ความคิดเห็นที่ 11
เคยมีคนอธิบายไว้ที่ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I4103342/I4103342.html
แต่โดนลบไปแล้ว
ความคิดเห็นที่ 20
ไม่รู้จะมีคนอ่าน ซักเท่าไร เพราะข้อเขียนยาว ๆ มักมีผู้ติดตามน้อย แต่ก็อยากเขียน เพื่อเสนอข้อสังเกตในบทความข้างต้น อีกแง่มุมหนึ่ง เผื่อมีคนอ่านแล้วเข้าใจ
ต้นฉบับบทความข้างต้น ฉบับเต็ม ๆ อ่านได้ที่
http://www.law.chula.ac.th/th/Text-File/%CB%D8%E9%B9%AA%D4%B9%A4%CD%C3%EC%BB.pdf
1. กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 หรือไม่
กรณี ที่ ผู้เขียนยกตัวอย่างเรื่อง ... ซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก แล้วแสดงความเห็นว่า - ถ้าซื้อสินค้า/ทรัพย์สิน นั้น ราคาต่ำกว่าราคาตลาดไม่มาก ... ไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน - ถ้าซื้อสินค้า/ทรัพย์สิน ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ... ส่วนต่าง ถือว่ามีการให้โดยเสน่หาแอบแฝง ... จึงควรถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
และมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อสนับสนุนแนวความคิด เช่น
ก) กรณี ม. 40(4) ก. http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata40
.....หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรก ในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งโดยข้อเท็จจริง ผลต่างดังกล่าว เข้าลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย (premium/discount) นั่นเอง และการให้ผู้ออกตั๋วฯ หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ก็เป็นการปฏิบัติเช่นเดียวกับ ดอกเบี้ย (นำมาเปรียบเทียบกับส่วนต่างของการซื้อทรัพย์สินในราคาต่ำกว่ามูลค่า ... ยังไม่ถูกต้องซักทีเดียวนัก)
การตีความของผู้เขียนว่า...ในกรณีส่วนต่างของตั๋วเงินหรือตราสารฯ ตาม ม.40(4) เทียบเคียงกับการซื้อขายทรัพย์สิน/หุ้น ที่ต่ำกว่ามูลค่า ...ย่อม - เป็นการตีความเกินขอบเขตของบทบัญญัติแห่งกฏหมาย - ลักษณะที่นำมาเปรียบเทียบ โดยเนื้อหา และข้อเท็จจริงเปรียบเทียบกันไม่ได้
จากคุณ : Oil - [ 14 ก.พ. 49 15:13:15 A:61.90.101.141 X: TicketID:086607 ]
ความคิดเห็นที่ 21
ข. กรณี ม.42(6) และ (18) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดการซื้ออากร แสตมป์ฯ (6) และ เงินรางวัลจากสลากฯ เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย (18)
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata42
ม.42 นี้ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ที่กฏหมายยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี โดย ผู้เขียน สรุปว่า "การยกเว้นเงินได้ตามบทบัญญัติใน ม. 42 (6) และ(18) ดังกล่าวจึงเป็นการแสดงให้เห็น ได้อย่างชัดเจนว่าส่วนต่างจากการซื้อทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้ซื้อได้เช่นกัน เพราะหากส่วนลดดังกล่าว มิใช่เงินได้พึงประเมิน ประมวลรัษฎากรก็คงไม่จำเป็นต้องบัญญัติยกเว้นให้
เจตนาของบทบัญญัตินี้ เพื่อยกเว้นให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย อากรฯหรือสลากบำรุงกาชาดไทย โดยรับซื้อจากรัฐ ในราคาที่มีส่วนลด และนำมาจำหน่ายตามราคาหน้าตั๋ว และยกเว้นเงินได้ให้แก่ผู้ถูกรางวัลของสลากฯ ซึ่งเป็นการยกเว้นให้ทั้งจำนวน ไม่ใช่เฉพาะส่วนลด อย่างเดียว
ซึ่งผู้อ่าน ที่ไม่เข้าใจบทบัญญัติ อาจเข้าใจกรณีดังกล่าวคลาดเคลื่อน เนื่องจากการเสียภาษีอากรของบุคคลธรรมดานั้น ถ้ากฏหมายไม่ระบุโดยชัดเจนแล้ว โดยส่วนใหญ่จะคำนวณภาษีบนพื้นฐานของรายได้ ไม่ใช่ส่วนต่าง (ราคาซื้อกับราคาขาย) โดยเฉพาะ ม. 40(8) ซึ่งหมายถึงเงินได้จากการทำธุรกรรม ซึ่งถึงแม้มาตรานี้จะครอบจักรวาล แต่ไม่ใช่ทุกกรณีสามารถ ตีความตามมาตรานี้ได้ทั้งหมด
(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7)"
ตัวอย่าง กรณี ขายสลากฯ นาย A รับซื้อสลากจากรัฐฯาในราคา 37 บาท โดยนำสลากมาจำหน่ายในราคา 40 บาท ซึ่งเป็นราคาหน้าสลากฯ ถ้าไม่มีข้อยกเว้นข้างต้น เงินได้พึงประเมินที่ นาย A ต้องนำมาคำนวณภาษี คือ 40 บาท ไม่ใช่ส่วนต่าง 3 บาท
