Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ขึ้นค่าจ้างทุบอสังหาฯราคาบ้านขยับ-รับเหมาส่อทิ้งงาน- นโยบาย 300 และ 15000.- [ย้ายจาก : งานและทรัพยากรบุคคล] ติดต่อทีมงาน

อสังหาริมทรัพย์

ขึ้นค่าจ้างทุบอสังหาฯราคาบ้านขยับ-รับเหมาส่อทิ้งงาน- นโยบาย 300 และ 15000.- นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท และปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจวุฒิปริญญาตรี เป็น 1.5 หมื่นบาท ไม่เกี่ยวกับบริษัทเอกชนที่ปรับขึ้น สร้างแรงสะเทือนให้กับภาคธุรกิจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด เพราะไม่เพียงจะเป็นการขึ้นค่าจ้าง
ขั้นต่ำ หรือแค่ปรับฐานระดับปริญญาตรีให้กับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเพียงเท่านั้น

นโยบายดังกล่าวมีแรงส่งไปยังทุกองคาพยพที่ยึดโยงอยู่กับภาคแรงงาน เพราะเมื่อแรงงานขั้นต่ำขึ้นแรงงาน
ฝีมือก็ต้องขึ้นด้วย เมื่อค่าจ้างในภาครัฐปรับตัวภาคเอกชนก็ต้องปรับตาม จึงกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่พร้อม
ระเบิดทันทีที่รัฐเดินหน้านโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมต้นทุนค่าจ้างขยับเฉลี่ย 3%

กฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า
หากมีการขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะส่งผลกระทบต่อแรงงานเก่าที่ทำงานอยู่แล้ว 5 ปี ทั้งระบบขอปรับ
ขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็น 400 หรือ450 บาท จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น

โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้างงานภาครัฐบาล เนื่องจากราคากลางที่กำหนดไว้ไม่สะท้อนต้นทุนการก่อสร้าง
ที่เป็นจริงอยู่แล้ว จะยิ่งทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างทำงานได้ลำบากขึ้น เนื่องจากมีการเซ็นสัญญาก่อสร้างล่วงหน้าไว้
แล้ว ขณะที่งานก่อสร้างของภาคเอกชน สัญญาการก่อสร้างอาจจะปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า

"หากจะเปรียบเทียบค่างานก่อสร้างเป็นราคา 100 บาท ค่าแรงงานก่อสร้างอยู่ที่ 15% อีก 85% เป็นค่าวัสดุ
ก่อสร้างและค่าบริหารจัดการ การปรับค่าแรงงานขึ้นเป็น 300 บาท จะทำให้ต้นทุนค่าแรงงานปรับขึ้นเฉลี่ย 3%
เป็น 18% ยิ่งจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น" กฤษดา กล่าวต้นทุนพุ่งรับเหมาส่อทิ้งงาน

ทั้งนี้ ต้องรอดูความชัดเจนจากรัฐบาลอีกอย่างน้อย 1-2 เดือน ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรกับแรงงาน
รับเหมาก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญญาการก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ภาครัฐจะดูแลให้อย่างไร เพราะมีภาระต้นทุนที่
เพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ทางสมาคมอยู่ระหว่างการหารือเพื่อเตรียมเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาอาชีพรับเหมาก่อสร้าง
อย่างเป็นระบบ

วัชรพัธ วัชราภัย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ กล่าวว่า การขึ้นค่าจ้างเป็น
300 บาท รัฐบาลจะต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่าจะปรับขึ้นเมื่อใด เช่น อาจจะปรับขึ้นภายใน 1-2 ปี เพราะ
หากปรับขึ้นเลยทันทีจะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะงานรับเหมาก่อสร้างที่มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างไปแล้วจะกระทบกับต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่ม
สูงขึ้น เนื่องจากไม่ได้มีการคำนวณเผื่อต้นทุนใหม่ไว้ล่วงหน้า อาจจะเกิดปัญหาการทิ้งงานก่อสร้างก็เป็นได้โดย
เฉพาะงานก่อสร้างของภาคเอกชน ต้นทุนสร้างบ้านใหม่เพิ่ม 12%

