 |
จริงๆแล้ว ตามเจตนารมย์ของกฎหมาย ไม่ได้มีข้อความใดเลยในกฎหมายที่ระบุว่า ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างรายเดือน ดังนั้นในทางกฎหมาย ลูกจ้างทั้งสองถือเป็นลูกจ้างเหมือนกันทั้งคู่ ดังนั้นสิทธิต่างๆที่ต้องได้รับตามกฎหมาย จึงต้องเหมือนกัน
แต่ทั้งนี้ กฎหมาย มีการระบุการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างเป็นสองประเภทคือ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด และลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด โดยต้องอ้างอิงมาตราที่ 56(1) และมาตรา 62 เราจึงแยกลูกจ้างออกจากกันแล้วกำหนดว่า มีลูกจ้างอยู่สองประเภท คือรายวันและรายเดือน
แต่ทั้งนี้ วันหยุดดังกล่าวที่ท่านเจ้าของกระทู้ถามมาในข้อที่ 1 นั้น ผมยังไม่แน่ใจในเนื้อหาของคำจำกัดความว่า วันหยุดพักผ่อนเดือนละสี่วันนี้คืออะไร ระหว่าง วันหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์ คือเสาร์หรืออาทิตย์ หรือทั้งเสาร์และอาทิตย์ ตามมาตรา 56(1) หรือว่าเป็นวันพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 กันแน่ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นลูกจ้างรายวัน ซึ่งถือเป็นลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด วัดหยุดดังกล่าว หากเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ แล้วลูกจ้างรายวันไม่ได้มาทำงาน วันนั้นก็ไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้ แต่หากมาทำงาน จะได้รับค่าจ้างที่ 2 เท่าทันทีตามมาตรา 62(2)
ส่วนลูกจ้างรายวันจะได้รับเงินค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงานจริงเพียงอย่างเดียวหรือไม่นั้น ต้องตอบว่าไม่ใช่ครับ นายจ้างทั่วไป โดยเฉพาะการจ้างกันเองในร้านเล็กๆ มักไปจัดการโดยคิดว่า ลูกจ้างรายวันวันไหนมาทำงานก็ได้เงิน วันไหนไม่มาก็ไม่ได้เงิน แต่จริงๆแล้ว ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานนั้น ยังมีวันอื่นๆที่ลูกจ้างรายวันถึงแม้ไม่มาทำงาน ก็ยังคงได้รับเงินค่าจ้างอยู่ดี ได้แก่ 1. วันหยุดตามประเพณี ที่ไม่น้อยกว่า 13 วันตามมาตรา 29 วันดังกล่าวนี้ หากบริษัทหรือห้างร้านหยุดให้บริการ อย่าลืมจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายวันด้วยนะครับ 2. วันลาตามสิทธิของกฎหมาย เช่น ลาพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และวันลาป่วยที่ได้รับค่าจ้าง (30 วันต่อปี) ก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายวันเช่นเดียวกันครับ และวันลาอื่นๆตามสิทธิของกฎหมาย
ลูกจ้างรายวันและรายเดือน จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกัน ส่วนเจตนามรย์ของนายจ้างที่แบ่งลูกจ้างเป็นสองประเภท ท่านพี (peh_chai) ได้เคยให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการVC,FCไว้ในกระทู้เก่าๆ ลองค้นดูครับ
จากคุณ |
:
Chalk_HR
|
เขียนเมื่อ |
:
22 มิ.ย. 55 11:57:17
|
|
|
|
 |