เปรียบเทียบกรณี ซื้อขาย สินค้า หรือทรัพย์สิน ชนิดอื่น เช่น B รับซื้อโทรศัพท์มือถือมาราคา 4,500 บาท แล้วนำมาจำหน่ายปลีกต่อในราคา 6,000 บาท เงินได้พึงประเมินคือ 6,000 บาท ไม่ใช่ส่วนต่าง 1,500 บาท ในการคำนวณภาษี B สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือ เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาตามเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ B มีรายได้จากการขายเกิน 60,000 บาทต่อปี ยังต้องคำนวณ 0.5% ของเงินได้พึงประเมิน(ยอดที่ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใด ๆ) เปรียบเทียบ และต้องเสียภาษี จากยอดที่คำนวณได้มากกว่า (ซึ่งผู้ที่มีรายได้ต่อปีไม่มาก ยังคงต้องเสียภาษี อยู่ดี) ดังนั้น ฐานภาษี จากกรณีการซื้อขาย สินค้า/ทรัพย์สิน หรือบริการ ของบุคคลธรรมดา ตาม ม. 40(8) เป็นการคำนวณจากฐานรายได้(เงินได้พึงประเมิน) ไม่ใช่ส่วนต่าง (ในกรณีไม่มีบทบัญญัติของกฏหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน)
จากคุณ : Oil - [ 14 ก.พ. 49 15:15:14 A:61.90.101.141 X: TicketID:086607 ]
ความคิดเห็นที่ 22
ค. กรณีคำวินิจฉัย 28/2538
http://www.rd.go.th/publish/2511.0.html
ผู้เขียนสรุปไว้ 3 ประเด็น โดยเฉพาะ ประเด็น (ก) กล่าวว่า (ก) คำวินิจฉัยที่ 28/2538 ได้ยืนยันชัดเจนว่าส่วนต่างจากการซื้อหุ้น ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานต้องนำไปเสียภาษี
ซึ่งโดยข้อเท็จจริงของคำวินิจฉัย ไม่ได้ระบุเช่นนั้น แต่ระบุไว้ว่า สำหรับเงินได้พึงประเมิน ให้ถือตามมูลค่าหุ้นดังนี้ 1. ในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าว เป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - (1) หากหุ้นดังกล่าวมีราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering) ให้ถือมูลค่าหุ้นเท่ากับเท่าราคาขายให้กับประชาชนทั่วไป - (2) ...................... ............................................................................... ซึ่งคำวินิจฉัย ไม่ได้กล่าวถึงส่วนต่างจากการซื้อหุ้นเป็นเงินได้พึงประเมิน แต่ให้ถือตามมูลค่าหุ้นเป็นเงินได้พึงประเมิน
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของ คำวินิจฉัยนี้ เพื่อ ให้ตีคำว่าความทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน หรือรับทำงานให้ ตาม ม. 40(1) และ 40(2) เนื่องจากในขณะนั้นได้มีกิจการจำนวนมาก ให้หุ้น ESOP และ IPO แก่กรรมการ พนักงาน และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากคำวินิจฉัยที่ว่า
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำหุ้นไปแจกให้พนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน หรือนำหุ้นไปขายให้กับบุคคลดังกล่าว ตามข้อตกลงพิเศษในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด กรณีย่อมถือได้ว่าบุคคลดังกล่าวได้รับ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคล
จะเห็นได้ว่า กรณี Ample Rich ที่ขายหุ้นให้ นายพานทองแท้ มีข้อแตกต่างจากกรณีคำวินิจฉัย 28/2538
- นายพานทองแท้ เป็นผู้ถือหุ้นของ Ample Rich ไม่ใช่ พนักงานลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา หรือบุคคลผู้รับทำงานให้ในลักษณะทำนองเดียวกัน ดังที่ระบุไว้ในคำวินิจฉัย และไม่ใช่เป็นการขายหุ้นเพื่อตอบแทนจากการทำงานให้ อีกทั้งนายพานทองแท้ ไม่ได้รับ เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง หรือผลประโยชน์อื่นใดจากAmple Rich หรือให้ประโยชน์อื่นใดต่อ Ample Rich เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
- หุ้นที่ Ample Rich ขาย ไม่ใช่หุ้นตัวเอง (its common shares) แต่เป็นหุ้น Shin ซึ่งเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (investments) (อย่างไรก็ตาม ตรงนี้ คำวินิจฉัย ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ากิจการต้องแจกหุ้นของตนเอง ดังนั้นจึงยกนำมาเป็นประเด็นแย้งได้ไม่เต็มที่นัก อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริง ที่ทำให้เกิดคำวินิจฉัย 28/2538 ก็มาจากกรณีการแจกหุ้น ESOP และ IPO นั่นเอง เพราะผู้ถือหุ้น ที่ได้รับแจก warrants ฟรีในตลาดฯ ก็ไม่ได้นำคำวินิจฉัย 28/2538 มาประเมินเพื่อเสียภาษี)
