 |
ผมขอเสริมเรื่องดังกล่าวให้อย่างเป็นหลักการทั้งสองฝ่าย และไม่ขอพาดพิงเรื่องการเมืองนะครับ
สำหรับกรณีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ต้องบอกว่าการที่จะประกาศออกมาได้ว่า เขตไหน พื้นที่ไหนค่าแรงจะเป็นเท่าไรนั้น เขามีคณะกรรมการบริหารจัดการ ซึ่งทำการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสม ซึ่งส่วนนี้ผมไม่ขอก้าวล่วงการทำงานของคณะกรรมการ แต่ถ้าถามว่าตัวเลขเหมาะสมหรือไม่ ผมขอตอบว่า"ยัง"
สำหรับค่าแรงที่กำลังจะขึ้นในไม่กี่วันนี้แล้วนั้น ต้องมองเป็นประเด็นกว้างๆ อย่ามองแคบๆในมุมมองที่ว่านายจ้างจะต้องเพิ่มต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะเรื่องเงินนี้ ส่งผลต่อเนื่องกับหลายๆอย่าง
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ทุกๆวัน หากวันไหนเราเดินทางมาทำงาน แต่เกิดมีเงินในกระเป๋าสัก 1,000 บาท วันนั้นเราใจชื้นแล้ว เพราะมีเงินพอ จะกิน จะซื้อของอะไรก็ไม่น่ามีปัญหา ทำงานได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าวันไหนเงินเราไม่มี เกิดเหลือในกระเป๋าเพียง 100 บาท แต่ต้องอยู่อีกตั้ง 1 อาทิตย์ ท่านจะเห็นว่า มันส่งผลต่อหลายๆอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพจิตใจ ท่านจะกังวลในทุกขณะ ไม่เว้นแม้แต่การทำงาน จะเดิน จะกิน จะนอน ก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่า เงินจะพอหรือไม่
ดังนั้นมองเห็นตัวอย่างกว้างๆหรือยังครับว่า เงินนั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจ และต่อเนื่องมายังการใช้ชีวิต และต่อเนื่องายังผลการทำงาน เป็นห่วงโซ่อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ค่าแรงขั้นต่ำ จุดประสงค์เพื่ออะไร ต้องตอบวา เพื่อให้ลูกจ้าง มีรายได้ขั้นต่ำซึ่งเพียงพอเลี้ยงชีพได้อย่างไม่ต้องกระเบียดกระเสียนและสามารถดำรงตนได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าได้ค่าแรงน้อยกว่าที่กำหนด อาจส่งผลให้ลูกจ้างไม่พอกินพอใช้ ไม่อาจเลี้ยงตนเองได้ตามความจำเป็น
ส่วนในด้านนายจ้าง แน่นอนว่าการขึ้นค่าแรง เป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างแน่นอน แต่ในอีกมุมมองหนึ่งต้องบอกว่า หากพนักงานของนายจ้างท่านนั้นๆ ได้รับเงินเดือนขึ้นเป็นจำนวนที่เพียงพอหรือพอใจของตนอย่างเป็นเหตุผล (ผมใช้คำว่าเป็นเหตุผล เพราะคำว่า"พอใจ" ของคนแต่ละคนไม่เท่ากัน) พนักงานก็สามารถดำรงตนเลี้ยงชีพได้อย่างไม่ต้องกังวล และแน่นอนปฏิเสทไม่ได้คือ เมื่อคนมีความสบายใจแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ยกตัวอย่างง่ายๆ หากท่านจ้างคนมาตัดหญ้าสนามหญ้าหน้าบ้าน พื้นที่สัก 200 ตารางวา คนงาน 1 คน ถ้าท่านจ้างด้วยค่าแรง 100 บาท เขาอาจใช้เวลาตัดทั้งวัน เร่งมากก็ไม่ได้ งานอาจไม่ประณีต เพราะไม่มีใจอยากจะทำ แต่ถ้าเพิ่มค่าจ้างเป็น 500 บาทหรือ 1000 บาท สนามหญ้าแห่งนี้อาจตัดเสร็จในครึ่งวัน เพราะเงินมาแรงก็มาด้วย เป็นเรื่องปรกติ
ดังนั้น นายจ้างที่ดีที่เก่ง ต้องสามารถมองศักยภาพและดึงเอาจุดเด่นข้อดีของการขึ้นเงินนี้ มาแปรผันให้เป็นประสิทธิภาพ แน่นอนว่า ถ้าจ่ายมากขึ้นแล้วได้ผลลัพท์เท่าเดิม คงไม่มีใครอยากทำ แต่การดึงศักยภาพนี้ ผมต้องบอกเอาไว้ก่อนว่า ไม่ใช่การลดจำนวนโอที , ลดพนักงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องเอาไปใช้แปรผันในการเพิ่มผลผลิตให้องค์กร หรือให้ผลผลิตที่มีอยู่นั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนประเด็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาในภาคอุตสาหกรรม ผมคงต้องบอกว่าเป็นเพียงในบางอุตสาหกรรมเท่านั้นครับ ไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร หรือการอุปโภค บริโภค แต่ในส่วนแรงงานด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือด้านที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน แรงงานต่างด้ายยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักครับ
จากคุณ |
:
Chalk_HR
|
เขียนเมื่อ |
:
14 มี.ค. 55 09:31:48
|
|
|
|
 |