ความคิดเห็นที่ 19
ได้มีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.)" เพื่อทำหน้าที่กำหนดกรอบการดำเนินงานและกำกับดูแลการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง เร่งดำเนินการออกกฎหมายทุนของรัฐวิสาหกิจให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการขายหุ้นของรัฐที่ดำเนินการได้เร็ว ได้แก่ การขายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ปตท.สผ. และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทบางจากฯ และการขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด
ในเดือนมิถุนายน 2541 ได้มีการขายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ปตท.สผ. ให้แก่ผู้ลงทุนทั้ง ในและนอกประเทศ ประกอบด้วย หุ้นเดิมของ ปตท. 16.5 ล้านหุ้น และเป็นหุ้นเพิ่มทุนอีก 16 ล้านหุ้นรวมเป็น 32.5 ล้านหุ้น ในราคา 300 บาท/หุ้น คิดเป็นเงินจากการขายหุ้นประมาณ 9,750 ล้านบาท จากการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ลดลงเหลือร้อยละ 62
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้เป็นกรอบในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในสาขาต่างๆ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 สำหรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน แบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาไฟฟ้า สาขาก๊าซธรรมชาติ และสาขาน้ำมัน ซึ่ง จะต้องดำเนินการปรับโครงสร้างให้ไปสู่โครงสร้างที่มีการแข่งขันเสรีในอนาคต
สำหรับการขายหุ้นของ ปตท. และกระทรวงการคลัง ซึ่งถือหุ้นในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 48 และ 24 ตามลำดับ ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 ได้เห็นชอบในหลักการให้หาพันธมิตรร่วมทุนเข้ามาซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าว แต่เนื่องจากเกิดกระแสคัดค้านการขายหุ้นให้แก่ชาวต่างชาติด้วยเกรงว่าชาวต่างชาติจะไม่สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมซึ่งบริษัทฯ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) จึงได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผลการประชุมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2542 ได้มีมติให้ ปตท. และธนาคารกรุงไทยขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทบาทจากฯ คิดเป็นร้อยละ 32 ของหุ้นทั้งหมด แบ่งเป็น ร้อยละ 16 ขายให้แก่พันธมิตร่วมทุน และอีกร้อยละ 16 ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยในขั้นแรกให้ดำเนินการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปก่อน และหากไม่เพียงพอกับความต้องการให้พิจารณาขายหุ้นเพิ่มให้ครบตามจำนวนที่ประชาชนแสดงความจำนง โดยอาจขายหุ้นเพิ่มทุนหรือขายหุ้นเดิมของกระทรวงการคลังทางใดทางหนึ่ง
****ในเดือนมีนาคม 2544 สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุน และได้มีการกำหนดแผนเตรียมความพร้อมในการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในจำนวนนี้ได้กำหนดให้นำ ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างช้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2544
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ได้มีการแปลงสภาพ ปตท. โดยจัดตั้ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ขึ้น เพื่อรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ ส่วนของทุน ตลอดจนพนักงานและลูกจ้างทดลองงานมาทั้งหมด มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย หุ้นจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ได้เพิ่มทุนอีก 8,500 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 850 ล้านหุ้น
ในการจัดสรรหุ้นให้กับนักลงทุนได้กำหนดสัดส่วนในการขายหุ้นให้แก่ประชาชนและนักลงทุนในประเทศร้อยละ 60 และนักลงทุนต่างประเทศร้อยละ 40 สำหรับนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ ใช้วิธีประกวดราคาแบบสะสม (Book Building) ส่วนประชาชนทั่วไปสามารถจองซื้อหุ้นผ่านธนาคารพาณิชย์ ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมจำนวนหุ้นที่ขายไปทั้งหมด 920 ล้านหุ้น เป็นเงิน 32,200 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 หุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
จากคุณ :
academician
- [
26 มี.ค. 49 08:31:05
A:24.117.29.43 X: TicketID:075095
]
|
|
|