ความคิดเห็นที่ 20
ดังนั้นหากมองทั้ง มิติทางเศรษฐกิจและมิติทางสังคมไปพร้อมๆกัน... การจัดการความรู้ทางธุรกิจเพื่อการพัฒนาทุนทางปัญญานั้นจะนำไปสู่ดุลยภาพของโลกาภิวัตน์... ที่จะสร้างสรรค์ความเจริญทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันกับความเจริญทางสังคม...
โดยในมิติทางเศรษฐกิจนั้นการจัดการความรู้มีเป้าหมายหลักเพื่อการปรับตัว ความอยู่รอด และการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แบบไม่สามารถคาดเดาได้...
เป็นกิจกรรมที่องค์ประกอบสำคัญคือ กระบวนการ (Process) ในระดับองค์กรที่มุ่งสร้างพลังเสริม (Synergy) ระหว่าง ความสามารถของคนในการสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม กับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการประมวลข้อมูลและข้อสนเทศ (Maholtra, 19xx)
ตลอดจนสนับสนุนและเสริมสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ และโดยมิติทางสังคมนั้นการจัดการความรู้ ด้วยลักษณะของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ จะช่วยลดช่องว่างทางความรู้ (Knowledge Divide) ในปัจจัยที่ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ (Maholtra, 19xx) ความรู้มาจากคน คนเราอาจมีความสามารถต่างกันในการสร้างความรู้ แต่ทุกคนมีโอกาสเท่ากันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์อันจะนำไปสู่ความรู้ (อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, 2546)
ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาและพัฒนาปรับปรุงความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อก่อประโยชน์ จากความรู้ที่ฝังอยู่ในคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชนหรือเครือข่าย โดยใช้ถนนเข้าสู่ความรู้ผ่านคน การสนทนา การติดต่อสื่อสาร และความสัมพันธ์ความรู้จะปรากฏตัวออกมาผ่านการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งหมดถ่ายเทผ่านกระบวนการทางสังคม การเข้าสู่ความรู้ทำได้โดยการติดต่อสื่อสารกับผู้รู้หรือรู้ว่าควรสอบถามใคร(Grey, 19xx)และความรู้สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่หมดไป(Steward, 1999) การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai) เพื่อการสร้างสรรค์อย่างแท้จริงต่อสังคมโลกอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
จากคุณ :
ว่าที่ ดีอาร์
- [
7 มิ.ย. 48 13:34:09
]
|
|
|