 |
ขออนุญาตเอาบทความของ aumpaump12 มาเพื่อให้เกิดความกระจ่างนะครับ น่าสนใจจริงๆครับ Part 1 เคยดูข่าว แล้วสงสัยไหม เช่น - มีข่าวเกษตรกรเลี้ยงโคนม เอาน้ำนมมาเททิ้งประท้วงรัฐบาลที่ราคาตกต่ำ ... แต่ทำไม นมกล่องในท้องตลาดยังราคาเท่าเดิม ?? - มีข่าว(ไม่นานมานี้) เกษตรกรปลูกสัปรด ปิดถนนประท้วงเพราะราคาตกต่ำ .. แต่ทำไม สัปรดในตลาด ยังราคา20บาท/ถุง เท่าเดิมกับ3ปีที่แล้ว ?? - เมื่อไม่กี่วันมานี้ ฟังรายการวิทยุรายการหนึ่ง มีชาวบ้านโทรมาพูดคุย ประมาณว่า "ลิ้นจี่เริ่มออกผลเต็มต้นแล้ว แต่ขายไม่ได้ ไม่มีพ่อค้ามาซื้อ ผลหล่นใต้ต้นเต็มเลย ไม่มีราคาเลย" ... แต่ทำไมไปเดินในตลาด,ห้าง ลิ้นจี่ มีน้อย ราคาก็แพงเหมือนเดิม ?? - มีข่าวชาวนา ขายข้าวไม่ได้ราคา มีหนี้มีสิน จนรัฐต้องออกมาตรการช่วยลดดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ชั้นดี .. แล้วทำไม ข้าวสารยังแพงเหมือนเดิม ?? (หนำซ้ำ ยังมีแนวโน้มจะแพงขึ้นไปอีก) - มันสัมปะหลัง - กุ้ง ฯลฯ โอย...บานตะไท เป็นต้น ( "เป็นต้น" ในที่นี้หมายถึง ยกตัวอย่างอ่ะนะ ไม่ใช่ "ลิ้นจี่เป็นต้น" 55555) อะไรเป็นช่องว่าง ?? ช่องว่างตรงรอยต่อระหว่างชาวเกษตรกับผู้บริโภคคืออะไร ?? อุดช่องว่างตรงนั้นได้ไหม ?? ถ้ารัฐจริงใจในการแก้ปัญหา จะอุดช่องว่างนั้น ด้วยการ สนับสนุนใคร ระหว่าง 1สนับสนุน การเกษตร 2สนับสนุน พ่อค้าคนกลาง 3สนับสนุน ผู้บริโภค ปัจจุบันนี้ ภาครัฐสนับสนุนใครอยู่ พวกคุณมองเห็นบ้างไหม ?? ทั้งเรื่องภาษี,เงินกู้,ตลาด ฯลฯ แล้วมาดูซิว่า ผู้มีอำนาจในภาครัฐ ส่วนใหญ่(เน้นนะส่วนใหญ่) มีเอี่ยวกับกลุ่มไหนมากที่สุด ?? เมื่อมีเอี่ยว มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ลองคิดเล่นๆสิครับว่า เขาจะเอื้อประโยชน์ให้ใคร ?? ใครผูกขาดสินค้า+ราคา การเกษตร และวัตถุดิบในการทำเกษตร ที่ผมเน้นพูดเรื่องการเกษตร เพราะ การเกษตร ผลผลิต คือรากฐานของทุกสรรพสิ่งในการดำรงชีพ ไม่มีไอแพดเล่นเราไม่ตาย แต่ถ้าไม่มีเงินซื้อข้าวกิน....... คำถามต่างๆเหล่านี้ ผมเชื่อว่า ใครหลายๆคน ผูกเรื่องได้ และน่าจะเข้าใจมากขึ้น ว่าบ้านเมืองเราอยู่ในภาวะอะไร ข้าวของแพงเพราะอะไร +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ Part 2 การคอรัปชั่น จริงๆแล้ว โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นโครงการที่ดีนะ แต่....