือเปล่าครับ เพราะทักษะพวกนี้มันเป็นมาตรฐานกันไปหมด ย้ายแบงค์ก็เอาไปใช้ได้เหมือนกัน เดือนแรกโดนให้ฉายเดี่ยวปล่อย o/d 3 ล้าน แทบร้องไห้ เพราะไม่รู้ทำไง เขาให้เวลา 5 วันส่งเครดิต ก็อาศัยอ่านๆ เอาจากแบบฟอร์มเดิม ว่าเขาเคยเขียนอย่่างไร ก็พยายามเขียนไปแนวๆ เดียวกัน แต่จะยากหน่อยตรง Source & Use ที่ต้องมาปรับเปลี่ยนให้พอดีกับ o/d ที่จะให้ และที่สำคัญข้อมูลต้องสอดคล้องกับ ฟอร์มเครดิตเก่า หรือถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงจะต้องมีเหตุผลบอกกำกับเสมอ เอกสารในแฟ้มมักแบ่งด้วยกระดาษคั่นอยู่แล้วครับของที่ผมเคยเจอจะแบ่งเป็น งบการเงิน, ข้อมูลผู้ขอเครดิต, ฟอร์มเครดิต, รายละเอียดหลักประกัน, เอกสารอื่นๆ ลองศึกษาดูดีๆ ครับ ถ้าถามพี่ๆ กี่ทีๆ ก็ลืม ผมแนะนำให้เอาฟอร์มเปล่ามาเก็บไว้กับตัว แล้วเขียนว่าใบนี้ใช้ทำอะไรๆ ครับ ตอนผมทำ ผมจะมีแฟ้มส่วนตัวอยู่ 2 เล่ม สำหรับใส่พวกตัวอย่างบันทึกต่างๆ แบบฟอร์มต่างๆ และเงื่อนไขนโยบายเครดิต, อำนาจการพิจารณา ฯลฯ ลองทำดูครับ ไม่เสียหาย ทำให้เรามีข้อมูลแน่น เรียกใช้ได้เสมอ หัวใจของงานเครดิตมีแค่บอกให้ได้ว่าทำไมต้องให้วงเงินประเภทนั้นกับลูกค้า และลูกค้าจะสามารถชำระคืนได้อย่างไร และมีหลักประกันอะไรให้ผู้พิจารณาเครดิตอุ่นใจ อีกทั้งข้อมูลสนับสนุนเครดิตต้องชัดเจน ตรวจสอบได้นะครับ และที่สำคัญข้อมูลในฟอร์มเครดิต ต้องสอดคล้องกันหมด เช่น บอกว่าลูกค้ามีเครดิตเทอม 30 วัน แต่ projection ลูกค้ามีเครดิตเทอม 15 วัน ถ้าไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าทำไมถึงเปลี่ยน อันนี้มีโอกาสโดนปฏิเสธจากผู้พิจารณาเครดิตได้ง่ายๆ เลย ตอนแรกผมอาศัยลูกตื้อ ถามไปซะทั่ว จนเขารำคาญ แต่ก็สอนให้นะครับ หลายๆ อย่าง ยิ่งพวกระบบดูข้อมูลต่างๆ (จนผ่านไป 9 เดือน มีแต่คนมาถามผมว่ามันทำยังไง) อาศัยความกล้าและความมั่นใจครับ วงเงินมันก็มีอยู่แค่ 2 ประเภท เงินหมุนเวียน กับเงินกู้ เงินหมุนเวียน ที่มีกันทุกแบงค์ ก็ ลูกค้าส่วนใหญ่ก็อยากได้ O/D กับ P/N นี่แหละ O/D คือ เบิกเกินบัญชี (อันนี้ควบคุมวัตถุประสงค์การใช้เงินไม่ได้ แบงค์ผมไม่ค่อยมีนโยบายปล่อยแล้ว) P/N ก็คือ ตั๋วสัญญาใ้ช้เงิน (มันก็เหมือนกับ O/D นี่แหละ แต่ต้องมาต่อตั๋วทุก 1 เดือนบ้าง หรือทุก 3 เดือนบ้าง เพื่อเป็นหลักประกันว่าลูกค้าเอาเงินไปใช้ถูกวัตถุประสงค์หรือเปล่า เขาจึงกำหนดเงื่อนไขบ้างว่า ในการต่อตั๋วทุกครั้งให้นำหลักฐานการซื้อสต๊อคสินค้ามาประกอบการต่อตั๋วทุกครั้ง บ้าง L/C ก็เหมือนตั๋ว P/N แต่เป็นวงเงินสำหรับต่างประเทศ วงเงินกู้.. ถ้าปล่อยเงินกู้ ก็ต้องทำ Projection ว่าสามารถผ่อนชำระคืนได้ไหม (จริงๆ W/C ที่มีดอกเยอะๆ ก็ควรทำ Projection ส่งไปครับ จะเพิ่มโอกาสผ่านการพิจารณามาก) หนังสือค้ำประกัน หรือ L/G, L/I อันนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมากับหน่วยงานราชการ หรือ พวกปั๊มน้ำมันค้ำ ปตท. อันนี้เราจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียม ข้อมูลที่ขอจากลูกค้า .. ถ้าเขาขอ W/C (วงเงินหมุนเวียน) ก็ขอข้อมูลปัจจุบัน