ขณะที่ในภาคอสังหาริมทรัพย์คงยากที่ผู้ประกอบการรายใดที่มีต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นแล้วจะไม่ปรับราคา
สินค้าขึ้น แม้ในเบื้องต้นว่าที่รัฐบาลใหม่จะเสนอแนวคิดลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23%ในปี 2555
และลดเหลือ 20% ในปี 2556 เพื่อมาช่วยแบ่งเบาภาระที่จะเกิดขึ่นจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ตาม แต่กระแสไม่เห็น
ด้วยและต้องการให้ทบทวนนโยบายอย่างรอบคอบยังดังขึ้นต่อเนื่อง

วิบูลย์ จันทรดิลกรัตน์ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า องค์ประกอบของราคาบ้านมีสัดส่วนของ
ค่าจ้างสูงถึง 27% ส่วนค่าก่อสร้าง 73% ซึ่งหากค่าจ้างปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน จากปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำใน
กรุงเทพฯ อยู่ที่ 215 บาท เท่ากับผู้รับเหมามีต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 39% จะทำให้ราคาบ้านมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 12%

นโยบายดังกล่าวจะกระทบต่อตลาดรับสร้างบ้านอย่างหนัก โดยเฉพาะผู้ที่รับงานไว้จำนวนมาก โดยไม่ได้
คำนวณความเสี่ยงเรื่องค่าจ้างจะเพิ่มขึ้น ในเวลานี้หลายค่ายจึงชะลอการรับงานชั่วคราว จนกว่าจะได้รับความ
ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายนี้ จึงพร้อมที่จะปรับต้นทุนของธุรกิจใหม่ลดภาษีโปะค่าจ้างเพิ่มไม่คุ้ม

ด้าน ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า โครงสร้างต้นทุนก่อสร้างในธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนค่าจ้างบวกค่าก่อสร้าง และค่าวัสดุก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 15-20% หากมีการปรับค่าจ้าง
ขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท คงต้องกระทบราคาบ้านแน่นอน เพราะถ้าปรับค่าจ้างทั่วไปขึ้น แรงงานฝีมือก็ต้องขยับขึ้น
อีก

นอกจากนี้ ในส่วนของค่าวัสดุก่อสร้างก็ต้องได้รับผลกระทบจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น ทำให้วัสดุก่อสร้าง
ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดแม้รัฐจะลดภาษีนิติบุคคลให้ก็อาจได้ไม่คุ้มเสีย เนื่องจากก่อนที่จะถูกหักภาษีนั้นคง
ต้องมีกำไรก่อน หากบริษัทไม่มีกำไรก็ไม่ได้ถูกหักภาษีก็จะไม่ได้รับผลจากนโยบายของรัฐ

ขณะที่ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าจ้างสามารถแบ่งได้
เป็น 2 ส่วน คือ การปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท ซึ่งฐานเงินเดือนพนักงานของแสนสิริส่วน
ใหญ่เป็น 1.5 หมื่นบาทอยู่แล้ว จึงถือว่าได้ผลบวกจากการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น23% ทำให้มีส่วน
ของกำไรที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาบริหารจัดการองค์กรในส่วนอื่นๆ ได้อีก

ขณะที่ส่วนของค่าจ้างแรงงานก่อสร้างบ้านที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้น 300 บาท เบื้องต้นยอมรับว่าคงต้องกระทบ
ต่อราคาสินค้า ซึ่งต้องดูภาพรวมว่าเมื่อเทียบกับการได้ลดภาษีนิติบุคคลแล้ว จำเป็นต้องปรับราคาบ้านขึ้นหรือไม่
เป็นสิ่งที่จะตอบได้เมื่อได้รับความชัดเจนจากนโยบายของรัฐ

แม้ว่าจะเป็นนโยบายที่จะยกระดับความเป็นอยู่ให้กับผู้ใช้แรงงาน แต่ถ้าทำอย่างไม่ระมัดระวังก็จะส่งผล
กระทบในวงกว้าง เพราะสุดท้ายผู้ประกอบการก็จะโยนภาระให้กับผู้บริโภคอย่างแน่นอน

12-07-2011

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ [ 12-07-2011 ]

จากคุณ : B
เขียนเมื่อ : 14 ก.ค. 54 10:10:25 A:110.168.92.113 X: TicketID:219991




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com