Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
'ไออาต้า'ฟันธงกรุงเทพฯ ต้องเป็นซิงเกิลแอร์พอร์ต ติดต่อทีมงาน

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อการ เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจในยุโรปยังมีความไม่แน่นอนว่าจะเป็นไปในทิศ ทางใด และจะส่งผลต่อธุรกิจการบินอย่างไร นายโทนี่ ไทเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือไออาต้า ในฐานะตัวแทนของสายการบินจากทั่วโลก ได้แสดงทรรศนะถึงโอกาสของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกไว้ดังนี้

++ โอกาสเปิดกว้างในเอเชีย-แปซิฟิก
ขณะที่ไออาต้าคาดการณ์ผลกำไรของอุตสาหกรรมการบินโลกในปี 2555 ไว้ที่ 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยอัตรากำไรเพียง 0.6% แต่ไออาต้าประเมินว่าภายในปี 2558 ผู้โดยสาร 37% จากทั้งหมดจะเดินทางเข้าออกจากเอเชีย-แปซิฟิก (เพิ่มขึ้นจาก 33% ในปี 2553) เทียบกับ 29% สำหรับยุโรปและอเมริกาเหนือ (ลดลงจาก 31% ในปี 2553) นอกจากนี้ผู้โดยสาร 212 ล้านคน จากกว่า 3,550 ล้านคน ที่เดินทางทางอากาศจะเป็นชาวจีน ซึ่งหมายความว่าเอเชีย-แปซิฟิกจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเติบโตของ อุตสาหกรรมการบินโลก
"เอเชีย-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างมาก และสายการบินต่างๆ ในภูมิภาคกำลังคว้าโอกาสตรงนี้ ดูจากการสั่งจองเครื่องบินของทั้งโบอิ้งและแอร์บัสจะเห็นว่าส่วนใหญ่มาจาก สายการบินในเอเชีย-แปซิฟิก อีกทั้งรัฐบาลก็ให้การสนับสนุนมีการลงทุนใหม่ๆ ในสนามบิน เช่น ในฮ่องกงกำลังสร้างรันเวย์ที่ 3 หรือจีนกำลังสร้างสนามบินใหม่หลายแห่ง คิดว่าโอกาสสำหรับธุรกิจการบินดีไม่แพ้ที่ไหนในโลก แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงการจัดการจราจร ทางอากาศให้ดีขึ้น รับฟังเสียงจากอุตสาหกรรมว่าต้องการอะไร และเปิดเสรีข้อตกลงในด้านการให้บริการมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้สายการบินรอง รับการเติบโตของความต้องการในภูมิภาคได้"
ทั้งนี้ไออาต้าได้ให้การช่วยเหลือสายการบินให้สามารถรักษากำไรในภาวะที่ยาก ลำบากเช่นนี้ในหลายทาง ทางหนึ่งคือรักษาต้นทุนให้ต่ำด้วยการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไออาต้ามีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ช่วยสายการบินที่เป็น สมาชิกลดปริมาณการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและผลประกอบการ มีการทำงานร่วมกับสนามบินเพื่อพัฒนาความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร มีโครงการที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ในการเดินทาง อีกทั้งยังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัย อย่างในปีที่ผ่านมาเมื่อมีตัวเลขอย่างเป็นทางการออกมา จะพบว่าเป็นปีที่ปลอดภัยที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์การบิน


++ เปิดเสรีอาเซียนศักยภาพไม่แพ้ยุโรป
สำหรับการเปิดเสรีการบินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้านั้น "ถ้าลองดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับยุโรปเมื่อครั้งที่พวกเขาเปิดน่านฟ้าเสรี เราได้เห็นการขยายตัวของการเดินทางทางอากาศอย่างมาก มีสายการบินใหม่ๆ เกิดขึ้น ผู้คนจำนวนมากบินไปในที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน ตลาดเติบโตขึ้นในอัตราที่สูงมาก ทั้งในอาเซียนก็มีศักยภาพไม่แพ้กันที่ตลาดจะเติบโตได้มากเหมือนเช่นที่เกิด ขึ้นในภูมิภาคยุโรป"

