สวัสดีครับพี่ๆเพื่อนๆ 
วันก่อนไปซีเอ็ด ซื้อหนังสือแปล
The richest man in Babylon เศรษฐีชี้ทางรวย
ความจริงผมมีอยู่แล้วคือฉบับแปลเก่า คนละคนกันแปล
อยากอ่านอีกรอบ เลยซื้อที่แปลโดยอีกท่านหนึ่ง
แค่ชื่อเรื่อง อันเก่าแปลตรงๆ บุรุษผู้มั่งคั่งแห่งบาบิโลน
อ่านแล้วผมชอบสำนวนเล่มเก่า
พาออกนอกเรื่อง อารัมภบทยาวอีกแล้วครับ
ผมเคยอึดอัดกับเงินขี้เกียจ ในพอร์ต เช่นเงินที่ขาย
กองหลังไปนานๆ เงินที่ได้มาจากการขายทำกำไร
เงินปันผล ฯลฯ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้แต่นอน
แอ่งแม้ง กินดอกเบี้ยร้อยละ2อยู่ในพอร์ต
ความจริงมันก็มีหน้าที่ของมัน คือรอโอกาสซื้อคืน
หรือ โอกาสดีที่ไม่เกิดบ่อยนักในตลาดหุ้น
จะได้ใช้เงินก้อนนี้ คิดยังงี้ก็เลยพอปลอบใจตัวเอง
เพื่อรับดอกเบี้ยน้อยๆ แต่เงินต้นไม่หาย
ผมอ่านถึงบท"นายทุนเงินกู้แห่งบาบิโลน"
ความสำคัญของทองคำต้องไม่สูญไปสำคัญที่สุด
ยิ่งกว่าผลตอบแทนก้อนโตแต่หากเสี่ยงที่จะสูญต้น
ดังนั้นมานึกดู ในบางช่วงเราขยันเกินเหตุ
เกรงว่าเงินจะขี้เกียจ เราจึงใช้มันไปล่าหรือออกลูก
ออกหลาน อย่างรีบเร่ง โดยไม่รอบคอบ หรือ
แผนการยังมีช่องโหว่ มันจึงไม่ออกลูกแถมผอมลง
ลูกก็ไม่ออก
เงินขี้เกียจเกินไปก็ไม่ดี สรุปว่าต้องพอดีและรอบคอบ
มีแผนการรองรับเสมอ
น่าจะตรงกับที่ วอเรน บัฟเฟต กล่าวว่า
ข้อที่1 ต้องไม่ขาดทุน
ข้อที่2 ให้ไปดูข้อที่1
ยาวๆแล้ว แค่นี้ก่อนครับ
แก้ไขเมื่อ 27 ม.ค. 49 15:31:53
จากคุณ :
เต่าหยวนเปียว
- [
27 ม.ค. 49 13:57:58
]