 |
พูดให้ตรงความหมาย
หลายคนเมื่อออกคำสั่งไปแล้ว และเกิดผิดพลาดขึ้นมามักจะหาทางออก หรือปกปิดความผิด
ของตน โดยกล่าวเสียอย่างง่าย ๆว่า “ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้นนะ” สำหรับบุคคลอย่างนี้ มี
คำตอบเดียวเท่านั้นที่พอจะสวนกลับได้คือ “คราวหน้าละก็พูดให้ตรงความหมาย และให้มีความ
หมายในคำพูดเสียบ้าง”
ประธานาธิบดีวิลสัน สมัยเป็นเด็กพอตัวเองเขียนอะไรขึ้นมาก็จะอ่านให้คุณพ่อฟังหมด คุณพ่อ
มักจะถามเสมอว่า “อันนี้หมายความว่าอย่างไรล่ะ ลูก?” แล้วเด็กวิลสันจะอธิบาย
“งั้นเขียนใหม่” คุณพ่อแนะนำ
ในการออกคำสั่ง เพียงแต่การใช้ภาษาที่ตนเองคิดว่าผู้อ่านอาจจะเข้าใจนั้น ย่อมไม่เพียงพอต้อง
ให้มั่นใจตัวเองว่าผู้อ่านจะเข้าใจได้แน่ ๆ
การบันทึกคำสั่งต้องให้สั้น ให้ย่อ เขียนยาวเขียนมากจะทำให้ผู้อ่านงง สับสน คำสั่งไม่ได้ขึ้นอยู่
กับจำนวนคำที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่ที่การใช้คำได้ดีเพียงใดต่างหากที่ควรคำนึง วันหนึ่งเพื่อนของผมยื่น
“รายงาน” ที่เขาได้รับมาให้ผมดู เขาว่าเขากุมขมับจนกว่าจะฝ่าดงคำพูดแต่คำแรก จนจบคำสุด
ท้าย
“อ่านแล้วรู้เรื่องอะไรบ้างไหม” เขาพูดกับผม พร้อมกับยื่น “รายงาน” ชิ้นนั้นให้
ผมยื่นกลับคืนพร้อมกับอ้างคำพูดของ ซามูเอล จอห์นสัน ที่ว่า
“ทำท่าวางเขื่องด้วยคำโต มากพยางค์สำนวนว่ากวน”
เกลือที่มีแต่เพียงกลิ่น จะมีประโยชน์อะไร
พยายามอย่าเขียนอะไรให้ยืดยาว ไพลนี นักเขียนชาวโรมัน (62-113) เคยเขียนถึงเพื่อนคน
หนึ่งเมื่อกว่า 1,900 ปีมาแล้วว่า “ผมไม่มีเวลาพอจะเขียนจดหมายสั้น ๆถึงคุณ จึงทำให้ผมต้อง
เขียนจดหมายมาเสียยาว” โปรดจำไว้ว่า การใช้คำฟุ่มเฟื่อยย่อมบอกถึงความไม่ระมัดระวังหรือ
ไม่มีเวลาที่จะเขียน
จากคุณ |
:
ลุงแอ็ด
|
เขียนเมื่อ |
:
19 มี.ค. 55 09:37:01
|
|
|
|
 |