 |
ขออธิบาย จขกท. เกี่ยวกับเรื่องภาษีนะครับ
หลักการของภาษีคือ จะคำนวณเป็นรายปี โดยเป็นสมการตามนี้
รายได้ที่ต้องคำนวณภาษี = รายได้ทั้งปี - ค่าลดหย่อนทั้งปี
นำรายได้ที่ต้องคำณวณภาษีมาเข้าสมการตาม คห. 6 ก็จะได้ตัวเลขที่ต้องเสียภาษี เช่น ในกรณีของ จขกท. สมมติว่ามีรายได้ทั้งปีอยู่ที่ 500,000 และค่าลดหย่อนอยู่ 100,000 นั่นคือเหลือรายได้ที่ต้องคำนวณภาษี = (500,000 - 100,000) = 400,000
ซึ่งรายได้ 400,000 เข้าสมการ ตาม คห. 6 จะได้ 150,000 เสียภาษีในอัตรา 0% = 0 (400,000 - 150,000) = 250,000 เสียภาษีในอัตรา 10% = 25,000
ดังนั้นสรุปว่ากรณีนี้ต้องเสียภาษี 25,000 บาท
========================================
ดังนั้นวิธีการเสียภาษีน้อย ๆ ก็คือพยายามทำให้ค่าลดหย่อนสูง ๆ บางกรณีคนที่มีรายได้มากกว่าอาจเสียภาษีน้อยกว่าก็ได้ เช่น
- นาย ก. มีรายได้ 500,000 ค่าลดหย่อน 100,000 เหลือรายได้ที่ต้องคำนวณภาษี 400,000
- นาย ข. มีรายได้ 1,000,000 ค่าลดหย่อน 700,000 เหลือรายได้ที่ต้องคำนวณภาษี 300,000
กรณีนี้สรุปว่านาย ก. มีรายได้น้อยกว่านาย ข. แต่เสียภาษีมากกว่า เพราะมีค่าลดหย่อนน้อย
=====================================================
เรื่องค่าลดหย่อนมีหลายประเภท ได้แก่
1.) การหักค่าใช้จ่าย ตามเงื่อนไขประเภทรายได้ ได้แก่ - เงินเดือน หัก 40% ไม่เกิน 60,000 เพราะเงินเดือนมีเพดานค่าใช้จ่าย จึงทำให้เงินเดือนเป็นรายได้ที่เสียภาษีสูงที่สุดในขณะที่รายได้ประเภทอื่นไม่มีเพดานการหัก เช่น เงินเดือนทั้งปี 500,000 หักได้แค่ 60,000 แทนที่จะหัก 40% คือ 200,000 วิธีการลดภาษีบุคคลธรรมดาที่ดีที่สุดก็คือ พยายามอย่ารับรายได้เป็นเงินเดือน ให้รับเป็นรายได้ประเภทอื่นซึ่งไม่มีเพดานค่าใช้จ่าย - อาชีพอิสระ ได้แก่ แพทย์ ดารานักแสดง หักได้ 60% ส่วนวิศวกร สถาปนิก นักกฏหมาย นักบัญชี หักได้ 30% สังเกตุว่าคนอาชีพเหล่านี้หลายคนเลือกที่จะรับงานอิสระ ไม่ผูกติดกับองค์กร เพราะต้องการรายได้เป็นค่าวิชาชีพ ไม่ใช่เงินเดือนนั่นเอง เพราะไม่อยากคำนวณภาษีแบบเงินเดือน - ค่าเช่า เช่น มีบ้าน รถ ที่ดิน ฯลฯ ให้คนอื่นเช่า หักค่าใช้จ่ายได้ 30% - งานรับเหมา หักค่าใช้จ่ายได้ 70% จริง ๆ มีกรณีอื่นอีก ขอยกตัวอย่างแค่นี้ วิธีการประหยัดภาษีที่ดีที่สุดก็คือ เมื่อได้รับเงินหรือรายได้ ให้พยายามดันให้เข้าเป็นประเภทรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายได้สูง ๆ แต่วิธีนี้หมดสิทธิ์สำหรับคนทำงานกินเงินเดือน
2.) ค่าใช้จ่ายที่หามาเอง ได้แก่ - ประกันชีวิต หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท - ซื้อกองทุน LTF หักได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ - ซื้อ RMF หักได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ - ดอกเบี้ยผ่อนบ้าน - ประกันสังคม (ตัวนี้ถูกบังคับให้จ่ายทั้งที่ไม่อยากจ่าย) - เงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของรายได้ - อื่น ๆ
สังเกตุว่าค่าใช้จ่ายที่หามาเองนี้ จะต้องจ่ายเงินออกไปก่อนถึงลดหย่อนได้ จึงพยายามหาค่าลดหย่อนประเภทที่จ่ายแล้วได้คืน เช่น - จ่ายประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ พยายามหาประกันระยะสั้นที่ได้เงินคืนเร็ว ๆ เสมือนการเอาเงินไปฝากไว้ในกรมธรรม์ พอถึงเวลาก็เอาคืน พยายามใช้ประกันที่คืนเงินเร็ว ๆ ประมาณ 2-3 ปี เพื่อไม่ให้เงินจากไปนาน - ซื้อกองทุน ซึ่งจะเอาเงินคืนได้ภายใน 5 ปี - เงินบริจาคมูลนิธิ สังเกตุคนรวย ๆ หลายคนจะเปิดมูลนิธิเพื่อใช้เป็นแหล่งหาค่าลดหย่อน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องดูรายละเอียดข้อกฏหมายอีกหลายประเด็น ว่าตัวไหนมีเงื่อนไขอย่างไร หักได้เท่าไหร่ เป็นต้น
จากคุณ |
:
TLL01
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ก.พ. 55 13:17:46
|
|
|
|
 |