 |
ข้อผิดพลาดที่ควรปรับปรุงของพนักงานขาย ตอนที่ 32 - เหยียดหยันลูกค้าย่อย
“ธีรนันท์” ไม่เคยให้ความสนใจกับใบสั่งซื้อใบเล็กๆ เลย
ทุกครั้งที่เขาต้องเขียนใบสั่งซื้อเล็กๆ เขาจะวางตัวประหนึ่งว่า เขาได้สร้างบุญคุณอันใหญ่หลวง
ให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะต้องเป็นฝ่ายขอบอกขอบใจ ในความเมตตาปรานีของเขาทีเดียว เช่น
เดียวกับพนักงานขายที่เริ่มจะประสพความความสำเร็จทั่วไป ที่ชอบวางฟอร์มใหญ่ และสนใจแต่
ลูกค้ารายใหญ่ๆ เท่านั้น
บุคคลอย่างนี้ ชอบมองอะไรสั้นๆ
เราลองมาวิเคราะห์ปรัชญาชีวิตของ ธีรนันท์ ดูที
ธีรนันท์ มีความเชื่อว่า ยอดขายที่ได้รับการสั่งซื้อจากลูกค้า ควรจะคุ้มค่า คุ้มกับเวลาที่สูญเสีย
ไป เขาคิดแต่เพียงว่า การสั่งซื้อเพียง 3000.- บาท ทำให้เขาได้คอมมิชชั่น 6% ซึ่งเงินแค่
180 บาทเท่านั้น มันช่างเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ปลี้ๆ แท้ๆ
ธีรนันท์ อาจจะทำเงินได้ 200,000 บาทในสัปดาห์เดียว จากการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
อาจจะทำยอดขายจากลูกค้ารายใหญ่รายเดียวถึง 150,000 บาท แต่ในจำนวนเงินขนาดเดียวกัน
นี้ เขาต้องไปพบลูกค้ารายเล็กๆ ถึง 200 ราย เขาจึงเกิดความรู้สึกเซ็งเสมอ เมื่อต้องรับใบสั่งซื้อ
เล็กๆ อย่างเสียไม่ได้
จุดนี้เป็นข้อผิดพลาด ซึ่งมีถึง 2 ประเด็นด้วยกัน คือ
1. ไม่มีใครกระจอก
ประเด็นแรก ธีรนันท์ ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า กว่า 50% ของใบสั่งซื้อมูลค่า 3000 นั้น จะช่วยให้
คนจำนวนมากมีรายได้ด้วย เช่น ผู้ผลิต พนักงานขนส่ง พนักงานบัญชี และฝ่ายธุรการ หรือคน
งาน ฯลฯ
บุคคลเหล่านี้ ก็มีความสำคัญต่ออาชีพการขายเหมือนกัน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้มีการวิจัยออกมาว่า “จะต้องใช้ทหารกองหนุน 5 คน ใน
การช่วยเหลือทหารแนวหน้า 1 คน” กองหนุนเหล่านี้ หมายถึงพวกส่งเสบียง อาวุธ ยารักษาโรค
เครื่องนุ่งห่ม และปัจจัยอื่นๆ “ถ้าปราศจากกองหนุนเหล่านี้ ทหารแนวหน้าก็จะแย่ไปตามกัน”
เช่นเดียวกับพนักงานขาย ความสำเร็จของเขา ย่อมขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของฝ่ายผลิต และ
ฝ่ายส่งเสริมการจำหน่าย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าฝ่ายโรงงานแช่ใบสั่งซื้อของ ธีรนันท์ เสีย โดยไม่จัดส่งของตามกำหนด หรือ
ส่งไปอย่างไม่แยแส เพราะถือว่าธุระไม่ใช้ ธีรนันท์ คงจะต้องเดือดเป็นแน่ เพราะเขารู้ดีว่าเขาจะ
ต้องได้รับการร่วมมือจากบุคคลเหล่านี้เป็นอย่างดี
จึงไม่เป็นการยุติธรรมเลย ถ้าพนักงานขายจะไม่สนใจใยดีกับใบสั่งซื้อย่อยเหล่านั้น เพราะลูกค้า
เหล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ที่จะช่วยสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์การของตน
ตามหลักแล้ว เขาควรจะขอบคุณบุคคลเหล่านั้น เพื่อเป็นการแสดงให้พวกเขารู้ว่า มีความสำคัญ
