 |
รายงานลับจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ กรณีสินบนบริษัทเหล้าชื่อดัง
|
 |
รายงานของคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แห่งสหรัฐอเมริกา กรณี บริษัทดิอาจิโอจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่อินเดีย เกาหลีใต้ และไทย โดยเฉพาะกรณีที่นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ไทย หลายรัฐบาลต่อเนื่องกันรับสินบน
กรณีนี้เกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการทุจริตของคนต่างด้าว (FCPA) โดย บริษัทดิอาจิโอ พีแอลซี ซึ่งมีสำนักใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ที่สุดของโลก
กว่า 6 ปีที่ผ่านมา บริษัทดิอาจิโอฯ ได้จ่ายเงินมากกว่า 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 81 ล้านบาท เพื่อขอสนับสนุนและตอบแทนเจ้าพนักงานของรัฐ หลายประเทศ ทั้งอินเดีย,เกาหลีใต้ และไทย ในการหลีกเลี่ยงภาษี และเพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่บริษัทฯ อินเดีย ในประเทศอินเดีย จากปี 2546 ถึงกลางปี 2552 บริษัทดิอาจิโอ สาขาอินเดีย ได้จ่ายเงินโดยผิดกฎหมายกว่า 1.7 ล้านเหรียญ ให้แก่เจ้าพนักงานของอินเดียที่รับผิดชอบเรื่องการตรวจสอบและรับรองยอดจำหน่ายเครื่องดื่ม
เกาหลีใต้ กรณีประเทศเกาหลีใต้ในปี 2547 บริษัทดิอาจิโอ สาขาเกาหลีใต้ จ่ายเงิน 100 ล้านวอน (KRW) หรือมากกว่า 86,000 เหรียญสหรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อตอบแทนที่วิ่งเต้นให้รัฐบาลจ่ายภาษีคืน นอกจากนี้ ดิอาจิโอ ยังจ่ายเงินกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเอนเตอร์เทนเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเก็บภาษี อีกส่วนหนึ่ง ดิอาจิโอ ยังให้สิ่งของตอบแทนคิดเป็นเงินกว่า 230,000 เหรียญสหรัฐ ให้กองทัพเกาหลีเพื่อรักษาสถานภาพทางธุรกิจเครื่องดื่มสุราในเกาหลี
ประเทศไทย
จากเดือนเมษายน 2547 ถึง กรกฎาคม 2551 ดิอาจิโอ ประเทศไทยหรือ ดิอาจิ โมเอ็ท เฮ็นเนสซี่ ประเทศไทย ได้จ่ายเงินแก่รัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรครัฐบาลไทย (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ไทย”) ในการล็อบบี้เจ้าพนักงานคนอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือบริษัทดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ กรณีภาษีหลายล้านดอลล่าร์และข้อพิพาททางศุลกากร ในการช่วยเหลือดังกล่าว ดิอาจิโอ ประเทศไทย ได้จ่ายเงินประมาณ 12,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน เป็นเวลา 49 เดือน รวมเป็นเงิน 599,322 เหรียญสหรัฐ รวมเป็นเงินไทยประมาณ 17-18 ล้านบาท โดยจ่ายให้เจ้าหน้าที่ไทยโดยตรง และโดยผ่านบริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ไทย เงินเกือบทั้งหมดที่จ่ายแก่บริษัทที่ปรึกษาฯก็เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหน้าที่ไทยให้ความช่วยเหลือให้บริษัทมีกำไรที่มากขึ้น เจ้าหน้าที่ซึ่งได้ปฏิบัติงานในรัฐบาลไทยและ/หรือพรรครัฐบาล ในช่วงเดือนเมษายน- กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ได้รับค่าตอบแทนจาก ดิอาจิโอ ประเทศไทยหลายครั้งโดยเจ้าหน้าที่ไทยระดับสูงของไทยดังกล่าวที่เคยทำหน้าที่เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ,ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อเนื่องกันในระหว่างปีที่อ้างถึง(2547-2551) และเจ้าหน้าที่ไทยคนนี้ยังเป็นกรรมการบริการพรรคไทยรักไทย ซึ่งฝ่ายบริหารของ บริษัทดิอาจิโอ ประเทศไทยเองก็ทราบว่าเจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานของรัฐในระหว่างที่มีความเกี่ยวพันเรื่องเงินกับบริษัทที่ปรึกษาฯ ขณะเดียวกันนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทยคนดังกล่าว ก็ยังเป็นพี่ชายแท้ๆของหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่อีกด้วย ในเวลานั้น ผู้บริหารของดิอาจิโอ ในระดับโลกและระดับภูมิภาคหลายคนเคยพบปะกับเจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทยหลายๆคนด้วยกัน เจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวได้ดำเนินการล็อบบี้อย่างขันแข็งให้ ดิอาจิโอ พีแอลซี และดิอาจิโอ ประเทศไทย โดยติดต่อเรื่องภาษีสำคัญๆและกรณีพิพาททางศุลกากร ระหว่าง ดิอาจิโอ กับรัฐบาลไทย ตัวอย่างเช่นกรณีภาษีสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ไทยได้ประสานงานและจัดให้มีการพบปะกันหลายครั้งระหว่างข้าราชการระดับสูงของไทยกับผู้บริหารระดับสูงของดิอาจิโอ ซึ่งรวมถึงการพบกัน 2 ครั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2548 ยังได้มีโอกาสเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของไทย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ในขณะนั้นอีกด้วย ไม่นานหลังจากที่มีการพบกันในเดือนพฤษภาคม 2548 นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พูดผ่านรายการวิทยุ ในมุมที่เอื้อประโยชน์ต่อกรณีภาษีสรรพสามิตของดิอาจิโอ โดยกำหนดราคาจากการคิดคำนวณภาษีสุราโดยคิดจาก ”ปริมาณ” ไม่ได้คิดจาก ”ราคาขาย” ในนามของบริษัทดิอาจิโอ เจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวยังได้พบกับเจ้าหน้าที่อาวุโสผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ การคลัง การศุลกากร รวมถึงสมาชิกรัฐสภา เพื่อจัดการในกรณีข้อพิพาทเรื่องราคาสินค้าและภาษีนำเข้าด้วย ในการติดต่อช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวได้เคยช่วยให้บริษัทดิอาจิโอ ประสบความสำเร็จในกรณีพิพาทเหล่านี้หลายต่อหลายครั้ง ตัวอย่างเช่นในปี 2547 และ 2548 ดิอาจิโอ พีแอลซี และ ดิอาจิโอประเทศไทย เคยมีกรณีพิพาทฟ้องร้องรัฐบาลไทยในเรื่องสูตรการกำหนดราคาที่เหมาะสมกับเหล้าวิสกี้จอห์นนี่วอล์คเกอร์แบล๊คเลเบิล และเรดเลเบิล ขนาด 1 ลิตร ซึ่งจากความพยายามในการล็อบบี้ของเจ้าหน้าที่ไทยดังกล่าวเพื่อช่วยดิอาจิโอ ได้ทำให้รัฐบาลไทยยอมรับการกำหนดราคาโดยวิธีของดิอาจิโอ และยอมปล่อยเงินแบงก์การันตี 7 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งดิอาจิโอ ประเทศไทยได้วางเงินไว้ระหว่างมีข้อพิพาทเรื่องภาษี กลับคืนให้บริษัทฯทั้งที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอีกด้วย บริษัทดิอาจิโอ ประเทศไทย ยังมีบันทึกอย่างจงใจบิดเบือนในการจ่ายค่าบริการรายเดือน โดยได้จ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นรายเดือนให้เจ้าหน้าที่ไทยคนดังกล่าวผ่านบริษัทที่ปรึกษาฯของเขาเอง สันนิษฐานกันว่าเงินที่จ่ายทั้งหมดเบิกจ่ายเป็นรายเดือนจำนวน 11,989 เหรียญสหรัฐ เป็นค่าที่ปรึกษาและค่าใช้จ่ายนอกงบประมาณ เงินประมาณ 15,169 เหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่จะถูกบันทึกในรูปของค่ารับรองลูกค้า บริษัทดิอาจิโอได้บันทึกรายจ่ายดังกล่าวในรายการบัญชีเดียวกันในหัวข้อต่างๆดังนี้ 1.การให้บริการภายนอกทั่วไป 2.กิจกรรมเพื่อสังคม 3.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ขององค์กร 4.กิจกรรมโครงการภายนอก 5.