 |
ขอนำข้อมูลดิบ ของน้ำที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ มาฝาก
ขอให้สังเกตุตัวเลขปริมาณน้ำในเขื่อน เปรียบเทียบกับการระบายน้ำ ของปี 53 vs 54
ยกตัวอย่างเขื่อนภูมิพล เดือน 5
ปี 53 มีน้ำ 34% ปล่อยน้ำออก 12 ล้านลูกบาศ์กเมตร ปี 54 มีน้ำ 47% ปล่อยน้ำออก 3 ล้านลูกบาศ์กเมตร
หรือ เขื่อนสิริกิติ์ เดือน 6
ปี 53 มีน้ำ 35% ปล่อยน้ำออก 11.94 ล้านลูกบาศ์กเมตร ปี 54 มีน้ำ 54% ปล่อยน้ำออก 5.5 ล้านลูกบาศ์กเมตร
เป็นต้น
เขื่อนภูมิพล 2010/3/13 vs 2011/3/13 ปริมาตรน้ำ 6,063 (45%) vs 6,282 (47%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 35 vs 21
เขื่อนภูมิพล 2010/4/13 vs 2011/4/13 ปริมาตรน้ำ 5,166 (38%) vs 6,092 (45%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 18 vs 13
เขื่อนภูมิพล 2010/5/13 vs 2011/5/13 ปริมาตรน้ำ 4,580 (34%) vs 6,320 (47%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 12 vs 3
เขื่อนภูมิพล 2010/6/13 vs 2011/6/13 ปริมาตรน้ำ 4,187 (31%) vs 7,317 (54%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 8 vs 1.5
เขื่อนภูมิพล 2010/7/13 vs 2011/7/13 ปริมาตรน้ำ 4,054 (30%) vs 7,993 (59%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 5 vs 7
เขื่อนภูมิพล 2010/8/13 vs 2011/8/13 ปริมาตรน้ำ 4,177 (31%) vs 9,540 (71%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 3 vs 18.74
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/3/13 vs 2011/3/13 ปริมาตรน้ำ 4,177 (44%) vs 5,341 (56%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 18.98 vs 36.21
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/4/13 vs 2011/4/13 ปริมาตรน้ำ 3,779 (40%) vs 4,916 (52%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 11.69 vs 17.02
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/5/13 vs 2011/5/13 ปริมาตรน้ำ 3,514 (37%) vs 4,834 (51%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 7.96 vs 6.53
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/6/13 vs 2011/6/13 ปริมาตรน้ำ 3,356 (35%) vs 5,163 (54%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 11.94 vs 5.5
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/7/13 vs 2011/7/13 ปริมาตรน้ำ 3,207 (34%) vs 6,468 (68%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 7.96 vs 14.89
เขื่อนสิริกิติ์ 2010/8/13 vs 2011/8/13 ปริมาตรน้ำ 4,221 (44%) vs 8,289 (87%) หน่วย ล้านลูกบาศ์กเมตร ปริมาณระบายน้ำ 5.46 vs 44.79
http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php
*****ข่าวนี้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2554*********
ได้เตรียมรับมือภัยแล้งด้วยการให้อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ 17 แห่งเก็บกักน้ำไว้สูงกว่าระดับเก็บกัก (เกิน 70%)
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้ในแหล่งกักเก็บน้ำ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ทั่วประเทศกว่า 400 แห่งมีปริมาณน้ำอยู่ประมาณ 34,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และทางกรมชลประทาน ได้เตรียมไว้ใช้ในฤดูแล้งปีนี้ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และอีก 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็เตรียมไว้ใช้สำหรับปี 2554 จึงขอเตือนเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรัง โดยกรมชลประทานได้ขอความร่วมมือจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังให้ลดจำนวน การปลูกข้าวนาปรังลง และไม่ควรขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อกรมชลประทานจะได้จัดสรรน้ำให้เพียงพอ
