ความคิดเห็นที่ 10
ตอนนี้ เรือทั้ง 3 ลำน่าสนใจหมด
RCL มีประวัติน่าสนใจมากดังนี้
ตั้งเมื่อปี 2523 ทุนเริ่มต้น 55 ล้าน ยังไม่มีเรือสักลำ
2524 ซื้อเรือมือสองมาใช้ 1 ลำ
2531 เพิ่มทุนเป็น 70 ล้าน แล้วนำเข้าตลาดหลักทรัพย์
2532 เพิ่มทุนเป็น 84 ล้าน เพื่อเข้าถือหุ้น 50% ใน RCL Singapore
2533-37
สั่งต่อเรือใหม่ 2 ลำจากเกาหลี
เพิ่มทุนเป็น 221 ล้าน เพื่อเข้าถือหุ้นครบ 100% ใน RCL Singapore และนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (ไม่ใช่เบียร์ช้างเป็นเจ้าแรกอย่างที่เราเข้าใจกัน)
เข้าร่วมกับ MOL (Mitsui OSK Lines) จัดตั้งบริษัทบริหารท่าเรือ ตอนนี้ได้มา 1 ท่าที่แหลมฉบัง
ถือหุ้น 100% ใน RCL Hong Kong
ถือหุ้น 20% ในบริษัทที่ดำเนินกิจการลานพักตู้ container และคลังสินค้า
2538-2541
เพิ่มทุนเป็น 663 ล้าน เพื่อขยายกิจการ
สั่งต่อเรือใหม่ 9 ลำจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ นอกนั้นเป็นเรือเก่าและเรือเช่ามา
ซื้อ office building สูง 12 ชั้นที่สิงคโปร์
ร่วมลงทุนกับ MOL ในการจัดตั้งบริษัทเรือเทกองในประเทศไทย โดยไม่ต้องซื้อเรือ เพราะว่า MOL มีเรืออยู่แล้ว และ
*** MOL ในญี่ปุ่น จะรับมอบเรือเทกองใหม่ 50 ลำในช่วงปี 2006 ถึง 2008 ทำให้ขึ้นแท่นเป็นบริษัทเรือเทกองที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนั้น MOL ยังมีเรือ containers, เรือขนน้ำมันและก๊าซ, เรือพิเศษขนรถประกอบใหม่โดยเฉพาะ (ได้ครั้งละ 4 พันถึง 6 พันคัน) เรือขนเครื่องจักร์กลหนักๆ เรือขนไม้ เรือโดยสาร และสายการบิน air cargo อีกด้วย
2543-2547
เริ่มระบบการให้บริการ E-net
ตั้งบริษัท RCL China ที่เซี่ยงไฮ้ และเปิดสำนักงานสาขาที่ซิงเตา เทียนจิน เซียเมิน กวางโจว และเซิ่นเจิ้น
ตั้งบริษัท RCL Malaysia
ตั้งบริษัท RCL Logistic Thailand เพื่อรองรับการบริการขนส่งต่อเนื่องครบวงจร ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
2548-
รับมอบเรือต่อใหม่ 6 ลำ มูลค่า 8000 ล้านบาท
RCL Singapore ขอเข้ามารับการส่งเสริมการลงทุน จัดตั้งบริษัทเพื่อต่อเรือ container ทุนเริ่มต้น 1000 ล้านบาท
เปิดสำนักงานในอีกหลายประเทศ และขยายเส้นทางเดินเรือเข้าไปในอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออกกลาง และเพิ่มจีนมากขึ้น
การขนตู้ผ่านท่าที่สิงคโปร์ 36% ไทยและจีนประเทศละ 15% มาเลเซีย 10% อีก 24% กระจายไปยังประเทศอื่นๆ
ขณะนี้ มีสำนักงานตัวแทนที่ประเทศ Australia, Cambodia, China, Hong Kong, India, Indonesia, Korea, Malaysia, Myanmar, Pakistan, Philippines, Singapore, Sri Lanka, Taiwan, Thailand, United Arab Emirates (Dubai) and Vietnam
เคยมีรายย่อยน้อยสุด 358 ราย = 8.23% สูงสุดเดือนสิงหา 2005 จำนวน 4707 ราย =23.95%
รายใหญ่เคยมีสูงสุด 207 ราย แต่ตอนกลางปี 1977 รายใหญ่ที่เป็นสถาบันการเงินเจ๊ง เลยลดฮวบเหลือ 30 ราย
เจ้าของเคยถือหุ้นน้อยสุด 37% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 53%
Marine Industry เป็นกิจการระดับ International สำหรับเมืองไทยโดยรวม ยังอยู่ในขั้นกำลังหัดเดิน เมื่อเทียบกับ Industries อื่นๆในประเทศ
สิ่งที่กระทบกับบริษัทเดินเรือมากที่สุดก็คือสงครามระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจโลก การเมืองในประเทศ จะไม่กระทบกับธุรกิจการเดินเรือมากนัก
จากคุณ :
prettypetite
- [
25 ก.พ. 49 15:53:52
]
|
|
|