ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้คณะรัฐมนตรี และผู้บริหารได้อ่านหนังสือเรื่อง EXECUTION : THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE โดย LARRY BOSSIDY & RAM CHARAN with CHARLES BURCK ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 นั้น ได้มีการสรุปเนื้อหาดังนี้
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงปัญหาของบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่นิตยสารชั้นนำของอเมริกา คือ FORTUNE ได้จัดอันดับว่าเป็น 500 บริษัทชั้นแนวหน้าของประเทศ 500 บริษัท ที่ประสบปัญหาในการบริหารงาน โดยในปี 2000 ผู้บริหารบริษัท (CEOs) จำนวน 40 คน จาก 200 บริษัทอันดับแรกในบัญชีนี้ (20%) ถูกไล่ออกหรือถูกบีบให้ลาออก
เนื่องจากบริหารงานผิดพลาด ในปี 2001 และคาดว่าในปี 2002 ปัญหานี้ก็ยังคงเกิดขึ้นในบริษัทชั้นนำเหล่านี้ ผู้เขียนได้สรุปว่า ปัญหาน่าจะมาจาก กลยุทธ์ของ CEOs เหล่านี้น่าจะผิดพลาดอันเกิดจากไม่สามารถสร้างให้กลยุทธ์ที่ว่านี้บรรลุผลได้ นั่นก็คือ สิ่งที่ CEOs คาดว่าจะเกิดกลับไม่เกิด อันเนื่องมาจากองค์กรไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุผล หรืออาจเกิดจากผู้นำองค์กรประเมินสิ่งท้าทายที่มีต่อบริษัทผิด-พลาด หรืออาจเกิดจากทั้งสองประการควบคู่กันไป หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น (Gap between Promises and Results) องค์กรเหล่านี้ตระหนักดีว่าจะต้องรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ได้ และต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ให้เป็นโอกาสของบริษัทตน แต่บริษัทชั้นนำเหล่านี้ก็ยังคงสร้างความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำลายความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวของตัวเอง
ช่องว่างที่เกิดขึ้นมาจากกการขาดการเชื่อโยง ระหว่างความคาดหวังกับผลการทำงาน ทุกคนรู้ว่าจะต้องบริหารงานให้บรรลุผล แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร การบริหารสู่ความสำเร็จต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธและเป้าหมายของบริษัทและบริษัทจะเปลี่ยนแปลงได้ก็โดยผู้นำทั้งหมดของบริษัท จะต้องนำกระบวนวิธีบริหารสู่ความสำเร็จ (Discipline of Execution) มาใช้ในทุกระดับเท่านั้น
มีหลักการ 3 ประการในการบริหารสู่ความสำเร็จ ได้แก่
1.การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นหลักการสำคัญ และต้องบูรณาการกับกลยุทธ์ของบริษัท
2.การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นงานหลักของผู้นำทางธุรกิจ
3.การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร
การบริหารงานสู่ความสำเร็จไม่ใช่กลวิธีในการทำงาน แต่กลวิธีในการทำงานเป็นหัวใจของการทำงานสู่ความสำเร็จ ( Execution is not tactics but tactics are central of executions) ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับขีดความสามารถขององค์การในการบริหารงานสู่ความสำเร็จ โดยเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการแสวงหาวิธีที่จะทำความสำเร็จให้เกิดขึ้นอย่างไร และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์กับการปฏิบัติ
ทั้งนี้ต้องมีการสร้างความเป็นผู้นำใน 7 พฤติกรรมที่จำเป็น ได้แก่
1.รู้จักพนักงานและธุรกิจของตนเป็นอย่างดี
2.ยืนหยัดยึดมั่นในความเป็นจริง (ไม่หลอกตัวเอง)
3.เข้าใจทะลุปรุโปร่งในเป้าหมายและลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย
4.ทำตามที่วางแผนไว้
5.ให้รางวัลคนที่ทำให้สำเร็จ
6.เพิ่มพูนขีดความสามารถของพนักงาน
7.รู้จักตนเอง
จากคุณ :
TTR (พาย-อาร์)
- [
22 ส.ค. 46 08:42:23
A:169.210.12.122 X:
]