โทนี่ ไทเลอร์โทนี่ ไทเลอร์ ใน ขณะเดียวกันการเติบโตขึ้นของสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์ในภูมิภาค เอเชียเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าจับตามอง "สิ่งที่เกิดขึ้นในเอเชียซึ่งมีสายการบินโลว์คอสต์ใหม่ๆ เกิดขึ้น คือ สายการบินรูปแบบปกติก็มีการตอบโต้ ด้วยการลดราคาค่าโดยสารเพื่อแข่งขันกับสายการบินราคาถูกใหม่ๆ เหล่านี้คิดว่าเวลานี้ธุรกิจทั้งสองรูปแบบสามารถอยู่ร่วมกันและแข่งขันกัน ได้ และมีโอกาสในตลาดสำหรับสายการบินทั้งสองรูปแบบที่จะทำผลงานได้ดี นั่นคือสิ่งที่เราเห็นอยู่ในตอนนี้ สายการบินรูปแบบดั้งเดิมในเอเชียโดยทั่วไปมีประสิทธิภาพมากและดำเนินการด้วย ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สายการบินเหล่านี้จะประสบความสำเร็จต่อไปแม้จะเผชิญกับการแข่งขันจากสายการ บินต้นทุนต่ำก็ตาม"

อย่างไรก็ดี พูดยากว่าสายการบินต้นทุนต่ำส่งผลต่อกำไรของสายการบินรูปแบบปกติหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าผลกำไรจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีสายการบินต้นทุนต่ำเข้ามาแข่งขัน แต่เชื่อว่ามีพื้นที่พอให้กับสายการบินทั้งสองประเภททำกำไรได้อย่างแน่นอนใน ตลาดที่กำลังเติบโตอย่างเอเชีย เช่น เมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ของเอเชีย สายการบินรูปแบบเดิมจะได้เปรียบในการใช้เครื่องบินของตนเองในการเดินทางระยะ ไกลมากกว่าสายการบินราคาประหยัด จึงมองว่าทั้งสองเติบโตไปด้วยกันได้

++ หนุนกรุงเทพฯเป็นซิงเกิลแอร์พอร์ต  
ด้วยโอกาสที่เปิดกว้างในอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเช่นนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ สำคัญ แต่ไทยมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสตรงนี้ให้ได้มากที่ สุด แต่สิ่งที่กังวลมากคือความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบิน คือกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการบินหรือฮับที่สำคัญในภูมิภาค ร่วมกับฮ่องกง อินชอน (เกาหลีใต้) และสิงคโปร์ และยังอยู่ในตำแหน่งที่จะเป็นฮับสำหรับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเมื่อเศรษฐกิจ ของกัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม พัฒนาขึ้นมา

ดังนั้น กรุงเทพฯ จำเป็นต้องสร้างฮับที่แข็งแกร่ง ซึ่งในระยะยาวหมายถึงต้องโฟกัสไปที่สนามบินแห่งเดียว ไม่ใช่สองแห่ง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถต่อเครื่องได้อย่างสะดวก และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายมากยิ่ง ขึ้น เนื่องจากสายการบินไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่ซ้ำซ้อน กัน ทั้งสนามบินสุวรรณภูมิเวลานี้รองรับความต้องการได้เต็มพิกัดแล้ว ยิ่งการเติบโตในอนาคตยิ่งไม่ต้องพูดถึง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาโครงการขยายสนามบินอย่างเร่งด่วน

"เราได้ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันนี้กับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และกรมการบินพลเรือน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะขณะนี้มีความตึงตัวอย่างรุนแรงในการรองรับผู้มาใช้ บริการที่สุวรรณภูมิ การใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อช่วยบรรเทาชั่วคราวอาจจะมีความจำเป็น แต่ต้องอย่าลืมว่าอนาคตในระยะยาวขึ้นอยู่กับการมีความสามารถในการรองรับผู้ โดยสารที่เพียงพอและมีคุณภาพในราคาที่แข่งขันได้ที่สนามบินแห่งเดียว"

ทั้งหมดคือมุมมองของประธานเจ้าหน้าที่บริหารไออาต้าต่อทิศทางการเติบโตของธุรกิจการบินในภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,716   23-25  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จากคุณ : มีปัญญาคืออาวุธ
เขียนเมื่อ : 27 ก.พ. 55 13:55:59




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com