สต๊อคสินค้า, เจ้าหนี้, ลูกหนี้ , เครดิตเทอมลูกหนี้, เครดิตเทอมเจ้าหนี้ งบการเงิน 3 ปีย้อนหลัง(ถ้ามีในแฟ้นแล้วอย่าไปขอนะครับ เดี๋ยวโดนด่า) Statment ย้อนหลัง 6 เดือน.. แบงค์ตัวเองไม่ต้องขอก็ได้ เพราะเรียกดูได้ ให้ขอแบงค์อื่นแล้วเอามาเทียบกับในงบที่ส่งมา ว่าสอดคล้องกันไหมมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง (เพือที่จะหาจุด ว่าสาเหตที่ลูกค้าต้องการวงเงินเพิ่มนี่มาจากไหน) อย่าลืมให้ลูกค้าเซ็นยินยอมเช็คบูโรด้วย... ส่วนใหญ่ก็เช็คกรรมการผู้มีัอำนาจลงนาม กับบริษัท, บริษัทในเครือ และผู้ถือหุ้นใหญ่ๆ เวลาดูธุรกิจ จะมีบางประเภทที่ยอดขายเป็นแบบฤดูกาล อาจต้องขอ Statment ทั้งปี 2-3 ปี ติดกัน เพื่อง่ายต่อการดูการเปลี่ยนแปลง ลองร่าง source & Use ดูครับ ต้องสมดุลกัน .. อาจต่างกันเล็กน้อยได้ ตามสมการสำหรับ W/C Source Use ลูกหนี้ + สต๊อคสินค้า = เจ้าหนี้ + วงเงินหมุนเวียนเดิมที่ีมีอยู่ + ที่จะให้ในครั้งนี้
สำหรับ Loan เงินลงทุนโครงการนี้ = วงเงินกู้ที่ขอ + ส่วนลงทุนของกิจการ ส่วนงบ ก็วิเคราะห์ได้บ้าง... ถ้าเป็น SME อาจต้องของบภายใน เพราะงบสรรพากรไม่สะท้อน (สมัยผมมีน้อยรายที่งบสรรพากรสามารถนำมาวิเคราะห์ได้เลย) ก็มาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสองสามปีว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ อย่างไร ใช้ Trend analysis กับ common size เอา ว่ายอดขายเติบโตกี่ % มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนเพิ่มขึ้นกี่ % กำไรเพิ่ม/ลดกี่% มีวันลูกหนี้, เจ้าหนี้, สต๊อค เปลี่ยนแปลงมากไหมตลอด 3 ปี ฯลฯ อย่าลืมดู D/E ด้วย ถ้าสูงๆ ซัก 3 นี่ก็น่ากลัวจะให้เพิ่มไม่ได้ หรือได้อาจโดนกำหนดเงื่อนไขจากผู้พิจารณาเครดิต ส่วนถ้าลูกค้าขอเงินกู้ ก็ต้องดู Project ขอแบบแปลน ขอประมาณค่าใช้จ่าย แล้วถ้าจำไม่ผิดแบงค์จะมีฝ่ายถอดแบบประเมินราคาให้ ดูสัดส่วนการลงทุน ว่าลูกค้าลงเท่าไหร่ ขอสนับสนุนเท่าไหร่ ----------- หลักประกันก็ส่งให้บริษัทประเมินราคาเข้าไปประเมิน แล้วก็ต้องไล่หลักประกันให้ดีนะครับ ว่ามัน cover วงเงินหรือเปล่า ถ้าได้ลองทำมันจะน่ารำคาญมาก เวลาดู ถือจำนอง, ถือการจำนองลำดับ 2 , จำนองลำดับสอง ลำดับสาม มั่วกันไปหมด ฯลฯ งานสินเชื่อเป็นงานที่เยอะ ต้องรู้ธุรกิจหลายประเภท เหนื่อย แต่สนุกครับ ผมก็ทิ้งไปเกือบ 3 ปี แล้ว งานสุดท้ายปล่อยร่วมกับพี่ที่ทำงาน 180 ล้านครับ หน้าที่ของผู้วิเคราะห์คือ หาความเสี่ยงและวิธีปิดความเสี่ยงครับ อยู่ไปนานๆ จะกลัว ไอ่นั่นก็เสี่ยง ไอ่นี่ก็เสี่ยง ปัจจุบันออกมาทำธุรกิจส่วนตัว สบายใจกว่า (เพราะหลังๆ เพื่อนร่วมงานที่มาใหม่บางคนนิสัยไม่ค่อยดี เอาเปรียบ แถมจับกลุ่มเป็นก๊กเป็นเหล่า) ขอให้จขกท. สนุกกับมันครับ สู้ๆ จนท.สินเชื่อมักจะเก่งๆ กันทั้งนั้น ทุกวันนี้ผมยังซาบซึ้งมากครับ ที่แบงค์แห่งหนึ่งเคยให้โอกาสผมได้ไปอยู่บนจุดนั้นและได้ความรู้ด้านธุรกิจมากมาย
แก้ไขเมื่อ 10 ก.ค. 53 03:29:52
จากคุณ |
:
KK (KhongMing)
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ค. 53 03:21:28
|
|
|
|
 |