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255301300122&tb=N255301
******ข่าวนี้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2554******
ด่วน!! ลานินญ่ากลับมาอีกแล้ว ทีวี360องศาวันนี้มาติดตามข่าวร้ายของชาวโลก “ลานิญญ่า” ที่ป่วนโลกหนักกว่า 1 ปีที่ผ่านมา กำลังจะกลับมาอีกแล้ว ความเข้าใจง่ายๆสำหรับลานิญญาคือ จะทำให้ประเทศในภูมิภาคบ้านเราอ่วมฝนหนัก ขณะที่ฝั่งอเมริกาใต้ก็เกิดความแห้งแล้ง
ศูนย์บริการด้านอากาศของสหรัฐอเมริกา เตือนว่าปรากฎการณ์ลานินญ่าที่หยุดลงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะกลับมาอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้
http://tv360.krobkruakao.com/?page_id=98
******ข่าวนี้เมื่อ พฤศจิกายน 2553******
คำเตือนเรื่องฝนหนัก น้ำท่วม ฤทธิ์ลานินญาทำไทยเผชิญภัยพิบัติเพิ่ม
"ไทยไม่เคยมีการทำแผนที่เสี่ยงภัยไว้เลย จึงแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ การเตือนภัยและการพยากรณ์อากาศจึงยังล้าหลังกว่าเวียดนาม ที่มีการพยากรณ์อากาศแม่นยำมากในภูมิภาคอาเซียน ติดอันดับต้นๆ ในระดับเดียวกับญี่ปุ่น อังกฤษ หรือสหรัฐ" นายธนวัฒน์ กล่าว
http://www.ftawatch.org/all/news/20993
******ส่วนข่าวนี้เมื่อ เมษายน 2554********
กรมชลประทานวางแผนสู้ภัยแล้ง ปีนี้มีน้ำต้นทุนไว้จัดสรร 31,000 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันสำรอง เชื่อยังรับมือไหว ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศยังลดลงอย่างต่อ เนื่อง อ่างแก่งกระจาน กับปราณบุรีวิกฤตสุด 2 อ่าง รวมกันเหลือน้ำใช้แค่ 200 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการจัดสรรน้ำและมาตรการป้องกันปัญหาภัยแล้งปี 2554 ว่า ขณะนี้แหล่งกักเก็บน้ำขนาดกลางและใหญ่มีปริมาณน้ำใช้ได้ประมาณ 31,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทาน ได้จัดสรรการใช้น้ำให้กับการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก รองลงไปได้แก่ การรักษาระบบนิเวศวิทยา และการใช้น้ำเพื่อการเกษตร
ทั้ง นี้ในจำนวนปริมาณน้ำ 31,000 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานได้สำรองไว้จำนวน 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้สำหรับต้นฤดูฝน กับหลังช่วง ฤดูฝน อีกจำนวน 20,100 ล้าน ลบ.ม. โดย น้ำสำรองจำนวน 20,100 ล้าน ลบ.ม.ได้วางแผน การใช้น้ำในพื้นที่เพาะปลูกด้านการเกษตรทั่วประเทศประมาณ15. 29 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นแผนสำหรับการปลูกข้าวประมาณ 12.6 ล้านไร่ http://www.ftawatch.org/all/news/22775
อันสุดท้ายเป็นคลิปข่าว ภัยแล้ง (แล้งสุด ๆ นะ เธอว์) http://www.youtube.com/watch?v=UgmTjoEOQQw
La nina กลับมาอีกแล้ว (ถ้าท่านดูที่ภาพ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยอยู่ในโซนสีแดงเถือกซึ่งหมายความว่าโซนนี้ จะพบกับพายุ และฝนตกชุก โดย ศูยน์บริการด้านอากาศของ สหรัฐอเมริกา ได้ออกเตือนประเทศต่าง ๆมาตั้งแต่เดือน เมษายน 2554)
(แต่เป็นที่น่ายินดีที่ว่า กรมชลประทาน ของคุณชลิต ทำหูแชแหมกับคำเตือน โดยยังเก็บน้ำไว้ในเขื่อน (บางแห่งมากกว่า 70%) ไม่ยอมปล่อยออก โดยมั่นใจว่าตัวเองแน่กว่า ศูยน์บริการด้านอากาศของสหรัฐ แถมพกด้วย ความมั่นใจของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คิดว่า ไม่เท่าไหร่หรอก)