มันเหมือน มีดโกนอาบน้ำผึ้ง เพราะ รัฐให้เงิน แต่ไม่ให้ความรู้ ให้ชาวบ้านรวมกลุ่มผลิตสินค้าท้องถิ่น ทำเอง ขายเอง แต่อนิจจา ถ้าในกลุ่มมีคนที่ทำการตลาดเป็น ก็พอไปได้สวย แต่ถ้ากลุ่มนั้นมีแต่ชาวบ้านตาสียายสากับหัวหน้ากลุ่มโง่ๆ กลุ่มนั้นก็ลุ่มๆดอนๆ เผลอๆสลายโต๋กันไปในที่สุด มันเหมือนกับ เอาเงินมาให้ชาวบ้าน ซื้อใจชาวบ้าน .... แค่นั้น นอกจาก OTopแล้ว ก็ยังมี โครงการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านอีกหลายโครงการ เช่น SML แต่....(เบื่อจริงๆ คำว่า"แต่"เนี่ย) งบโครงการเข้ามา คณะกรรมการ,ผู้เกี่ยวข้องระดับอำเภอ,จังหวัด ตอดเล็กตอดน้อยกันสนุกสนานเฮฮาปาตี้ ... ก็อาจจะไม่เป็นทุกพื้นที่นะ โครงการต่างๆ จึงเอาไปสร้างอาชีพให้ชาวบ้านได้อย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น -คณะกรรการSMLหมู่1 เขียนเสนอโครงการให้ชาวบ้านเลี้ยงกบในบ่อปูน (วงปูน ส้วมอ่ะ นึกออกม่ะ) -โครการอนุมัติ 1 แสน (ก็ไม่รู้เสียค่าเขียนโครงการให้ใครในอำเภอหรือเปล่า 55) -SML ทำบ่อปูน ได้16 บ่อ กับ พ่อ-แม่พันธุ์อีก16คู่ (อยากจะถีบหน้าหงาย แสนนึง ลงทุนได้แค่เนี๊ยะ ?? ส่วนที่เหลือหายไปไหน ??) - แล้วไอ้16บ่อเนี่ย กระจายไปบ้านคณะกรรมการซะ12บ่อ ส่วนอีก4บ่อ แบ่งให้ชาวบ้าน(ที่สนิท)ไปดูแล -SMLใครมาดูแล ให้อาหาร เลี้ยงกบ คนนั้นได้ค่าจ้าง .... แล้ว แล้ว แล้ว ใครมาเลี้ยงกบว่ะ -SMLรายได้มาจาก ขายกบ แล้วเอารายได้มาแบ่งปันให้คนดูแล .. แล้ว แล้ว ใครรับเงิน ใครขาย ใครดูแล บ่อกบอยู่บ้านใคร ?? สิ่งที่ยกตัวอย่างมา ผมขอปกป้องตนเองซักนิดนะครับว่า เป็นเรื่องสมมุติ ที่ยกตัวอย่างมาให้รู้ ...การคอรัปชั่น มีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ถ้า...ถ้ายังอยู่ในระบบราชการ ( ผมเชื่อว่าอย่างนั้น) ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ Part 3 การแก้ไขปัญหา ในมุมมองของผม ถ้ารัฐจริงใจ ยกโครงการ ประเภท โอทอป,SML มารื้อใหม่ ทำใหม่ ให้มันดีกว่าเดิม สนับสนุนให้เกตรกร เป็น พ่อค้า ......