ความคิดเห็นที่ 3
หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ " ได้รวบรวมกฎหมาย มาตรการ และนโยบายที่ออกในสมัยรัฐบาลทักษิณและส่งผลโดยตรงกับธุรกิจที่อยู่ใต้ร่มเงา บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "ชินคอร์ป" ซึ่งสามารถลำดับได้ดังนี้ 1.-ออกพรก.ภาษีสรรพสามิต เรื่องแรกการออกพระราชกำหนด(พรก.) การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2546 สมัยที่นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที (ปัจจุบันโฆษกรัฐบาล) หลัง พรก. ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเรื่องการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับคู่สัญญา โดยหันไปจ่ายให้กับทางกรมสรรพสามิตแทนจากเดิมที่ทางบริษัทผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับคู่สัญญาโดยตรง กล่าวคือทางบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำให้กับคู่สัญญาคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือชื่อเดิมองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในอัตราขั้นต่ำ 20 % ต่อปี แต่เมื่อเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายใหม่ทางเอไอเอสจ่ายผลตอบแทนให้กับทีโอที 10 % เท่านั้น !!! คำถามเชิงผลประโยชน์เชิงทับซ้อนที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ พรก. ฉบับดังกล่าวออกมาเพื่อทำให้ธุรกิจของคู่สัญญาสัมปทานซึ่งเป็นคู่แข่งด้วยในเวลาเดียวกันอย่าง บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท. โทรคมนาคม หรือ แคทเทเลคอม อ่อนแอลง ตรงกันข้ามกับเอกชนที่กระชุ่มกระชวยยิ่งขึ้นเพราะ จำนวนเงินที่จ่ายตอบแทนให้กับภาครัฐต่อปีลดลง ข้อสังเกตุดังกล่าว ถึงตอนนี้สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะฐานะทางการเงินของ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท. มีแต่อ่อนแอลงทุกวัน จะขยายธุรกิจเดิมทีมีอยู่แล้วอย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยโมบาย 1900 ก็ไม่มีแหล่งเงินทุนสุดท้ายต้องหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราว เพราะไม่สามารถแข่งขันกับภาคเอกชน ที่ร้ายที่สุดก็เห็นจะเป็นความล่าช้าในการนำบริษัท 2 แห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกเลื่อนออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีทีท่าว่าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ตามที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยตั้งเป้าไว้จะนำสองบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
2.บีโอไอยกเว้นภาษีไอพีสตาร์ เรื่องต่อมาที่วิญญูชนถึงกับร้องว่า "โอ..พระเจ้าจอร์ช"คือ กรณีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ ในส่วนโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ให้กับ บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ชินแซท เป็นระยะเวลา 8 ปี คิดเป็นวงเงิน 16,459 ล้านบาท ทั้งที่ไม่ได้เป็นกิจการต่างชาติเข้ามาขอส่งเสริมการลงทุนในไทย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ในปีเดียวกันห่างจากเหตุการณ์แรก ราว 10 เดือน แม้เรื่องนี้จะไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงเหมือนการออก พ.ร.ก. การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม แต่เป็นอีกตัวอย่างที่เผยให้ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายรัฐกับธุรกิจในกลุ่มชินคอร์ป ไม่เพียงแต่เรื่องบีโอไอลดภาษีให้เท่านั้นเหตุการณ์ลักษณะนี้ยังเกิดซ้ำอีกเมื่อกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ได้ประกาศยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ชิ้นส่วนดาวเทียมให้กับบมจ.ชิน แซทเทลไลท์ ด้วยโดยเรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นมาในเวทีการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2546 3.สิทธิพิเศษแก่ไอทีวี ถัดจากดาวเทียมมาถึงสถานีโทรทัศน์ไอทีวี!! ชินคอร์ปซื้อไอทีวีมาจากแบงก์ไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นพันธมิตรเหนียวแน่นในปี พ.ศ. 2543และดันเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นปี พ.