Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
การคำนวณค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ติดต่อทีมงาน

เช้าวันนี้ผมได้รับข้อความจากสมาชิกท่านหนึ่ง ถามถึงการคำนวณค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงาน ดังนั้นในวันนี้ผมจึงคิดว่า แทนที่จะตอบให้สมาชิกท่านนี้เป็นการส่วนตัว ขอตอบเป็นกระทู้ใหม่เพื่อแชร์ความรู้ให้กับสมาชิกท่านอื่นๆในห้องสีลมด้วยแล้วกันนะครับ น่าจะเป็นประโยชน์มาก

การคำนวณค่าแรง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดนั้น พื้นฐานจะต้องนำมาเป็นหลักในการคำนวณคือ อัตราเงินเดือน หรือเงินค่าจ้างรายวัน ซึ่งเงินรายได้นี้ มีกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำคุ้มครองเอาไว้ ดังนั้นหากท่านตกลงค่าแรงกับนายจ้างท่านใดแล้ว ก็กรุณาตรวจสอบเสียก่อนว่า ค่าแรงที่ท่านได้รับนั้น สูงกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ พนักงานเงินเดือนเรือนหมื่นอย่างเราๆ คงไม่เป็นปัญหา แต่พนักงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือลูกจ้างชั่วคราวนี้ ต้องใส่ใจต่อเรื่องดังกล่าวด้วยนะครับ

การคำนวณค่าจ้างต่อวัน

การทำงานในหนึ่งวันของเรานั้น ตามกฎหมายมาตรา 23 แล้วกำหนดให้วันหนึ่งนายจ้างต้องให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง หากวันใดทำงานไม่ถึง ก็สามารถสะสมไปยังวันทำงานอื่นๆได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 9 ชั่วโมง ซึ่งกฎหมายข้อนี้ก็ทำให้นายจ้างหลายรายหัวใส ใช้ช่องว่างนี้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานวันละ 9 ชั่วโมงเสียเลย ซึ่งสามารถทำได้หากจัดการเป็นขั้นตอน  แต่ไม่เป็นผลดีต่อนายจ้างและการบริหารงานบุคคลเท่าไรนัก

              เข้าสู่เรื่องของการคำนวณค่าจ้าง  การคำนวณค่าจ้างต่อเดือนให้เป็นรายวันนั้นง่ายมาก เพียงแค่นำเอาเงินเดือนพื้นฐาน หารด้วย 30 วัน ก็จะได้ค่าจ้างต่อเดือนแล้ว (อ้างอิงมาตรา 68) แต่นายจ้างบางท่านอาจหารด้วยจำนวนวันที่ทำงานจริงในเดือนนั้น เช่น หารด้วย 22 วันทำการ ก็ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด และถือเป็นคุณต่อลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างจะได้อัตราค่าจ้างที่มากว่าการหารด้วย 30 วัน เพียงแต่มีข้อแม้เดียวคือ ต้องใช้อัตรานี้ไปกับทุกๆการคำนวณ เช่น การคำนวณค่าล่วงเวลา หรือคำควณการทำงานในวันหยุด และการคำนวณการไม่จ่ายค่าจ้างด้วย ต้องใช้อัตราเดียวกัน

              เช่น เงินเดือน 10,000 บาท ค่าจ้างต่อวันเท่ากับ (10,000 บาท / 30 วัน) = 333.34 บาทต่อวัน

              ส่วนการคำนวณค่าจ้างต่อเนื่องเป็นรายชั่วโมง เพื่อเป็นพื้นฐานในการคำนวณค่าล่วงเวลาหรือรายการหักใดๆต่อชั่วโมง ก็เพียงเอาค่าจ้างต่อวันที่คำนวณได้นั้น มาหารด้วยเวลาทำงาน หากบริษัทของท่านมีเวลาทำงานปกติอยู่ที่ 8 ชั่วโมงก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก เพียงแค่นำ 8 มาหารได้เลย แต่มีข้อสังเกตุว่า หากบริษัทของท่านมีเวลาทำงานที่น้อยกว่านี้ เช่น 7ชั่วโมง หรือ 7.5 ชั่วโมง จะต้องหารด้วยเวลาทำงานจริง เช่น ทำงาน 7 ชั่วโมง แต่จะมั่วหารด้วย 8 ไม่ได้นะครับ

หมายเหตุ : สำหรับการทำงานไม่เต็มชั่วโมง การคำนวณด้วยเครื่องคำนวณ ต้องระมัดระวังเรื่องจุดทศนิยมนะครับ ต้องเทียบบัญญัตไตรยางค์ให้ดี ไม่เช่นนั้นคำนวณผิดครับ เช่น 2ชั่วโมง 30 นาที หากกดเครื่องคิดเลขต้องเป็น 2.5 นะครับ ไม่ใช่ 2.3

              จากตัวอย่างข้างต้น เราจึงได้อัตราค่าจ้างปกติต่อชั่วโมงเท่ากับ (333.34 บาท / 8 ชั่วโมง) = 41.67 บาทต่อชั่วโมง

จากคุณ : Chalk_HR
เขียนเมื่อ : 1 มิ.ย. 54 10:12:41




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com