AXE เป็น global brand ครับ
จะไปทำตามใจตลาดเฉพาะกลุ่มรสนิยมคนไทย ต้องพรีเซนเตอร์หน้าตาไทย หรือโฆษณาให้คนไทยชอบเลยไม่ใช่เรื่องครับ เพราะคนไทยไม่ใช่ตลาดส่วนใหญ่ของเขา
การทำตลาดของ AXE คือจับเฉพาะคนที่ชื่นชอบแนว sex appeal เหมือน ๆ กันทั่วโลกครับ เขามองตามรสนิยม ลักษณะทางจิตวิทยา บุคลิกภาพ มากกว่าที่จะจับ segment ตามประเทศหรือเชื้อชาติเป็นรายประเทศไป
พอเราไปมองมุมคนไทยเลยคิดโน้นคิดนี้ มีข้อวิจารณ์หลากหลายตามแง่ข้างบน
แต่ความเป็นจริงที่ว่า "เสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่" มันก็เป็นธรรมดาสำหรับ gobal brand ครับ ต้องเอาคอนเซ็ปใหญ่ทั่วโลกให้ได้ก่อน บางส่วน บางเรื่องบางตอนถึงจะปรับให้เข้ากับท้องถิ่นแบบไทย ๆ ครับ AXE ในไทยก็มีทำกิจกรรมออนไลน์ เฉพาะเว็บไซต์ไทย อย่าง AXE Vice ก็มีครับ เรื่องการส่งสินค้าเข้าร้านค้าปลีกไทย ๆ นั้นก็เป็นบางส่วนที่ปรับให้เข้ากับเมืองไทยครับ
ในตลาด AXE อาจจะไม่ใช่เบอร์หนึ่งในตลาดไทย แต่ในระดับตลาดโลกคงต้องยังครองไว้ครับ อย่าลืมว่าชาวต่างชาติในไทยก็ยังมีอยู่ สื่อเฉพาะกลุ่มอย่างสื่อในรถไฟฟ้าของ AXE ก็ไม่ได้มุ่งจับคนไทยอย่างเดียว ส่วนใหญ่ผู้ชายไทยจะถูกโฉลกกับ Nevia for Men มากกว่า เพราะได้ใจในเรื่องความเป็นหนุ่มเอเชีย ส่วนคนที่ชอบรสชาติไทย ๆ หรือระดับเด็กวัยรุ่นลงไปกว่านั้นเขาก็จะไปใช้ Exit หรือว่า Tros กันครับ ส่วนใหญ่ในตลาด deoderant จะมี 4 แบรนด์ใหญ่ ๆ เล่นกัน
positioning ของ AXE ต่าง ๆ ทั้งเรื่อง sex appeal สีดำ หรืออะไรต่าง ๆ ก็ตามมันเป็นสมบัติของเขาไปแล้วอ่ะครับ ในต่างประเทศจะเล่นเรื่องแรงดึงดูดทางเพศหนักกว่านี้อีกครับ ลอง search หาคำว่า AXE แบบเป็นรูปภาพใน google สิครับ ในเมืองไทยนี้เขาจะปรับให้อยู่ในระดับที่สังคมไทยรับได้ จะไม่แรงในแง่ของเพศมากเกินไป
การใช้สื่อล็อตเดียวกันในหลาย ๆ ประเทศก็ช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด(economy of scale) ซึ่ง Nevia for Men ทำอย่าง AXE ไม่ได้ บริษัทลูกในไทยนำเข้าสปอตตัวนางฟ้าโดยพากย์เสียงทับนิดเดียว ไม่ต้องผลิตชิ้นงานใหม่เลยครับ ซื้อสื่ออย่างเดียว
ตอบคำถามตาม จขกท ก็คือ มีผลต่อยอดขายแน่นอนครับ คือในแง่ความชัดเจนของ positioning มันทำให้แบรนด์เขาชัดขึ้น การกินเหลือบกับคู่แข่ง การโดนกลืนในตลาด หรือการเป็นที่ยอมรับของช่องทางจัดจำหน่าย ห้างค้าปลีกต่าง ๆ ก็จะช่วยผลัดดันยอดขายไปโดยปริยาย อย่าลืมเรื่องอำนาจต่อรองกับร้านค้าปลีกที่ AXE ต้องเจอด้วยนะครับ
เขาเป็นแบรนด์ที่มีมานาน การทำกิจกรรม สื่อสารกับผู้บริโภคบ่อย ๆ ก็ทำให้คนไม่ลืมครับ เมื่อไปเจอบนชั้นวางก็จะหยิบ AXE ได้ง่ายกว่า no brand คนไม่รู้จักก็จะเลือก AXE คนที่เคยใช้ก็มีแนวโน้มจะใช้ซ้ำ
ส่วนช้อยส์ด้านบนที่ จขกท ให้เลือกผมว่าคงไม่มีช้อยส์ถูกเลย เพราะสปอตตัวนี้เขาเน้นปล่อย product line ตัวใหม่ต่างหากละครับ มันคือการแนะนำกลิ่นใหม่นี้เอง
บางครั้งการสร้างแบรนด์คงจะไม่ได้หมายถึงการทำยอดขายอย่างเดียวครับ บางครั้งการปั้นแบรนด์เพื่อเทขายทำกำไรมันก็มีครับ อยากให้ดูกรณีของเป๊ปซี่ไว้นะครับ มันเป็นกรณีขัดแย้งที่มีผลประโยชน์มูลค่าของแบรนด์มาเกี่ยวข้อง ทั้งในแง่ของบริษัทแม่และบริษัทไทย
ถ้าวันนึงยูนิลิเวอร์ไม่ทำ AXE แล้ว การขายให้กับคนอื่นก็เป็นรายได้ขององค์กรอย่างนึง ซึ่งมันก็มาจากรายละเอียดทุกเม็ดที่เราทำทุกวันนี้แหละครับ
การที่องค์กรมีแบรนด์เป็นที่รู้จักก็ช่วยดึงดูดให้คนอยากเข้าทำงานที่นี้ มีโอกาสได้คัดเลือกคนน้อย to brand มันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรด้วย แบรนด์มันเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร มันมีผลทั้งในเรื่องอื่นของธุรกิจด้วยครับ บางครั้งการทำอะไรสักอย่างในธุรกิจอาจจะไม่ใช่เรื่องขายของอย่างเดียว แต่มันมีอะไรที่ไกลกว่านั้น
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 54 15:42:52
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 54 15:40:23
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 54 15:37:22
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 54 15:31:10