เพียงไรต่อความสำเร็จทั้งหมด
เพราะฉะนั้น การรับใบสั่งย่อยก็มีผลดีไม่น้อย
2. ปลาเล็กย่อมเติบโตเป็นปลาใหญ่ได้
ประเด็นที่สองก็คือ การมองข้ามใบสั่งย่อย ย่อมมีผลกระทบรายได้ของพนักงานขายแน่ เพราะ
ลูกค้ารายเล็ก มีโอกาสที่จะกลายเป็นลูกค้าใหญ่ในอนาคตได้ ถ้าขายดีขึ้น หรือสภาวะแวดล้อม
เปลี่ยนไปอย่างไม่คาดฝัน
“หาญณรงค์” มีความอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ที่จะไปเยี่ยมลูกค้ารายเล็กรายหนึ่งเป็นประจำ ทั้งๆ ที่
ลูกค้าก็รู้ดีว่า หาญณรงค์ มีลูกค้ารายใหญ่อยู่ในมือเป็นจำนวนมาก วันหนึ่ง เขาถึงถามหาญณรงค์
ว่า
“ถามจริงๆ เถอะ ทำไมคุณถึงยอมเสียเวลามาเยี่ยมผม ทั้งๆ ที่ผมสั่งซื้อจากคุณครั้งละนิดเดียว”
โรงงานดังกล่าว เป็นโรงงานถลุงเหล็กขนาดเล็กๆ โรงหนึ่งเท่านั้น
“ก็เพราะคุณเป็นลูกค้าประจำของเรานะซิครับ และคุณควรจะได้รับการเอาใจใส่จากเรา มาก
พอๆ กับคนอื่น”
หาญณรงค์ตอบ
อีก 1 เดือนต่อมา เมื่อหาญณรงค์ไปเยี่ยมลูกค้ารายนี้ตามปกติ เจ้าของโรงงานก็รีบเชิญเขาเข้า
ไปในสำนักงานทันที และเริ่มว่า
“คุณหาญณรงค์ ผมมีข่าวดีจะบอกคุณ เราเพิ่งได้รับใบสั่งซื้อจากรัฐบาล ให้ถลุงเหล็กสำหรับต่อ
เรือรบจำนวนมาก คุณเป็นเพื่อนดีของเราคนหนึ่งตลอดมา เราจึงอยากจะสั่งซื้อเหล็กทั้งหมดกับ
คุณ”
โรงงานเล็กๆ แห่งนี้ ได้กลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดพันล้านไป ในเวลาไม่กี่ปี และหาญ
ณงค์ก็ได้กลายเป็นพนักงานขาย ที่มีรายได้กว่า 5,000,000 ต่อปี
อย่างนี้จะถือว่าเป็นเพราะโชคได้หรือไม่
แน่นอน บางส่วนนั่นก็ใช่อยู่ แต่อย่าลืมว่า เจ้าของโรงงานนั้น ไม่ได้สั่งซื้อจากพนักงานขายราย
อื่นที่มาเร่ขายเลย เขากลับสั่งซื้อจากหาญณรงค์แต่เพียงผู้เดียวในฐานะที่ หาญณรงค์เป็นผู้ที่ได้
วางรากฐานสัมพันธภาพ กับโรงงานแล้วเป็นเวลานาน
เพื่อนของลุงคนหนึ่ง ชื่อ ธีรพล ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบเขตการขายภาคเหนือ ของ
บริษัทอุตสาหกรรมอาคารแห่งหนึ่ง
ในสมัยที่เขายังในวัยหนุ่มนั้น ทุกๆ เดือน เขาจะต้องไปให้การบริการร้านค้าของชำร้านเล็กๆ ร้าน
หนึ่งเป็นประจำ เพราะเขาสนุกกับการพูดคุยเรื่องออกป่าล่าสัตว์ กับเจ้าของร้านนั้น
ต่อมา ลูกชาย 2 คนของร้านนั้น เติบโตขึ้น และขยายธุรกิจออกเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มี
สาขาไปทั่วประเทศ ลูกชายทั้งสองคนนี้ ยังระลึกถึงไมตรีจิต มิตรภาพระหว่าง ธีรพล กับคุณพ่อ
ของเขาเป็นอย่างดี ก็เลยติดต่อสั่งซื้อจากธีรพล เป็นประจำ จนทำให้ ธีรพล กลายเป็นนักขายที่
มีผลงานแบบนักขายมือทองได้ด้วย
เหตุการณ์เหล่านี้ อาจจะไม่เกิดกับร้านค้าเล็กๆ ทุกร้านหรอก แต่พนักงานขายทุกคน ควรจะให้
ความสนใจกับเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตพอสมควร
จากคุณ |
:
ลุงแอ็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
18 พ.ย. 54 11:26:20
|
|
|
|
 |