 |
ดูจากข้อมูลที่เกริ่นไว้ ถ้ามองว่าทำ SWOT กับ Production research มาดีแล้ว ก็แปลว่า สินค้าที่จะเอาลงตลาดมีจุดแข็งมากพอจะลุย เอาตามความเห็นนะ ผิดบ้างถูกบ้างก้ขออภัยละกัน ผมไม่ใช่เทพนิ
1) เรื่องโครงสร้างราคา จริงๆ แล้วโดยปกติ ต้องดุจากสถานภาพของคุณในตลาดครับ กรณีของคุณดูเหมือนจะเป็นผู้ผลิต (หรือ ผู้ว่าจ้างผลิต ใช่หรือไม่ ผมไม่แน่ใจนะ เพราะข้อมูลไม่ชัดเจน แต่ถ้าเป็นผู้ว่าจ้างผลิตแนะนำให้ทำสัญญาสิทธิ เรื่องโครงสร้างแบบกับช่างหรือโรงงานไว้เลย แต่ถ้าเอาโครงแบบมาจากญี่ปุ่น 100% เลย ก็ต้องทำใจเรื่องคนอื่น copy ของคุณไว้บ้าง) โครงสร้างราคาจึงต้องดูจากต้นทุนการผลิตเป็นหลัก ทั้งในส่วนของค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ค่าเครื่องจักร (ค่าเสื่อมราคา) ค่าโสหุ้ยต่างๆ ค่าใช้จ่ายในส่วนของการเก็บและบำรุงรักษา ค่าขนส่ง (ต้องคิดรวมถึงค่าจ้างคนขับ ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อมราคายานพาหนะ) การบวก% ไม่มีตัวเลขตายตัว เนื่องจากเมื่อคิดต้นทุนมวลรวมแล้ว ต้องมีค่าการตลาด ค่าโฆษณา และต้องสร้างส่วนต่างของราคาขายส่งกับราคาขายปลีก (ซึ่งควรกำหนดราคามาตรฐานโดยคุณในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่าย) เพื่อให้เกิดช่อง margin สำหรับลูกค้าของคุณในระดับต่างๆ ได้แก่ ตัวแทนจำหน่าย, ยี่ปั๊ว, ซาปั๊ว ส่วนกรณีที่ลูกค้ามาซื้อตรงเองก็แค่กำหนดส่วนลดเงินสด 2-3% ขึ้นมาก็พอแล้ว คุณจะสร้างโครงสร้างราคาของตัวเองโดยไม่อิงข้อมูลราคาตลาด ของคู่แข่งเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ลองไปคำนวณดูดีๆ ครับ สินค้าเฟอร์นิเจอร์ ถ้าต่อชิ้นกำไร 5 บาท 10 บาท ไม่มีใครเขาทำกันแล้วล่ะครับ ที่สำคัญอย่าลืม คู่แข่งในตลาดทั้งที่เป็น Brand ท้องถิ่น และ Brand ใหญ่ๆ ที่ติดตลาดไปแล้ว ซึ่งกลุ่มหลังเขามีกำลังมากพอจะถมงบสื่อโฆษณาได้หนักมากพอที่จะกลบ เรื่องของคุณภาพสินค้าที่คุณมั่นใจมากๆ ลงไปได้
2) ถ้าจะบูธเพื่อโปรโมทสินค้าตามศูนย์การค้า ตามปกติแล้ว จะแบ่งเป็น 2 กรณีครับ กรณีแรก ทางศูนย์การค้าจะ support บรรดา supplier ต่างๆ ให้นำสินค้ามาออกบูธ โดยมีโครงการเป็นประเภท event ในลักษณะต่างๆ ที่มีการ ลด แลก แจก แถม หรือ จัดงานตามรอบเทศกาลต่างๆ (รวมไปถึง ปิดเทอม หรือเปิดเทอมด้วย) ซึ่งแบบนี้มักจะฟรีค่าที่ จ่ายค่าไฟฟ้า หรือ อาจจะคิดค่าเช่าที่ต่อตารางเมตรแบบถูกมากๆ กรณีที่ 2 เหล่า supplier ที่ต้องการโปรโมทสินค้าตัวเอง ต้องเช่าใช้พื่นที่ของห้าง (ซึ่งแพงมาก เมื่อคิดต่อตารางเมตร) เอาเอง ซึ่งถ้าเป็นสินค้าใหม่ จะคุ้มหรือไม่ก็ลองคิดค่าใช้จ่ายกันดู แต่โดยความเห็นของผมนะ เอาเวลาและงบประมาณ ที่จะทำส่วนนี้ไปทำการตลาด สร้างทีมขาย จัดโปรโมชั่น ก่อนดีกว่ามั้ง
3) การไปเสนอขายตามร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ ริมถนนใหญ่ ถ้าสังเกตดีๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็น Brand ท้องถิ่น (ซึ่งอาจมีโรงงานของตัวเอง หรือ มี supplier ที่สัมพันธ์กันแน่นปั๊ก แต่เขาจะไม่บอกคุณก่อนหรอก) คุณอาจจะมี order ประมาณว่า ลองเอามาตั้งขายซักตัว ถ้าขายได้จะสั่งเพิ่ม พอทิ้งช่วงไปซักเดือน 2 เดือน ถ้าคุณกลับไปดูใหม่ ก็อาจจะมีสินค้าใหม่หน้าตาคล้ายสินค้าของคุณแต่ราคาถูกกว่า ตั้งขายอยู่ (เหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อนมีโซฟาพนักพิงสูงปรับเอนได้ สำหรับร้านเกม ออกมาขาย แรกๆ ที่มีผู้ผลิตออกมาจำหน่าย ตัวหนึ่งตกราคาตัวละ 2800 บาท นานไปไม่ถึง 3 เดือน ก็มีคนทำมาขายเหลือ 2000 บาท ปัจจุบันเหลือตัวนึงไม่ถึง 2000 บาทแล้ว) ก็แค่อยากให้มีข้อมูลไว้ครับ ไม่ได้คิดร้ายอะไรเน้อ
สู้ๆ นะครับ อยากเห็นสินค้ามีคุณภาพ เติบโตในตลาด
แก้ไขเมื่อ 13 ธ.ค. 53 15:19:27
จากคุณ |
:
Valard
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ธ.ค. 53 15:16:56
|
|
|
|
 |