ศ. 2545 หากอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ไม่อู้ฟู่นักคือ สัญญาสัมปทานที่ระบุว่าต้องจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำให้รัฐ 25,600 ล้านบาท นับจากเข้าครอบครอง ไอทีวี ตัวแทนของชินคอร์ปที่เข้าไปบริหารพยายาผลักดันขอแก้สัญญาสัมปทานมาโดยตลอด กระทั่งวันที่ 30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อพิพาทให้สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้มีมติ ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่ ไอทีวี เป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาทพร้อมกับมีคำสั่งให้ สปน.ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนที่ไอทีวีต้องจ่ายให้ลดลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท ที่สำคัญ สปน.ยังแก้ไขสัญญาให้ ไอทีวี สามารถเพิ่มรายการที่เป็นบันเทิงได้จากสัญญาสัมปทานเดิมที่ให้ต้อง เป็นรายการบันเทิง ในสัดส่วน 30% และรายการข่าว 70% ตามคอนเซ็ปต์สถานีข่าวซึ่งระบุในสัญญาสัมปทานที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ผลจากการที่แก้ไขสัญญาสัมปทานทำให้ฐานะทางการเงินของไอทีวีดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพราะมีเม็ดเงินโฆษณาเข้ามากขึ้นและไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับภาครัฐเป็นเงินก้อนโตเหมือนที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทานเดิม และยังทำให้ไอทีวีแปลงร่างจากสถานีข่าวสู่ทีวีบันเทิงที่สามารถแข่งขันกับฟรีทีวี ช่อง 3 5 7 ได้อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย หากหลังการออกมาคัดค้านขององค์กรภาคประชาชนได้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าจะเอาอย่างไรซึ่งขณะนี้เรื่องยังอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ
3.เปิดทางโล่งให้แอร์เอเชีย กรณีต่อมาคือ บมจ.ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่ชินคอร์ปเข้าไปร่วมทุนกับ แอร์เอเชียในปี พ.ศ.2547 การร่วมทุนดังกล่าวคงไม่เป็นที่โจษจรรย์หากไม่มีการอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งให้กับสายการบินน้องใหม่รายนี้ เริ่มจาก การแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ(พรบ.) การเดินอากาศ ปี พ.ศ.2497 มาตรา31 เรื่องการนำเครื่องบินมาจดทะเบียนไทยหรือสายการบินสัญชาติไทยเพื่อให้มีสิทธิในการใช้สิทธิการบินของไทยเพื่อดำเนินธุรกิจการบิน ซึ่งของเดิมกำหนดว่าบริษัทที่มีสิทธิคนไทยจะต้องถือหุ้น 70 % และต่างชาติ 30 % แต่มีการปรับใหม่เป็นให้คนไทยถือหุ้น 51 % ก็พอที่เหลืออีก 49 % ให้ต่างชาติถือ นอกจากนี้ยังมีรายแก้ไขข้อบังคับต่างๆที่บังเอิญทำให้ ไทยแอร์เอเชีย ดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวขึ้น ยกเลิกเงื่อนไขการกำหนดราคาค่าโดยสารขั้นต่ำออกไปซึ่งสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจสารการบินต้นทุนต่ำของ ไทยแอร์เอเชียที่เปิดตัวต้นปี พ.ศ. 2547 ด้วยแคมเปญตั่วราคา 99 บาท ทั้งๆที่เดิมรัฐมีการกำหนดเงื่อนไขราคาค่าโดยสารไว้ว่า สายการบินต่างๆที่มีเส้นทางบินที่มีระยะทางเกินกว่า 200 กิโลเมตร จะต้องขายตั๋วโดยสารมาตรฐานต่อกิโลเมตรขั้นต่ำอยู่ที่ 3.82 บาทต่อกิโลเมตร และอัตราค่าโดยสารมาตรฐานขั้นสูงอยู่ที่ 6.82 บาทต่อกิโลเมตร หลังไทยแอร์เอเชียบินได้พักสั้นๆ คณะกรรมการของ บริษัทท่าอากาศยานไทยหรือทอท.ก็มีคำสั่งให้ปรับรูปแบบการคิดราคาค่าบริการใช้สะพานเทียบเครื่องบิน ให้แก่สายการบินต่างๆที่ทำการจอดเทียบสะพานเวลาไม่เกิน 40 นาที ให้เสียค่าบริการเพียงครึ่งหนึ่งของการจอดเทียบ 1 ครั้ง ซึ่งการแก้ไขนี้ก็ถือว่าเอื้อให้ไทยแอร์เอเชียสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ แทนจากเดิมที่การจอดสะพานเทียบเครื่องบินจะกำหนดไว้ว่า ถ้าไม่เกิน 1 ชั่วโมง จะต้องเสียค่าบริการเต็ม ซึ่งจะแตกต่างกันตามแบบของเครื่องบิน อาทิ เครื่องบินแบบโบอิ้ง 737 จะเสียค่าใช้จ่ายอยู่ที 1,800 บาท 4 .-แก้ไข พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม เรื่องที่กล่าวข้างต้นแม้ถูกวิจารณ์อย่างหนักหน่วงแต่ ยังถือว่าน้อยไปด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับคำถามเรื่องที่ 4 กรณีการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพิ่มเป็น 49 % จากเดิมกำหนดเพดานเพียง 25% ตามลำดับ และยังตัดเงื่อนไขเรื่องสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงเพราะพรบ. ฉบับใหม่ซึ่งมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันศุกร์ที่ 20 มีผลบังคับใช้จริงในวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. 