เทห์ม่ะ อิอิ ปลูกเอง แปรรูปเอง ขายเอง หรือ เลี้ยงเอง เชือดเอง ขายเอง หรือ เลี้ยงเอง รีดนมเอง ขายเอง เวิร์คกว่าไหม ?? ท้องที่ไหนปลูกมันสัมปะหลังเป็นหลัก (อาจจะ 70%ขึ้นไป) ตั้งบริษัทให้เลย โดยให้ รัฐถือหุ้นใหญ่ และชาวบ้านถือหุ้นด้วยวัตถุดิบ -ชาวบ้านปลูกพืช ปลูกแล้วไปลงทะเบียนขายให้บริษัท -บริษัทมีโรงงาน(ของตนเองเล็กๆ) แปรรูปเป็นแป้ง เป็นขนม ฯลฯ -บริษัททำการตลาด นำไปขายเอง อาจจะขายทั้ง ส่ง และปลีก และOEM ก็ว่ากันไป -ขายได้กำไร ปันผลให้ผู้ถือหุ้น ทั้งรัฐ และเกตรกร และเก็บอีกส่วนเป็นทุนสำรอง -ภาครัฐสนับสนุนพื้นที่ขาย พื้นที่กระจายสินค้า ไปยังพ่อค้าปลีกโดยตรง -และเปิดโอกาสให้เกตรกรที่ลงทะเบียนท้องถิ่น(แบบว่าเกตรกรตัวจริงแหล่ะ) มีสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่ม เป็นต้น แล้วให้รัฐ ค่อยๆเฟดตัวออกไปพร้อมทุน(อาจจะภายใน10-15ปี เป็นต้น) ให้บริษัทนั้นอยู่ได้ จ่ายเงินเดือนพนักงานได้ จ่ายเงินปันผลให้เกตรกรได้ จ่ายค่าซื้อผลผลิตได้ และที่สำคัญ ขายได้ ลูกหลานเกตรกรเดีียวนี้ ก็เรียนกันสูงขึ้น ออกจากบ้านเกิดมาทำงานในเมือง คราวนี้ล่ะ คนที่เก่งและพอจะมีประสบการณ์ ก็จะได้กลับไปสมัครงานบริษัทบ้านเกิด ถ้าได้ทำงานก็นับว่าเป็นการช่วยบ้านเกิดตนเอง บริษัทนี้จะต้องไม่ใช่ "บริษัทจำกัด" เพราะจะไม่ใช่เจ้าของแค่กลุ่มเล็กๆ บริษัทนี้จะต้องไม่ใช่ "บริษัทมหาชน" เพราะ ถึงแม้จะมีผู้ร่วมหุ้นเยอะ แต่ก็จำกัดเฉพาะคนท้องถิ่น มันจะต้องเป็น บริษัทอะไรซักอย่าง ที่กฏหมายออกมารองรับตรงส่วนนี้ให้ โมเดล "บริษัทบ้านเกิด" นี้ จะมีประโยชน์คือ -บริษัทจะกดราคาเกตรกรไม่ได้ เพราะ เกตรกรก็เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น -บริษัทจะขายแพงเวอร์ ก็ไม่ได้ เพราะ ต้องแข่งขันกับรายอื่นในตลาด -บริษัทจะคอรัปชั่นได้ยาก เพราะ บริหารงานแบบเอกชน ฯลฯ โอย... ต่อ ยอดได้อีกเยอะ ...แล้วถ้าบริษัทบ้านเกิด นี้ ไม่ได้เป็นแค่ แปรรูปมันสัมปะหลังล่ะ -แต่ละตำบล มีโรงสีข้าว(ขนาดกระทัดรัด) เป็นของตนเอง -แต่ละตำบล หรือ2-3ตำบลรวมกัน มีโรงเชือดสัตว์ เป็นของตนเอง -แต่ละตำบล มีโกดังเก็บ แปรรูป ลิ้นจี่,ลำใย เป็นของตนเอง -แต่ละตำบล (ในบางจังหวัด) เลี้ยงวัวและเก็บมูลมาทำปุ๋ย ขาย -แต่ละตำบล (ในบางจังหวัด) มีกลุ่มปลูกดอกกุหลาบ ,กล้วยไม้ มันจะเกิดอะไรขึ้น นึกภาพออกไหม ?? ชาวบ้านผู้ผลิต จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ชาวบ้านผู้บริโภค