ดังนั้นธุรกรรมการซื้อขายหุ้น Shin ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ในขั้นตอนไหน - นายพานทองแท้ และน้องสาว ซื้อหุ้น Shin จาก Ample Rich ไม่น่าจะใช่ เพราะ คำวินิจฉัย 28/2538 หรือ ม.40(8) ที่นำมาอธิบาย ไม่ได้ครอบคลุมถึงกรณีนี้
- นายพานทองแท้และน้องสาว ขายหุ้น Shin ในตลาดหลักทรัพย์ เงินได้พึงประเมิน ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี สำหรับเงินได้ กรณีนี้ ตาม ม.42 (17) (กฏกระทรวง 126 ข้อ 23) เรื่องขายหุ้นในตลาดฯ
จากคุณ : Oil - [ 14 ก.พ. 49 15:17:07 A:61.90.101.141 X: TicketID:086607 ]
ความคิดเห็นที่ 23
2. คำว่า "ประโยชน์อื่นใด" ตามที่บัญญัติไว้ในคำนิยามมาตรา 39 มีข้อพิจารณาที่จำกัดอยู่เพียงมาตรา 40 (1) (2) (4) และ (5) เท่านั้นหรือไม่
โดยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีการเสียภาษีของบุคคลธรรมดา แล้ว ประโยชน์อื่นใดบัญญัติไว้ตาม ม. ข้างต้นเท่านั้น เนื่องจากการเขียนกฎหมาย ถึงจะรอบคอบอย่างไรก็ตาม ไม่สามารถครอบคลุมถึงทุกกรณี อีกทั้งกรณีการทำธุรกรรมของบุคคลธรรมดา โดยปกติ มูลค่าไม่สูงเท่าบริษัท/นิติบุคคลอื่น (มีการป้องกันกรณี การแลกเปลี่ยน สินค้า/บริการ ที่ไม่ได้เป็นไปตามมูลค่ายุติธรรม ของบริษัท หรือนิติบุคคล ตาม ม.65 ทวิ (4))
เพราะหากสรุปว่า การถือ เงินได้พึงประเมิน เกิดขึ้นในขั้นตอน ของการซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ...แล้ว และยึดการตีความนี้เป็นบรรทัดฐาน ก็จะสร้างวุ่นวายโกลาหล ในระบบการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างยิ่ง เพราะต่อไปนี้ หากใครซื้อสินค้า/บริการ ต่ำกว่า มูลค่ายุติธรรมจะต้องถือส่วนต่างเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งสิ้น เช่น เราจะซื้อรถราคา 700,000 บาท แต่สามารถต่อรองลดราคาลง 30,000 บาท เหลือ 670,000 บาท ส่วนต่าง 30,000 บาท จะต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีด้วย
ดังนั้น จึงไม่ควรจะขยายหรือตีความเกินบทบัญญัติ ของกฎหมาย หากแต่ ถ้ามีช่องว่างของกฎหมายที่เป็นปัญหา และมีสาระสำคัญ ควรจะบัญญัติกฎหมาย ให้ครอบคลุม เพื่อบังคับใช้ จะเหมาะสมกว่า
จากคุณ : Oil - [ 14 ก.พ. 49 15:20:06 A:61.90.101.141 X: TicketID:086607 ]
ความคิดเห็นที่ 24
3. ข้อเสนอแนะสำหรับทางออก การอธิบายของสรรพากร ต้องอ้างอิงบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าถูกต้องแล้ว ทั้งนี้ถ้าไม่มีข้อกฎหมายรองรับ คงต้องโดนกลับอานแน่ แต่เนื่องจากกฎหมาย ไม่สามารถครอบคลุมทุกประเด็น บทสรุปที่เป็นอยู่ จึงอาจทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจ รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
ดังนั้น จึงสนับสนุนข้อเสนอของผู้เขียนที่ให้ กรมสรรพากร นำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฯ เมื่อศาลฯมีคำตัดสิน ความเคลือบแคลง ต่าง ๆ ก็จะเป็นที่ยุติ แต่คิดว่า คงเป็นเรื่องยาก
ท้ายนี้ ฝากข้อคิด สำหรับการตีความกฎหมาย ดังนี้ 1. อย่าตีความกฎหมาย นอกเหนือ จากเนื้อหาของบทบัญญัติ 2. อย่าตีความอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ 3. อย่าตีความอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะมีจำนวนเงินเกี่ยวข้องสูงหรือต่ำ 4. จงตีความเพราะ เนื้อหา และเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นเช่นนั้น 5. หากกฎหมายไม่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และ เจตนารมณ์แล้ว ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจน จะเหมาะสมกว่า
จากคุณ : Oil - [ 14 ก.พ. 49 15:22:16 A:61.90.101.141 X: TicketID:086607
จากคุณ :
sunsetbeach
- [
25 ก.พ. 49 07:56:46
]
|
|
|