ค่าสนับสนุนของการมีส่วนร่วม ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยปกติ ดิอาจิโอ ประเทศไทย จ่ายเงินให้แก่บริษัทที่ปรึกษาในบัญชีธนาคารเดียวกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีการสลับบัญชีไปจ่ายอีกบัญชีธนาคาร โดยปราศจากการให้เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงบัญชีไว้ จากสมุดทะเบียนและรายการบัญชีของบริษัทฯ ในความเป็นจริงก็คือ ดิอาจิโอ ประเทศไทย กำลังจ่ายเงินแต่ละก้อนเพื่อให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและพรรคการเมืองของไทย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะล็อบบี้ในคดีเกี่ยวกับภาษีนำเข้าจำนวนหลายล้านดอลล่าร์นั่นเอง บริษัทดิอาจิโอ ละเมิด FCPA หรือ กฎหมายว่าด้วยการทุจริตของคนต่างด้าว โดยหลักการของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯก็ต้องการให้บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ดำเนินการลงบัญชี เพื่อบันทึกรายละเอียดของทรัพย์สินที่ได้มาอย่างมีเหตุมีผล ถูกต้องแม่นยำและโปร่งใส เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม แต่การลงบัญชีของดิอาจิโอ กลับไม่ได้สะท้อนความถูกต้อง แม่นยำของค่าใช้จ่ายที่ผิดกฎหมาย ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทในเครือ ไปยังรัฐบาลอินเดีย เกาหลีใต้และไทย ทั้งหมดจงใจบิดเบือนค่าใช้จ่ายที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง หรือบันทึกภายใต้หัวข้อที่ไม่ถูกต้อง เช่น ค่าใช้จ่ายโรงงาน ค่าใช้โทรศัพท์ ค่าสนับสนุนการขายในหลายๆหลักฐานค่าใช้จ่ายที่ผิดกฎหมาย ก็ไม่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างสิ้นเชิง จากเหตุผลดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่า ดิอาจิโอ พีแอลซี ละเมิดกฎหมายตลาดหลักทรัพย์และล้มเหลวในการปฏิบัติและรักษาระบบการควบคุมภายในที่ดีเพียงพอ แม้บริษัทดิอาจิโอจะยอมรับการสอบสวนของทางคณะกรรมการและเลิกจ้างพนักงานบางส่วน แต่บทลงโทษในข้อกล่าวหาของคณะกรรมการก็จะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ 1.ตามกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ บริษัทดิอาจิโอ ผู้ถูกกล่าวหา ต้องหยุดกระทำการใดๆอันเป็นสาเหตุแห่งการละเมิดดังกล่าว ทั้งปัจจุบันและอนาคตตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 2.บริษัทดิอาจิโอผู้ถูกกล่าวหาจะต้องดำเนินการตามคำสั่งนี้ภายใน 30 วัน และจ่ายค่าปรับจำนวน 11,306,081 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมด้วยดอกเบี้ยจำนวน 2,067,739 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แต่หากไม่จ่ายค่าปรับตามกำหนด จะต้องถูกปรับดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามกฎหมาย 3.ในส่วนที่เป็นคดีอาญา บริษัทดิอาจิโอ ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องจ่ายค่าปรับอีกจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ หากไม่จ่ายตามกำหนดเวลา จะต้องจ่ายค่าปรับดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามกฎหมาย 4.บริษัทดิอาจิโอ ผู้ถูกกล่าวหา ยอมรับว่า คณะกรรมการจะไม่บังคับค่าปรับคดีอาญาเกินกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บนพื้นฐานความร่วมมือของบริษัทดิอาจิโอ กับคณะกรรมการสอบสวน แต่หากในช่วงเวลาใดก็ตาม หลังจากที่บทลงโทษบังคับใช้แล้ว หน่วยบังคับคดีได้พบหรือได้รับข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ความร่วมมือ หรือให้ข้อมูลบิดเบือนต่อคณะกรรมการในกระบวนการที่เกี่ยวข้องอีก หน่วยงานบังคับคดีมีสิทธิ์ที่จะยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อเปิดการสอบสวนเรื่องดังกล่าว โดยอาจมีคำสั่งเพิ่มค่าปรับในคดีอาญาอีกด้วย.
อลิซาเบ็ท เอ็ม เมอร์ฟี่ เลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯ
แปลจากเอกสาร SEC ขอขอบคุณภาพจากไทยรัฐ
จากคุณ |
:
meenna
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ส.ค. 54 16:56:58
|
|
|
|  |