ก็จะซื้อสินค้าที่สมราคา เพราะ ผู้ผลิตคือผู้ขาย ต่อให้ยักษ์ใหญ่ทุนหนาหันมาสู้ ผมว่า ก็ยังต้านทานไหว ยกตัวอย่าง ยักษ์ใหญ่ ถล่มเจ้าเล็ก มีบริษัทC เป็นบริษัทใหญ่ แทบจะผูกขาดตลาด อาหารสัตว์ในประเทศไทย มีโรงเลี้ยงไก่ ขนาดกลางๆประมาณ 20,000ตัว ในจังหวัดหนึ่ง เริ่มเรื่อง... บริษัทC บอกให้โรงเลี้ยงไก่ ซื้ออาหารสัตว์ของตน และไก่ที่ออกไปขาย ต้องขายอย่างต่ำ ตัวละ 50 บาท เท่านั้น (เพราะบริษัทCก็เลี้ยงไก่ขายเหมือนกัน) โรงเลี้ยงไก่ ไม่เชื่อ ไม่ทำตาม เพราะคิดว่า "กูมีอิสระ" จึีงสั่งอาหารสัตว์เจ้าอื่น (โดยหารู้ไม่ว่า ไอ้อาหารสัตว์เจ้าอื่นน่ะ ไอ้บริษัทCก็มีเอี่ยวกัน ประมาณเครือญาติว่างั้น ... ก็บอกแล้ว บริษัทC แทบจะผูกขาด) จึงทำให้โรงเลี้ยงไก่ มีต้นทุนอยู่ประมาณ 20บาท/ไก่1ตัว โรงเลี้ยงไก่จึง ขายไก่ตัวละ 40 บาท ผ่านไป 2อาทิตย์ โรงเลี้ยงไก่ ขายไก่ดีมาก แม่ค้าเขียงไก่สั่งไก่เพียบ บริษัทC ไม่พอใจ เพราะเขาไม่สามารถควบคุมทิศทางราคาได้ จึงสั่งสอนซะ โดยการ ขายไก่ 25บาท (แน่นอน บริษัทC สามารถประเมินต้นทุนคู่แข่งได้นิ) ผ่านไป 2 อาทิตย์ บริษัทC แย่งส่วนแบ่งตลาดคืนมาได้ ส่วนโรงเลี้ยงไก่ ทำไงดีล่ะ ยอดสั่งซื้อก็หด ไก่ก็โตขึ้นทุกวันๆ จะเก็บไข่ขายก็ไม่ได้เพราะเป็นไก่เนื้อ เอาวะ ...โรงเลี้ยงไก่ยอมขายเท่าทุน 20บาท ดีกว่าปล่อยให้ไก่แก่ แล้วก็ขายไม่ได้อยู่ดี ผ่านไป 1อาทิตย์ บริษัทC นั่งหัวเราะ กรูลดอีก เหลือตัวละ 15 บาท (ต้นทุนก็พอๆกันล่ะ) โรงเลี้ยงไก่ หน้าซีดเป็นไก่ต้ม .. ต่อมาในระยะเวลา2เดือนนั้น โรงเลี้ยงไก่ จำเป็นต้องขายไก่แบบทิ้งขว้าง ที่ตัวละ10 บาท ดีกว่าไก่แก่ แล้วทิ้งไปเปล่าๆปลี้ๆ บริษัทCไม่หวั่น ปล่อยให้โรงเลี้ยงไก่ขายไป ส่วนบริษัทCนั่งมองด้วยรอยยิ้ม โรงเลี้ยงไก่ ขายไก่หมด ไม่มีเงินเลี้ยงต่อ หมด ดับ เลิกทำกันไป บริษัทC กลับมาขายไก่ อีกครั้ง และไล่ราคาไปจนถึง ตัวละ 75บาท ..โหย๋ มีถอนทุนคืนในช่วงเวลาที่สู้กันซะด้วย .......เรียกได้ว่า ผู้บริโภค ได้ประโยชน์แค่ชั่วครู่ เมื่อเขาห้ำหั่นกัน แต่เมื่อใดที่มีผู้ชนะขาด ก็เตรียมตัวกินใช้ของแพงกันได้แล้วจ้า .......... ......