ความเข้าใจง่ายๆสำหรับลานิญญาคือ จะทำให้ประเทศในภูมิภาคบ้านเราอ่วมฝนหนัก ขณะที่ฝั่งอเมริกาใต้ก็เกิดความแห้งแล้ง
ศูนย์บริการด้านอากาศของสหรัฐอเมริกา (เตือนมาตั้งแต่ เมษา 54)เตือนว่าปรากฎการณ์ลานินญ่าที่หยุดลงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะกลับมาอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ หรือตั้งแต่ในช่วงเดือนหน้าเป็นต้นไป การกลับมาของลานิญญา พบโดยแบบจำลองการคาดการณ์อากาศ ที่พบรูปแบบของชั้นบรรยากาศโลกกำลังกลับเข้าสู่สภาวะแบบลานิญญาเมื่อปีที่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า ลานินญ่ารอบสอง จะซ้ำเติมปัญหาภัยแล้ง ทำลายผลผลิตข้าวสาลีในที่ราบทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ออสเตรเลียฝั่งตะวันออกจะเจอฝนหนัก แต่ได้ประโยชน์จากผลผลิตข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์เติบโตดี ส่วนอาร์เจนติน่าและบราซิลจะเจอกับความแห้งแล้ง และเสียเปรียบที่ผลผลิตข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่วเหลืองจะลดลง
เวลาติดตามตรวจสอบลานิญญา เขาจะดูกันที่ความผิดปกติของอุณหภูมิน้ำทะเล
กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รายงานว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรยังใกล้เคียงค่าปกติ แต่ระบบบรรยากาศยังคงมีบางส่วนที่สอดคล้องกับภาวะลานิญญา โดยเฉพาะด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร มีการยกตัวของอากาศอย่างต่อเนื่อง เพราะมีมวลน้ำอุ่นสะสมอยู่และอุณหภูมิสูงกว่าโดยรอบ ทำให้มีความชื้นมากรวมตัวกันเป็น เมฆฝนทำให้มีฝนตกมากในเดือนที่แล้ว ปัจจัยที่สนับสนุนเรื่องนี้คือ การเกิดพายุนกเตน ที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับเวียดนาม ลาว และไทยนั่นเอง อย่างไรก็ตามโดยรวมถือว่ามีเพียงความผิดปกติของชั้นบรรยากาศเท่านั้นที่ดูเหมือนลานิญญายังอยู่ และแบบจำลองคาดการณ์อากาศก็พบว่า หากลานิญญากลับมาจริง ก็จะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว
ก.เกษตรฯเผยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัดแล้ว
แม้แต่ “เดลินิวส์” ยังทนไม่ได้ น่าแปลกใจ ที่น้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเลกลับว่างงาน เหมือนมีการ “วางยา” เจ้าหน้าที่สถานีทุกแห่งมีข้อสงสัยตรงกันว่า “พร้อมสูบทุกวัน รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักที” ถามไปที่กรมชลประทาน ก็ไม่มีคำตอบให้เข้าใจ แต่กลับมีผลให้น้ำท่วม ปทุม-นนทบุรี และ กทม. มีใครกั๊กอะไรไว้ตรงไหนหรือเปล่า??. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=711&contentId=168946
น่าแปลกใจ!น้ำท่วมเต็มเมือง แต่สถานีสูบชายทะเล'ระดับน้ำต่ำ'
“เรา สูบทุกวัน ติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อพร่องน้ำ รอให้น้ำเหนือมา ก็ยังไม่มาสักที” เจ้าหน้าที่ประจำสถานีทุกแห่งบอกตรงกัน
ถ้าคุณไปดูกราฟของ ศูนย์ปฏิบัติการจัดสรรน้ำ สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน ของปี 2009,2010,2011 http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_lgraph.php?dam_id=1 คุณจะเห็นกราฟว่ามันแปลก ๆ กรมชลเองน่าจะเก่งและรู้ว่าน้ำมันจะเกินความจุของเขื่อน แต่ก็ยังสะสมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมา มี ใครกั๊กอะไรไว้ตรงไหน หรือมีจุดประสงค์อะไรหรือเปล่า??. หวังว่าคงไม่มีเรื่องการเมืองหรือการ"วางยา" แบบเดลินิวส์บอก มาเกี่ยวข้องนะครับ
จากคุณ |
:
danwin66
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ต.ค. 54 09:52:59
|
|
|
|
 |