คงยังจำกันได้นะครับว่า คณะตุลาการศาลรธน. สรุปผลว่าคณะสว.มีหลักฐานไม่เพียงพอครับเลยไม่รับพิจารณาไต่สวนกรณีนาย ก กับผลประโยชน์ทับซ้อน
ขออนุญาตบอกก่อนว่า ศาลรธน. ไม่ใช่ ศาลยุติธรรมนะครับ
และคณะตุลาการศาลรธน.ก็ไม่ใช่ ผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาทั้งหมด มีเพียง 5 ท่านเท่านั้นในจำนวน 14 ท่าน
ขอเล่าเป็นภาษาชาวบ้านเท่าที่เข้าใจนะครับ
สมมุติมีมหาวิทยาลัยชื่อ ประเทศไทย ซึ่งมีอธิการบดีคนใหม่ชื่อ ดร. ทักสิน อ้างว่าจบดีกรี ป.เอกจาก มหาวิทยาลัย British Virgin ประเทศอังกฤษ บริหารงานมาได้สัก 5 ปี อยู่มาวันหนึ่ง อ.แก้วซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งในมหาวิทยาลัย บังเอิญทราบข่าวมาว่า มหาวิทยาลัย British Virgin ที่อยู่ในประเทศอังกฤษนั้น เป็นมหาวิทยาลัยกำมะลอและมีเครือญาติของ ดร. ทักสินเป็นเจ้าของ อ.แก้วจึงพยายามรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยว่า ดร. ทักสิน ขาดคุณสมบัติ ใช้วุฒิป.เอก ปลอม
แต่คณะกรรมการฯ กลับบอกอ.แก้วว่า หลักฐานที่อ.แก้ว รวบรวมได้ไม่เพียงพอ จึงไม่รับไว้พิจารณา
1.อ.แก้ว อยู่ในฐานะผู้เสียหาย (โจทย์) หรือไม่ ถึงต้องหาหลักฐานมาเพื่อฟ้องร้องอธิการบดี (จำเลย) เหมือนในกรณีคดีทางแพ่ง?
ไม่ใช่ครับ มหาวิทยาลัยต่างหากคือผู้เสียหาย และคู่กรณีในศาลรธน. จะใช้ชื่อเรียกว่าผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง
2.อ.แก้ว มีอำนาจไปขอเอกสารจาก มหาวิทยาลัย British Virgin หรือไม่?
ไม่มีครับ แต่คณะกรรมการฯมีอำนาจสั่งให้ดร. ทักสิน ไปหาหลักฐานเพิ่มเติมมายืนยันตามที่อ.แก้วร้องขอ เช่นรายมือชื่อผู้เข้าสอบ ผู้ลงทะเบียนเป็นต้น
แล้วไฉนคณะกรรมการฯซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยซึ่งคือผู้เสียหาย จึงนิ่งดูดาย ไม่ทำอะไรอย่างนั้นล่ะครับ?
มิหนำซ้ำยังบอก อ.แก้วซึ่งแท้จริง ไม่ใช่ผู้เสียหาย ว่าให้ไปหาหลักฐานมาเพิ่มเติม แปลกดีไหมล่ะ??
ฤๅท่านอธิการบดีจะสนิทสนมกับคณะกรรมการฯมากเป็นพิเศษ??
ท่านเห็นว่าไง ช่วยแนะนำทีครับ
จากคุณ :
CRR
- [
27 ก.พ. 49 02:53:48
]