แต่ถ้า มีบริษัทโรงเลี้ยงไก่บ้านเกิด(มีสมาชิกซัก 20โรงขนาดกลาง) กับ บริษัทข้าวโพดเพื่ออาหารสัตว์บ้านเกิด ร่วมมือกันล่ะ คุณคิดว่า จะต้านทางบริษัทCนี้ได้ไหม ??? แหม๋ นอกเรื่องซะยาว กลับเข้ามาในประเด็น ดีก่า ดังที่ยกตัวอย่างมา ยักใหญ่ ถล่มเจ้าเล็ก มันจะไม่เกิดขึ้น ถ้า มี โมเดล"บริษัทบ้านเกิด"นี้ มันแตกต่างกับการที่เกตรกรเป็นผู้ผลิต แล้วขาย ขายขาดทีเดียวจบ ให้กับรายใหญ่ เพราะความแข็งแกร่ง ที่เกตรกร เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ขาย เป็นผู้ถือหุ้น เป็นผู้รับปันผล มันจะเกิดความผูกพัน ,ความเป็นเจ้าของ,ความมีส่วนร่วม และที่สำคัญ มันเกิดรายได้ปันผลตามมา และมันคือสัญญาใจ ที่ชาวบ้านเมื่อมีผลผลิตจะต้องนำมาขายที่บริษัทบ้านเกิด บ้านนอกต่างจังหวัดน่ะ พื้นที่มันกว้าง แต่สังคมมันแคบ ใครทำอะไรก็รู้ก็เห็นกัน ใครเอาไปขายที่อื่น เดี๋ยวก็เป็นหมาหัวเน่าแน่นอน ผมว่า แนวทาง"บริษัทบ้านเกิด" น่าจะต้านทานกลุ่มนายทุนได้ เมื่อฐานราก ชนชั้นรากหญ้าที่ใครๆเรียก มีความมั่นคงมากขึ้น มีกินมีใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มันก็เป็นไปไม่ได้ ที่ชนชั้นกลาง จะไม่ดีขึ้น คราวนี้ คนรวยชนชั้นนายทุน ก็หมดเวลาเอาเปรียบคนจนแล้ว โมเดล บริษัทบ้านเกิด อาจจะทำให้ ผู้ค้าส่ง(ประเภทไปรับซื้อจากไร่)เสียผลประโยชน์ไปบ้าง หรืออาจจะทำให้หมดอาชีพกันไปเลยทีเดียว แต่มันก็ต้อง ชั่งน้ำหนัก ถึงประโยชน์ของผู้คนส่วนใหญ่ อาจจะช่วยแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้ ด้วย อาชีพ , ที่ดิน ,เยี่ยวยา เอ๊ย...เยียวยา อะไรก็ว่าไป โมเดลนี้ จะช่วยอุดช่องว่าง ระหว่าง เกตรกร-ผู้ผลิต-ผู้บริโภค ให้สั้นลง โมเดล บริษัทบ้านเกิด คงเป็นไปไม่ได้หรอก ยากมาก เพราะอะไร ลองไปถาม ส.ส. ,รัฐบาล , นายทุน ฯลฯ ดูสิ (ถ้าขี้เกียจถาม ให้ย้อนกลับไปอ่าน Part 1 ดูนะ) +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ Part 4 ผมมันก็คนโง่ๆคนนึง อธิบายไม่เก่ง เลยต้องอธิบายกันยาว (ถ้าอธิบายเก่ง ก็คงจะอธิบายสั้นๆได้ใจความ) คิดได้แค่นี้แหล่ะ ไปล่ะ เมื่อยนิ้วแล้ว จากคุณ : aumpaump12 [Bloggang] เขียนเมื่อ : วันฉัตรมงคล 55 23:48:48 [แก้ไข] ถูกใจ : Jailhouse Rock, nalikaplook, basicball, ลูกอมกลมๆ, ลำบากชีวิต
จากคุณ |
:
smilehand (smilehand)
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ค. 55 08:33:30
|
|
|
|
 |