2549 หรือเพียง 2 วันก่อนที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์จะประกาศขายหุ้นมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาทให้กับกองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ อย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มกราคม ผลจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวไม่เพียงเปิดทางให้ สิงคโปร์เข้ามาลงทุนในชินคอร์ปซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอไอเอสยักษ์สื่อสารของไทยเท่านั้น หากยังเปิดทางโล่งให้ ชินคอร์ป ที่ทางพฤตินัยต่างชาติถือหุ้นใหญ่สามารครอบ ครองกิจการสื่อและยังถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย เพราะไอทีวีทำธุรกิจสื่อสารมวลชน รัฐธรรมนูญมาตรมาตรา 39 วรรคห้าบัญญัติเอาไว้ว่า " เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งถ้ายึดตามกฏหมายบัญญัติก็หมายความว่า คนต่างด้าวผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านสื่อสารได้ไม่เกิน 50 % 5. เลี่ยงภาษีขายหุ้นชินคอร์ป รื่องสุดท้ายที่สังคมต้องการคำตอบจาก นายกรัฐมนตรี คือการขายหุ้น ชินคอร์ป จำนวน 1,487,740,120 หุ้น หรือ 49.6 % ของครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ ราคา 49.25 บากต่อหุ้นให้กับบริษัทตัวแทน กองทุนเทมาเสก จากสิงคโปร์ คือ บริษัท ซีดาร์โฮลดิ้ง 38.6 % และ บริษัท แอสแปน 11 % ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่า 73,300 ล้านบาทซึ่งมีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมาโดยไม่ต้องเสียภาษีเลย ซึ่งมีคนตั้งข้อสังเกตุมากมาย รวมทั้งฝ่ายค้านที่ออกมาระบุว่า ครอบครัวชินวัตร จงใจเลี่ยงภาษีด้วยการให้ ชินคอร์ป ขายหุ้นแทนเอไอเอส ทั้งที่ ผู้ซื้อมีเจตจำนงค์ว่าสนใจเฉพาะกิจการมือถือของเอไอเอส เพราะถ้าเอไอเอส ขายหุ้นผู้รับรายได้คือ ชินคอร์ป และ ชินคอร์ป จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 30 % ของรายได้ให้กับ แผ่นดิน ซึ่งคำนวนอย่างหยาบแล้วก็ตกราว 40,000 ล้านบาท ครอบครัวชินวัตรถืออยู่ประมาณครึ่งหนึ่งก็ 20,000 ล้านบาทเหนาะๆ แต่ถ้าให้ ลูกๆของนายกรัฐมนตรีขายหุ้นในชินคอร์ปก็จะได้รับกยเว้นภาษีเนื่องจากเป็น บุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ฝ่ายค้านโดย กอปร์ศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหาร พรรค ปชป.ยังปูดเสริมด้วยว่าบริษัท แอมเพิล ริช โอลดิ้ง (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณถือหุ้น 100%)ซึ่งจดทะเบียนที่ เกาะบริติชเวอร์จินไอส์แลนด์ สวรรค์ของคนฟอกเงินและเลี่ยงภาษี ได้ขายหุ้นชินคอร์ป 329.2 ล้านหุ้นให้กับ นางสาวพินทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ราคาหุ้นละ 1 บาท ก่อนที่จะขายต่อให้กับ 2 บริษัทตัวแทนของกอทุนเทมาเสกทำให้ 2 ศรีพี่น้องมีกำไรจาการขายหุ้นเฉพาะส่วนนี้ 15,883.9 ล้านบาท นอกจากนี้ยังคนกังขาว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) ทำไมจึงให้สิทธิผู้ซื้ออย่าง กองทุนเทมาเสกทำเทนเดอร์อฟฟเฟอร์(ประกาศซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย)เฉพาะ ชินคอร์ และ เอไอเอส ส่วน ชินแซท กับ ไอทีวีไม่ต้องทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ จากคำถามที่เรียงรายมาตั้งแต่ต้น ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของรัฐกับการขับเคลื่อนอาณาจักรธุรกิจของครอบครัวชินวัตร และเมื่อมองเน้นๆไปที่บริษัทในกลุ่มชินคอร์ปจะพบว่าขนาดที่วัดจากมูลค่าหลักทรัพย์พองโตอย่างพรวดพา เฉพาะชินคอร์ป ณ สิ้นปี 2544 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแค็ป)อยู่ที่ 45,817 ล้านบาทเท่านั้น แต่สิ้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 122,952 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 160 % เช่นเดียวกับ เอไอเอส บริษัทที่อยู่ใต้ร่มเงาที่ขยายตัวในระดับมากกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน ความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มชินคอร์ปดังกล่าว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจาก "แรงส่ง" ของนโยบายรัฐและมาตรการจากหน่วยงานของรัฐที่บังเอิญออกมาเป็นคุณอย่างพอดิบพอดี เป็นไปได้ว่า หากไม่มีนโยบายหรือมาตรการเหล่านั้น กองทุนเทมาเสกไม่มีวันเทเงินเฉียดแสนล้านบาทเข้ามาฮุบชินคอร์ปของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธุรกิจแห่งนี้แน่ ข้อสรุปดังกล่าวย่อมเป็นการพิสูจน์ว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช่แค่คำกล่าวหาเท่านั้นแต่มีอยู่จริง
หรือนายกรัฐมนตรีจะว่าไม่จริง!!!!!
จากคุณ :
pv
- [
31 ม.ค. 49 23:02:40
A:61.7.142.47 X:
]
|
|
|